หลายคนคงได้ยินได้ฟังกันมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า “เรา” คือ เผ่าพันธุ์โฮโมเซเปียนส์
เนื้อหาในหน้าประวัติศาสตร์บอกเราว่า 100,000 ปีที่แล้ว มีสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกถึง 6 เผ่าพันธุ์ แต่ในวันนี้เผ่าพันธุ์เดียวที่สามารถครองโลกได้ก็คือ พวกเราชาวโฮโมเซเปียนส์ เราเคยสงสัยกันไหมว่า อะไรที่ทำให้พวกเราชาวโฮโมเซเปียนส์แตกต่างจากเผ่าพันธุ์อื่น สามารถพัฒนาสมอง สร้างสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อจนสามารถครองโลกได้ทั้งใบ และถ้าความลับของพวกเราถูกเปิดให้แก่เผ่าอื่นได้เรียนรู้ จนสามารถพัฒนาตามได้ภายในศตวรรษที่ 21 เราจะยังเอาชนะทุกเผ่าพันธุ์ได้อยู่หรือไม่ ?
โฮโมเซเปียนส์สปีชีส์ของคนตัวเล็กแต่ครองโลกได้
ลองจินตนาการเล่นๆ ดูว่า มีเกาะหนึ่งตั้งอยู่กลางทะเล ภายในเกาะไม่มีอาวุธ ไร้ซึ่งสิ่งก่อสร้าง และอาหาร มีแค่มนุษย์เพียงหนึ่งคนที่ต้องสู้กับลิงชิมแปนซีหนึ่งตัว ด้วยพละกำลังมนุษย์เพียงคนเดียว คงจะสู้ลิงชิมแปนซีที่มีกล้ามเนื้ออันแข็งแรงกว่ามนุษย์ 2-3 เท่าไม่ได้ ! แล้วมนุษย์ทำไมถึงครองโลกทั้งใบได้ ?
แฮรารีผู้เขียนหนังสือชื่อดัง อย่าง Sapiens ได้ให้ข้อสังเกตที่สำคัญและน่าสนใจว่า มนุษย์ไม่ได้มีพละกำลังในการเอาชนะด้วยตัวคนเดียวได้ แต่ที่มนุษย์ครองโลกได้เพราะพลังของ “การรวมกลุ่ม” แม้สัตว์ต่างๆ จะมีการรวมกลุ่ม แต่กลับครองโลกไม่ได้ เพราะพวกเขาทำงานร่วมกันแบบไม่ยืดหยุ่น “ทำงานเป็นแค่รูปแบบเดียว” เมื่อมีอันตรายแบบใหม่เข้ามานางพญาผึ้งหรือแก๊งมดงานก็ไม่สามารถสร้างระบบสังคมใหม่มารับมือได้ในข้ามคืน
การรวมกลุ่มกันทำงานอย่างมี “ระบบที่ยืดหยุ่น” คือหนึ่งในรูปแบบของการมี “Soft Skill” ในมนุษย์ เป็นทักษะที่เกิดจากช่วง Cognitive Revolution หรือการปฏิวัติกระบวนการคิด และจากนั้นก็มีการปฏิวัติเกิดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ Cognitive Revolution มอบให้พวกเราก็คือ ความสามารถในการใช้ภาษาของมนุษย์ ความสามารถในการสื่อสารเรื่องที่แต่งขึ้นเอง (fiction) หรือความจริงสมมติ (imagined reality) ทำให้พวกเรามีความเชื่อร่วมกันในเรื่อง ตำนาน เทพเจ้า ศาสนา หรือเงินตรา เมื่อมีความเชื่อทิศทางเดียวกันก็สามารถผนึกกำลังร่วมกันพัฒนาเครื่องมืออันสลับซับซ้อนบนโลกนี้ได้ มีการสร้างชุมชน วัฒนธรรม ความเชื่อ ทำให้พวกเราเดินตามกันเพื่อไปสู่เป้าหมายได้
มนุษย์ ‘เหนือ’ สปีชีส์อื่น ‘ต่าง’ จากหุ่นยนต์ แต่ไม่ได้แปลว่าจะ ‘เอาชนะ’ ได้
การมีทักษะที่ยืดหยุ่นทำให้ตอนนี้ พวกเราเหนือกว่าสปีชีส์อื่น รวมถึงต่างจากหุ่นยนต์ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะเอาชนะหรือควบคุมเทคโนโลยีสุดล้ำได้แบบง่ายๆ หากหยุดการพัฒนาตัวเอง AI อัลฟาซีโรใช้เวลาเรียนรู้หมากรุกภายในเวลา 4 ชั่วโมง จากที่ไม่เคยรู้อะไรเลย ซึ่งสามารถเทียบชั้นกับสต็อกฟิช 8 ที่เป็นคอมพิวเตอร์แชมเปียนส์หมากรุกโลกปี 2016 แฮรารี่บอกในหนังสือ 21 บทเรียนของเขาว่า อัลฟาซีโรไม่ได้เรียนรู้การเดินหมากจากมนุษย์ แต่ใช้หลักการเรียนรู้ของเครื่องจักรมาสอนการเดินหมากของตัวเอง ซึ่งเป็นการเดินอย่างแปลกประหลาดเรียกได้ว่าเป็น “ความคิดสร้างสรรค์”
หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ทั้งหลายมีประสิทธิภาพในการประมวลผลที่รวดเร็วกว่า มีความคิดสร้างสรรค์ได้ และผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์ด้วยซ้ำ แล้วทีนี้พวกเราชาวโฮโมเซเปียนส์จะอยู่เฉยได้อย่างไร
หุ่นยนต์และเทคโนโลยีใหม่ จะบีบชาวเซเปียนส์ ไม่ให้รอดในทักษะเดียว
เทคโนโลยีใหม่เข้ามาทำให้หลายงานต้องหายไป แต่แน่นอนว่าก็มีการเกิดขึ้นของอาชีพใหม่อยู่เรื่อยๆ ข้อสำคัญที่น่ากังวลคือ อาชีพใหม่ๆ ล้วนต้องใช้ทักษะที่สูงขึ้น ทำให้ต้องฝึกฝนมนุษย์ให้เรียนรู้เรื่องใหม่เสมอ
แฮรารีได้บอกเราว่า เมื่อถึงปี ค.ศ.2050 ความคิดที่ว่า “อาชีพเดียวตลอดทั้งชีวิต” อาจหายไป หากหุ่นยนต์แย่งงานจากพนักงานแคชเชียร์ แล้วพนักงานเหล่านั้นไม่มีทักษะในการปรับตัวก็จะทำให้ไม่สามารถกระโดดข้ามสายงานเพื่อไปควบคุมโดรน หรือเป็นหนึ่งในทีม AI เพื่อช่วยจัดการระบบได้ และกองทัพสหรัฐฯ ก็คงไม่ต้องการคนที่ลาออกจากวอลมาร์ต มาเป็นคนบังคับโดรนหรือวิเคราะห์ข้อมูล เพราะเกรงจะไปทำอะไรที่ผิดพลาด ดังนั้นชาวโฮโมเซเปียนส์จึงต้องรักษาและพัฒนาความสามารถในการพลิกแพลง ปรับตัว ไม่ให้ทักษะตัวเองจำกัดอยู่ในรูปแบบเดียว เพื่อให้พร้อมเผชิญทุกวิกฤตและเพื่อการเอาชีวิตรอด
Soft Skill จะช่วยให้โฮโมเซเปียนส์เอาชีวิตรอดในศตวรรษที่ 21
ในยุคนี้ ถ้าพูดถึงเรื่องการเอาตัวรอดในการทำงาน อาชีพหรือการทำธุรกิจล้วนเป็นช่วงเวลาที่ระบบทุกอย่างแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วแบบพริบตาและข้ามคืน พวกเราเหล่าเซเปียนส์จึงต้องตั้งตาอัปเดตทักษะใหม่ๆ ให้พร้อมรับกับอนาคตที่เปลี่ยนรูปแบบตลอดเวลา
ข้อมูลการสำรวจของ LinkedIn นี่คือ Soft Skills ที่คนยุคใหม่ต้องมี เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนทุกรูปแบบ อาทิ ภาวะผู้นำ (Leadership) เมื่อเรามีภาวะนี้ ก็จะเกิดความคิดใหม่ๆ ไม่รอคอยแต่คำสั่ง ทักษะการสื่อสาร (Communication) แม้การสื่อสารเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่กลับยากในหลายๆ ครั้ง การสื่อสารระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน องค์กรกับลูกค้า ไม่ได้มีรูปแบบเดียวที่ตายตัว หากมีทักษะนี้ที่ดีเยี่ยม รับรองว่าจะลดวามขัดแย้งในการทำงานได้อย่างมาก
ทักษะความร่วมมือ (Collaboration) เพราะการทำงานเป็นทีมหากได้ข้อขัดแย้งเล็กน้อย จะต้องไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ แน่นอนว่าทุกการทำงานย่อมบรรลุเป้าหมายได้รวดเร็วไม่มีสะดุด และยังมีทักษะอีกมากมายที่สำคัญอย่าง ทักษะการจัดการเวลา ทักษะการปรับตัว ทักษะการลำดับความสำคัญของงาน
ดังนั้นถ้าเหล่ามนุษย์หลงใน Hard Skill ที่ร่ำเรียนมา ยึดแต่เพียงทักษะเดียวก็จะทำให้เราล้าสมัย การที่มนุษย์สามารถเอาชีวิตรอดมาถึงทุกวันนี้ แถมยังสามารถครองโลกและสร้างเทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง AI และระบบต่างๆ ได้ เพราะมีการร่วมมือกันอย่างยืดหยุ่นจนพลิกแพลงได้ทุกวิกฤต
เปลี่ยนความกังวลให้เป็นความท้าทาย เริ่มต้นได้ทันที
ทุกคนจะต้องปรับ Mindset ใหม่ให้พร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพราะสิ่งนี้จะเป็นกุญแจดอกสำคัญในการเผชิญกับยุค AI และเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การเข้าอบรมความรู้เรื่องการทำงานร่วมกับ AI อย่างการฝึกเขียน Code อัปเดตการสื่อสารภายในองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น cloud, Office365, Power BI เป็นต้น
องค์กรก็ต้องสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการคิดต่าง ทดลองทำงานรูปแบบใหม่ ทำให้ทุกคนกล้าที่จะล้มเหลวภายในระยะเวลาจำกัด เพื่อที่จะได้พบวิธีการใหม่ เกิดความยืดหยุ่น พร้อมรับปรับตัวทุกสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
พวกเราไม่สามารถปฏิเสธเทคโนโลยี และ AI ได้เลย เพราะสิ่งเหล่านี้ ก็ช่วยทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกขึ้นทั้งด้านการบริการ การคมนาคม การสื่อสาร การแพทย์ เป็นต้น แต่หากเรามี Soft skill พร้อมรับมือและปรับตัวตลอดเวลา เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและก้าวหน้าได้ ทีนี้พวกเราชาวโฮโมเซเปียนส์ก็จะเดินทางไปพร้อมกับ AI ได้ โดยไม่ต้องเกิดความเครียดว่าจะ “ถูกแทนที่”
SEAC ได้สร้างระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เราก้าวพ้นวิกฤตถูกแทนที่ด้วย AI
SEAC (South East Asia Center หรือเอสอีเอซี) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ได้สร้างสรรค์และนำหลักสูตรมากมายเข้ามาให้พวกเราชาวโฮโมเซเปียนส์ได้ทั้ง Upskill และ Reskill ยกตัวอย่างเช่น
โปรแกรม ‘Outward Mindset’ ซึ่งเป็นโปรแกรมปรับมุมมองการคิดให้เข้าใจความต้องการของผู้อื่น โดยจะเป็นส่วนสำคัญในการให้บุคลากรสามารถเชื่อมโยง สื่อสาร แลกเปลี่ยนกันได้เห็นผลกระทบที่กว้างกว่ามุมมองเดิมของตัวเอง จนเกิดเป็นสังคมที่ช่วยปลดล็อคศักยภาพในองค์กรและไปถึงเป้าหมายที่ต้องการอย่างยั่งยืน
‘The e3 Leader Series’ โปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อหัวหน้าและผู้นำที่มีประสบการณ์และต้องการเสริมความเป็นผู้นำให้เข้มข้นขึ้นไปอีกขั้น โดยโปรแกรมนี้จะพาไปเรียนรู้วิธีสร้างบทสนทนา ที่มีจุดประสงค์เพื่อมุ่งหาคำตอบ เพื่อให้ลูกทีมรู้สึกมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายของทีม
‘Building and Leading a High-Performance Team (On Thin Ice)’ เป็นอีกโปรแกรมไฮไลท์ที่จะช่วยทำให้ทีมได้ฝึกการเผชิญอุปสรรคต่างๆ ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบเสมือนจริง ผู้ที่เรียนจะได้รับประสบการณ์ความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยอาศัยวิธีการสื่อสารที่เข้าใจตรงกันภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ รวมถึงทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นอีกมากมาย เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาก้าวผ่านทุกอุปสรรคและไปถึงจุดหมายร่วมกัน
นอกจากนั้น ที่ SEAC ยังมีหลักสูตรอีกมายมายที่ไม่ได้เสริมและพัฒนาด้าน Soft Skill เพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ Hard Skill ที่ทุกคนมีอยู่แข็งแรงและเข้มข้นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแพลตฟอร์ม YourNextU ที่เปรียบเสมือนนวัตกรรมและระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ ที่ SEAC ได้ตั้งใจสร้างสรรค์และออกแบบมาให้ตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของโลก รูปแบบการใช้ชีวิต และสไตล์การเรียนรู้ของคนทุกเพศทุกวัย ทลายทุกข้อจำกัด เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ที่มีคุณภาพที่สุดในราคาที่จับต้องได้ อัปเดตความรู้และทักษะกันได้บ่อยตามที่ต้องการที่ https://www.yournextu.com
แม้หุ่นยนต์จะมีประสิทธิภาพในการคิดคำนวณ ประมวลผลซ้ำๆ ได้รวดเร็วและแม่นยำกว่ามนุษย์ รวมถึง AI ที่เริ่มสร้างสรรค์อะไรที่ต่างจากเดิมได้ แต่ถ้าหากตอนนี้ชาวโฮโมเซเปียนส์ยังคงรักษาคุณสมบัติพิเศษคือ การร่วมมือกันทำงานเป็นทีมได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ก้าวหน้าเหนือสปีชีส์อื่น และถ้ายิ่งคอยอัปเดตทักษะใหม่ๆ เปิดกว้างที่จะปรับตัวเรียนรู้ตลอดชีวิต ก็ไม่ต้องกลัวการถูกแทนที่ของเทคโนโลยีใหม่ แถมยังสามารถร่วมมือกับเหล่า AI เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ เพื่อให้การทำงานของมนุษย์เรามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้แบบยกกำลัง