ทีมหน้าจอซีรีส์เลิกอิจฉาพระนางไฮโซที่เมื่อล้มป่วย แค่กดโทร เพื่อนหมอก็มาหาปั๊บไปได้เลย เพราะเพื่อนหมอในชีวิตจริงของคุณตอนนี้อยู่ที่แอปพลิเคชั่นบนหน้าจอสมาร์ตโฟนในมือของคุณแล้ว
นี่คือผลงานของยุคแห่ง Disruption – การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียุคดิจิทัลที่ผลของการสร้างสรรค์และพัฒนาส่งไม้ต่อมาสู่วงการแพทย์ จนเกิดยุคแห่ง Healthcare Disruption ไปพร้อมกันด้วย ดังนั้นแล้ว ถ้าทุกคนมีสมาร์ตโฟนใช้ ทุกคนก็สามารถพบแพทย์แบบออนไลน์ได้แค่คลิกเดียว พร้อมบริการเสริมถึงบ้านตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
บูรณาการระหว่างนวัตกรรมกับวงการสุขภาพ
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้าถึงประชาชนส่วนมากของประเทศจนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว บรรดาห้างร้านไปจนถึงร้านค้ารีเทลรายย่อยต่างก็ชูกลยุทธ์การขายและให้บริการผ่านทางดิจิทัลกันมากขึ้น โดยเน้นแข่งขันกันที่เรื่องความเร็ว ตัวอย่างแคมเปญช้อปออนไลน์ส่งทันที พร้อมกับกิมมิคที่ประมวลผลจากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค จนสามารถพลิกสถานการณ์บริษัทที่ทำงานแบบ on ground ได้ด้วยกลยุทธ์แบบ online
แน่นอนว่าสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตก็ถูกพัฒนาเพื่อตอบความต้องการและสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้คน กับวงการสุขภาพก็เช่นเดียวกัน กับการดึงเอาข้อดีของเทคโนโลยีเรื่องความง่าย ความรวดเร็ว และการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีเข้ามาเป็นโจทย์หลักในการพัฒนาบริการและคุณภาพผ่านระบบดิจิทัลให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยตรง ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นที่สวยงาม แต่ต้องมีบริการบนพื้นฐานที่เข้าใจผู้ใช้งานด้วย
วงการสุขภาพระดับโลกหมุนด้วยสตาร์ตอัพสายดิจิทัล
สำหรับวงการสุขภาพแล้ว ขณะนี้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกับ Telehealth Network เครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาล ตัวอย่างความสำเร็จของ The University of Mississippi Medical Center (UMMC) กับการใช้ระบบดิจิทัลในการคัดกรองผู้ป่วยในขั้นต้น ต้นสายปลายทางนั่นก็เพราะที่มิสสิสซิปปี้มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่เพียงแห่งเดียวเท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดเล็กบนพื้นที่ห่างไกลที่มีเพียง 25 เตียง ขาดแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญทั้งเรื่องยาและการรักษา ถ้าจะรักษาขนาดใหญ่ก็ต้องส่งตัวไปโรงพยาบาลกลาง จึงเป็นแนวความคิดว่าทำไมไม่ลองคิดมุมกลับด้วยการให้ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลตรงกลางเป็นฝ่ายวิ่งเข้าหาศูนย์บ้างล่ะ? และสื่อกลางที่ใช้ประสานงานเหล่านี้ได้ดีที่สุดก็คือเครือข่าย Telehealth
ผลของแผนธุรกิจแบบใหม่ที่ใช้นวัตกรรมเข้ามามีส่วนร่วมปรากฎผลดีทั้งกับตัวผู้ป่วยเองที่สามารถเข้าถึงการรักษาของแพทย์ได้อย่างทันท่วงที และผลดีกับทางโรงพยาบาลที่ลดการเข้ารับการรักษาดูแลสุขภาพแบบปฐมภูมิหรือการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ลดค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
และทำให้บุคลาการทางการแพทย์สามารถดูแลเคสของผู้ป่วยระดับที่ยากและซับซ้อนกว่าได้ดีขึ้น
Telemedicine กับ Telehealth
จากที่เล่ามาข้างต้น เราได้ยินคำว่า Telehealth นั่นก็คือเครือข่ายเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลผ่านช่องทางดิจิทัล แต่ยังมีอีกคำที่มาด้วยแนวทางเดียวกัน นั่นคือ Telemedicine แต่มีความหมายในรายละเอียดที่แตกต่างกันไป โดยที่ Telemedicine นั้นจะมีความเฉพาะเจาะจงกับคนไข้และการให้บริการทางการแพทย์มากกว่า Telehealth ซึ่งมีความหมายกว้างๆ และจะมีผลในเชิงการบริหารจัดการมากกว่า
ดีเทลการทำงานของ Telemedicine นั้น เป็นการใช้เครื่องมือทางดิจิทัลเพื่อรักษา สังเกตการณ์ และให้คำปรึกษาได้อย่างครอบคลุมผ่านทางโปรแกรมและแอปพลิเคชั่น จึงเป็นการพูดคุยติดต่อได้แบบเรียลไทม์ พร้อมกับการเก็บข้อมูลประวัติคนไข้ ประวัติการรักษา หรือเอกสารประกอบการรักษาที่สามารถดึงออกมาใช้และส่งต่อไปยังแผนกอื่นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งนับเป็นข้อดีสำหรับตัวคนไข้เองที่จะได้รับการวินิจฉัยที่มีคุณภาพมากขึ้นจากการมีฐานข้อมูลประกอบรวบรวมมาในที่เดียว และการเข้ารับบริการทางการแพทย์ก็ทำได้เลยทันทีไม่ต้องรอ
Telemedicine นวัตกรรมทางการแพทย์จากทั่วโลกสู่ประเทศไทย
นวัตกรรมของ Telemedicine มีการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายขอบข่ายของการทำงานให้กว้างขวางขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในหลายประเทศถึงกับมีสมาคม Telemedicine โดยได้รวบรวมหัวกะทิทั้งในฝั่งนวัตกรรมและฝั่งการแพทย์เข้ามาจับมือทำงานร่วมกัน ได้แก่ American Telemedicine Association ที่มีการอัพเดตข่าว เทรนด์ และไกด์ไลน์ในการรักษาผ่านทาง Telemedicine อย่างสม่ำเสมอ หรือที่สิงคโปร์ก็มีการร่างไกด์ไลน์ Telemedicine แห่งชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการรักษาสู่บุคลากรในประเทศทุกคน
และสำหรับประเทศไทยเอง บริการ Telemedicine ก็มาถึงแล้วเช่นกัน จากการดำเนินการโดยโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งนับเป็นที่แรกของไทยที่เชื่อมต่อประสบการณ์จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ นั่นคือการดูแลรักษาผู้ป่วยแบบครบวงจรตลอดการรักษา ตั้งแต่การรับบริการผ่านเครื่องมือ Telemedicine ส่งต่อไปจนกระทั่งการรักษาด้วยการใช้ยาที่ส่งตรงถึงหน้าบ้าน
แนะนำ Samitivej Virtual Hospital
จากศักยภาพการทำงานของระบบ Telemedicine ในปัจจุบัน โรงพยาบาลสมิติเวชจึงพัฒนานวัตกรรม Telemedicine ของตัวเองขึ้นในชื่อ Samitivej Virtual Hospital เพื่อตอบความต้องการของผู้คนในยุคสมาร์ตโฟนที่ใช้ช่องทางดิจิทัลเชื่อมต่อกับสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีกลับคืนสู่ผู้บริโภคแล้ว ตัวโรงพยาบาลเองก็ได้พัฒนารูปแบบการให้บริการรูปแบบใหม่ๆ ที่สะท้อนพฤติกรรมของผู้คนอย่างทันยุคสมัย
โรงพยาบาลเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ที่ให้บริการถึงมือคุณเพียงปลายนิ้วสัมผัสแห่งนี้ให้บริการครบวงจรตั้งแต่การบริการให้คำปรึกษาผ่านทางวิดีโอคอล และหากต้องมีหัตถการเจาะเลือดหรือการจ่ายยา ก็มีบริการจากบุคลากรทางการแพทย์อำนวยความสะดวกส่งตรงถึงบ้าน
พบแพทย์ผ่านสมาร์ตโฟน
ช่องทางออนไลน์นี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการปรึกษาและรับบริการทางการแพทย์โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงโรงพยาบาล เพียงมีอุปกรณ์ออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์ก็คุยได้ผ่านช่องทาง แอปพลิเคชั่น Samitivej Plus ที่ให้บริการทั้งบนแอนดรอยด์และ iOS, ทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://virtual.samitivejhospitals.com/webview/index.html, ทาง LINE : @Samitivej และแอปพลิเคชั่นของบริษัทพันธมิตร ได้แก่ myAIS, MTL Smile service application, Sansiri Home application และ SCG
หลังจากติดตั้งแอปพลิเคชั่น แอดไลน์ หรือเข้าสู่เว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว คลิกเดียวถึงโรงพยาบาลเลยโดยไม่ต้องลงทะเบียน ไม่ต้องนัดหมายล่วงหน้า และเปิดให้บริการสำหรับทุกคน แม้จะไม่เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวชมาก่อน
ทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง
เพื่อให้ได้รับบริการทางการแพทย์ที่ถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ ทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของ Samitivej Virtual Hospital จึงมีทีมงานเฉพาะกิจและห้องปฏิบัติการที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับบริการ Telemedicine ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ โดยทีมแพทย์จะประกอบด้วยแพทย์เฉพาะทางหลากหลายสาขา เช่น อายุรแพทย์ กุมารแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย เป็นต้น ที่มีความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานแพทย์ของสมิติเวชทุกประการ
ส่วนในแง่งานบริการนั้น ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ยังเป็นพื้นที่ที่ออกแบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวสูงสุดขณะที่ผู้ป่วยเข้ารับการบริการ ทั้งในเรื่องการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว โดยยึดหลักมาตรฐานสากลระดับโลก HIPAA (the Health Insurance Portability and Accountability Act) และพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่องานข้อมูลกับระบบปฎิบัติการของทางโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการปลายทางอย่างรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ตัวอยู่บ้าน แต่ก็รักษาได้
บริการ Samitivej Virtual Hospital พร้อมให้คุณใช้งานได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยผู้ป่วยสามารถตอบโต้และปรึกษาปัญหาสุขภาพกับบุคลากรทางการแพทย์ได้แบบเรียลไทม์ผ่านวิดีโอคอลตลอด 24 ชั่วโมง และหากจะต้องมีการเจาะเลือดหรือรับยา ก็มีบริการให้คุณถึงบ้านด้วยเช่นกันโดยบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลสมิติเวช ซึ่งสามารถตรวจสอบวิธีการ เวลาทำการ และพื้นที่ให้บริการได้ทางเว็บไซต์ของ Samitivej Virtual Hospital
เท่านี้ความฝันที่จะมีหมอถึ
ผ่านสมาร์ตโฟนที่ทั้งง่ายดาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพกันดีกว่า
Samitivej virtual hospital. Healthcare anytime anywhere #คลิกเดียวถึง