เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อวัยวะอย่าง ‘ปอด’ ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนจากภายนอกเข้าไปสู่ร่างกาย
เพื่อให้เซลล์ในร่างกายได้ใช้ประโยชน์จากออกซิเจนอย่างเต็มที่ ก่อนจะปล่อยออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นของเสียจากเซลล์ทิ้งไป แต่ทุกวันนี้ออกซิเจนภายนอกกลับไม่ได้บริสุทธิ์อย่างที่ควรจะเป็น สิ่งแปลกปลอมในอากาศนั้นรุนแรงเกินกว่าที่ปอดของเราจะรับไหว ไหนจะฝุ่น PM 2.5 จากในเมืองกรุงที่ตอนนี้ลามไปถึงภาคเหนือแล้ว ไหนจะมลพิษจากไอเสียของรถยนต์ที่เราต้องพบเจอในทุกๆ เช้าและเย็น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่สร้างผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจทั้งสิ้น
จะใช้เครื่องฟอกออกอากาศรุ่นเทพขนาดไหน หรือจะใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา ก็ไม่มีทางออกไหนจะดีไปกว่าการใช้ ‘ปอดสีเขียว’ หรือต้นไม้ ที่ช่วยในการผลิตออกซิเจนและฟอกอากาศให้กลับมาบริสุทธิ์ได้เทียบเท่าอีกแล้ว
เพราะปอดของเราเอาไม่อยู่
มนุษย์เรานั้นใช้ออกซิเจนในการทำงานร่วมกับเซลล์และอวัยวะที่สำคัญอื่นๆ ในร่างกาย โดยมีปอดเป็นสื่อกลางของระบบหายใจ โดยการนำออกซิเจนที่สูดเข้ามาผ่านจมูกและปาก เข้าไปในถุงลม ก่อนที่ฮีโมโกลบินในหลอดเลือดฝอยจะเก็บออกซิเจนไว้ เพื่อส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย เป็นระบบการทำงานของร่ายกายที่ทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยที่สมองไม่ต้องสั่งการใดๆ และไม่มีวันหยุด ถ้าหยุดก็เท่ากับเสียชีวิตนั่นเอง ออกซิเจนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์เราอย่างมาก
ในวันๆ หนึ่ง มนุษย์หายใจเอาอากาศเข้าไปในร่างกายถึง 10,000 ลิตรต่อวัน แต่การที่อากาศปนเปื้อนไปด้วยสารพิษอย่างคาร์บอนมอนอกไซด์ที่มาจากไอเสียรถยนต์ หรือฝุ่นที่มีค่า PM 2.5 ก็ทำให้ปอดต้องรับสารอันตรายอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากออกซิเจนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจมากมาย ตั้งแต่โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด กระทั่งโรคถุงลมโป่งพอง แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ก็ตาม หรือหนักเข้าก็อาจถึงขั้นเป็นโรคมะเร็งปอด เรียกว่ายังไงปอดของเราก็เอาไม่อยู่กับอากาศทุกวันนี้
ปอดสีเขียวจึงจำเป็น
จากข้อมูลของมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ระบุว่า ต้นไม้ยืนต้น 1 ต้นที่โตเต็มที่ สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง แล้วผลิตออกมาเป็นออกซิเจนได้ถึง 200,000 – 250,000 ลิตรต่อปี หรือรองรับกับความต้องการออกซิเจนของมนุษย์ได้ถึง 2 คนต่อปีเลยทีเดียว รวมถึงยังมีคุณสมบัติในการดักจับอนุภาคของมลพิษในอากาศบางชนิด อย่างเช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ ได้อย่างเห็นผล พูดง่ายๆ คือต้นไม้เปรียบได้กับ ‘ปอดสีเขียว’ ที่ช่วยให้ปอดแท้ๆ ของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากสารพิษในอากาศ
แต่คำถามคือ ทุกวันนี้จำนวนของปอดสีเขียวมีเพียงพอที่จะช่วยดูดซับและกรองอากาศให้กับเราไหม จากสถิติแล้ว การมีต้นไม้ปลูกจำนวน 2.5 ไร่ จะสามารถผลิตออกซิเจนได้เพียงพอสำหรับคน 18 คน แต่จากการสำรวจเมื่อปี 2561 กรุงเทพฯ เองกลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 4,050 ไร่ หรือเทียบกับสัดส่วนประชากรแล้ว มีเพียง 6.18 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น ในขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุค่าเฉลี่ยของพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากร ควรอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน คำตอบคือยังไม่เพียงพอ
ถ้าไม่พอก็ต้องสร้างเอง
ในเมื่อหวังพึ่งพื้นที่สีเขียวหรือปอดสีเขียวจากใครไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดคือการสร้างขึ้นมาเอง แต่เชื่อว่าด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมาปลูกไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ๆ ไว้ในบ้านได้ ยิ่งอาศัยอยู่คอนโดก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึง ทำให้เกิดเทรนด์ของการปลูกต้นไม้แนวตั้ง หรือการปลูกต้นไม้ในกระถางแล้วเรียงขึ้นไปในแนวตั้งด้วยชั้นแขวน เหมาะสำหรับพื้นที่จำกัด รวมถึงการปลูกในกระถางเล็กๆ ในพื้นที่แคบแทน การปลูกต้นไม้ขนาดเล็กภายในบ้านก็ใช่ว่าจะผลิตออกซิเจนให้เราได้น้อย เพราะพันธุ์ไม้อย่าง พลูด่าง ต้นวาสนา ปาล์มไผ่ มีคุณสมบัติในการฟอกอากาศได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นไม้ประดับที่สวยงามอีกด้วย รวมถึงผลวิจัยจากนาซ่าก็รายงานว่า การปลูกต้นไม้ในบ้านจะช่วยลด VOCs หรือสารอินทรีย์ระเหยง่ายในอากาศ ได้ถึง 87 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสารชนิดนี้เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่น ทินเนอร์ สีทาบ้าน น้ำยาซักแห้ง หรือควันบุหรี่ ที่เป็นสารก่อมะเร็งและส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจแทบทั้งสิ้น
แต่จะปลูกต้นไม้ในบ้านหรือปลูกต้นไม้แนวตั้งทั้งที ก็ควรจะ Go Green ไปให้สุดทาง ด้วยไอเดียเก๋ๆ ในการนำของเหลือใช้อย่างกระเป๋าเดินทางที่ไม่ใช้แล้ว มาเปลี่ยนเป็นกระถางต้นไม้รีไซเคิล รับรองว่าไม่เหมือนใครแน่นอน หรือใครที่มีกระเป๋าหลายใบ นำมารีไซเคิลแล้วยังเหลือ
Samsonite ก็ได้จัดแคมเปญ GO-GROW-GREEN ให้นำกระเป๋าเดินทางใบเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้ว มาแลกซื้อกระเป๋าใบใหม่รุ่น ENWRAP ในราคาพิเศษ เพื่อนำกระเป๋าใบเก่าเปลี่ยนเป็นกระถาง นำไปปลูกต้นไม้ ได้ทั้งกระเป๋าใหม่และช่วยเติมปอดสีเขียวให้บ้านของเราไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.thoughtco.com/how-much-oxygen-does-one-tree-produce-606785
https://www.youtube.com/watch?v=AvnPCZgRF2s&t=43s
https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9610000046774
https://www.naturallivingideas.com/best-houseplants-for-every-room/