ถ้าเลือกได้ คงไม่มีใครอยากทำงานไกลบ้าน เพราะไหนจะเสียเวลา ไหนจะค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แถมยังมีเวลาอยู่กับครอบครัวน้อยลง แต่ทว่าคุณรู้หรือไม่ ปัญหาทำงานไกลบ้านไม่ได้เกิดเฉพาะกับคนในเมืองเท่านั้น แต่ในทะเลก็ยังมีปัญหานี้ด้วยเหมือนกัน!
กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่ใช้เรือลำเล็กออกจับปลาในพื้นที่ใกล้ๆ ชายฝั่ง เป็นกลุ่มคนที่เผชิญกับปัญหาต้องออกเรือไปไกลยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัญหาป่าชายเลนถูกทำลาย การทำประมงแบบผิดกฎหมาย ปัญหาน้ำเน่าเสียจากนากุ้ง ทำให้จำนวนปลาใกล้ชายฝั่งลดน้อยลง ส่งผลให้วิถีชีวิตประมงพื้นบ้านที่เรียบง่าย และพอเพียงนี้กำลังถูกสั่นคลอน
ผลตามมาคือ พวกเขาใช้เวลาออกหาปลานานขึ้น เวลาที่จะได้อยู่กับครอบครัวก็น้อยลง แถมยังต้องเสี่ยงอันตรายกับการออกทะเลไปไกลๆ อีกทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการออกเรือก็ไม่คุ้มกับรายได้ เลยทำให้ชาวประมงหลายคนถอดใจทิ้งอาชีพเดิมมาเสี่ยงดวงอยู่ในเมืองและห่างบ้านห่างครอบครัว ดังนั้นปัญหานี้จึงนับว่าเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในหลายพื้นที่ ซึ่งวิถีชีวิตดั้งเดิมเช่นนี้อาจสูญหายไปจากสังคมไทย
สำหรับที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับที่ทาง บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ ตั้งอยู่ ทางบริษัทฯ ก็ได้มีส่วนในการแก้ไขปัญหานี้กับชุมชนด้วยเช่นกัน เนื่องจากบริษัทฯ มองว่าชุมชนเปรียบเสมือนเพื่อนบ้านที่ต้องดูแลช่วยเหลือกัน เมื่อทราบว่าเพื่อนบ้านมีปัญหา จึงได้เข้าไปช่วย โดยสิ่งที่บริษัทฯ คำนึงอยู่เสมอคือ ต้องเป็นการช่วยเหลือที่เกิดจากการร่วมมือกันกับชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนและแท้จริง
บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ และชุมชนจึงได้ร่วมมือกันสร้าง “บ้านปลา”
โครงการบ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์
ส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการ CSR ป
โครงการ “บ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์” ก็ทำในลักษณะนี้เช่นกัน คือทาง เอสซีจี เคมิคอลส์ ไม่ได้พยายามเข้าไปเสนอทางออกให้ในทันที แต่เข้าไปรับฟังและหารือกับชาวบ้านก่อนว่ามีปัญหาอะไรบ้าง จากนั้นค่อยๆ ช่วยกันคิดกับชาวบ้าน
ซึ่งถ้าย้อนกลับไป เดิมทีชุมชนเองก็มีความพยายามแก้ปัญหาโดยการทำ “บ้านปลา” จากวัสดุต่างๆ บ้างอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ทางทีมเอสซีจี เคมิคอลส์ จึงนำเอาทั้งความรู้จากฝั่งธุรกิจและภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ร่วมกัน จนออกมาเป็นข้อสรุปว่าจะทำ “บ้านปลา” เพื่อดึงให้ปลาหรือสัตว์น้ำต่างๆ กลับมาอยู่ใกล้ชายฝั่งดังเดิม
เบื้องหลังของโครงการนี้ต้องอาศัยทีมงานหลายทีมภายในบริษัทฯ เช่น ทีมวิจัยและพัฒนา (R&D) ทีมกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) มาร่วมกันพัฒนาบ้านปลาที่แข็งแรงทนทาน เหมาะกับการใช้งาน ซึ่งประจวบเหมาะกับที่ทางทีมนักวิจัยมีท่อ PE 100 ที่เหลือจากการขึ้นรูปเพื่อตรวจสอบคุณภาพของเม็ดพลาสติกก่อนส่งขาย จึงได้นำมาออกแบบร่วมกับชุมชน จนได้ออกมาเป็นบ้านปลาทรงสามเหลี่ยมคล้ายๆ กับจั่วบ้าน ซึ่งวัสดุทางเลือกนี้ สามารถสร้างบ้านปลาที่แข็งแรงทนทาน มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
โดยหลังจากเตรียมการเสร็จหมดทุกอย่าง ทางเอสซีจี เคมิคอลส์ ก็ทยอยนำ “บ้านปลา” วางลงในทะเลเรื่อยๆ นับตั้งแต่เริ่มโครงการในปี พ.ศ. 2555 จนปัจจุบัน ได้วางไปแล้วกว่า 1,000 หลัง
ผลที่ได้คือ บ้านปลาช่วยดึงปลากลับมาได้จริง เพราะท่อที่นำมาประกอบมีซอก มีโพรงที่ช่วยให้ปลาเล็ก ปลาน้อยสามารถหลบซ่อนและวางไข่ได้ จึงดึงดูดให้ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ กลับเข้ามาในพื้นที่ทะเลใกล้ชายฝั่ง ทำให้ประมงพื้นบ้านกลับมาจับปลาได้โดยไม่ต้องออกทะเลไปไกลๆ แถมยังช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้ สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน และไม่ต้องละทิ้งอาชีพไปหางานทำในเมือง
ถัดมาคือ โครงการนี้ยังสร้างความรู้สึกหวงแหนแหล่งประมงให้กับชาวบ้าน จนเกิดเป็นความร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับทะเลชายฝั่ง โดยชาวบ้านได้ตกลงกันทำให้พื้นที่ที่วางบ้านปลานี้เป็น “พื้นที่อนุรักษ์” ทุกคนจะไม่จับปลาในบริเวณดังกล่าว เพื่อให้ปลาได้มีช่วงระยะเวลาในการเติบโตได้เต็มที่ก่อน
โดยสรุปแล้ว โครงการบ้านปลาของ เอสซีจี เคมิคอลส์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของการทำ CSR ที่แก้ปัญหาได้จริง เพราะเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง เรียกได้ว่า การสร้างบ้านปลา ช่วยให้บ้านคนยั่งยืนตามไปด้วย
ติดตามชมคลิปเกี่ยวกับโครงการนี้ได้ต่อที่ Link
หรือสนใจโครงการบ้านปลา เอสซีจี เคมิคอลส์ ยังสามารถไปตามอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.scgchemicals.com/fishhome