ถ้ามองแบบภาพกว้างโดยทั่วไป คำว่า ‘กีฬา’ อาจนิยามถึงเกมการแข่งขันในกฎเกณฑ์หรือกติกาที่วางไว้ เพื่อนำไปสู่ชัยชนะ แต่ถ้าเราลองมองให้ลึกและเข้าใจมากขึ้น “กีฬา” อาจหมายถึงส่วนประกอบของความเป็น ‘คน’ ที่ไม่เพียงแต่ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก แต่ยังหมายถึงสปิริตนักกีฬา การมีวินัยอดทน การพัฒนาทักษะ รวมไปถึงประสบการณ์ที่สามารถถ่ายทอดต่อรุ่นต่อๆ ไปได้
ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ของนักกีฬาไทย
หากมองย้อนกลับไป ถึงภาพความสำเร็จของนักกีฬาทีมชาติไทย ที่มีมากมายในมหกรรมการแข่งขันกีฬาระดับโลก ไม่ว่าจะซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ หรือโอลิมปิก ล้วนมีเบื้องหลังที่คนดูอย่างเราๆ อาจมองไม่เห็น เริ่มต้นตั้งแต่ตัวของนักกีฬาเองที่ต้องฝึกซ้อมอย่างหนัก เคร่งครัดในระเบียบวินัย ก่อนจะลงแข่งขันให้สุดความสามารถ ซึ่งในระหว่างทางที่ไปสู่ความสำเร็จ จำเป็นต้องมีการดูแลตั้งแต่ร่างกาย อุปกรณ์กีฬา ไปจนถึงโค้ชผู้ฝึกซ้อม แน่นอนว่าต้องได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสมาคมกีฬาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ในอีกมุมหนึ่ง การสนับสนุนจากกองเชียร์ รวมถึงสปอนเซอร์ต่างๆ ก็เป็นเหมือนอีกหนึ่งแรงใจ ที่เป็นส่วนสำคัญช่วยให้นักกีฬาสามารถคว้าชัยชนะมาได้
หากเปรียบง่ายๆ หากสมาคมกีฬาทำหน้าที่สนับสนุนนักกีฬาในสนามและเกมการแข่งขัน กองเชียร์และสปอนเซอร์ ก็นับเป็นแรงสนับสนุนจากข้างสนามเช่นกัน
อย่างที่ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสนับสนุน ในการสร้างนักกีฬาชาวไทยหลากหลายประเภท และยังเป็นองค์กรที่ช่วยผลักดันความสำเร็จของนักกีฬาคนพิการ เพราะการคว้าชัยชนะไม่ใช่ความสำเร็จของนักกีฬาคนเดียว แต่เป็นความสำเร็จในฐานะตัวแทนของคนทั้งชาติ ทำให้ทุกฝ่ายล้วนมีส่วนร่วมในความสำเร็จนั้นๆ เสมอ
สปิริตของนักกีฬา ต้นแบบของความพยายามที่ส่งต่อได้
อย่างที่ทราบกันดีว่า ในเกมกีฬาคือการแข่งขันที่วัดศักยภาพของความเป็นคน ใครที่ฝึกซ้อมมาหนักกว่า เชี่ยวชาญกว่าก็สามารถเอาชนะคู่แข่งได้ แน่นอนว่ากว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ นักกีฬาเองต้องผ่านบทพิสูจน์ต่างๆ มากมาย ทั้งอุปสรรคเรื่องร่างกายและจิตใจอย่างหนัก การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย รวมถึงการทำงานเป็นทีม เพื่อชัยชนะในการแข่งขันภายใต้กรอบของกติกาอย่างบริสุทธิ์ใจ หรือเรียกอีกอย่างว่า ‘สปิริตของนักกีฬา’
เมื่อผ่านบทพิสูจน์เหล่านี้ไปได้แล้ว จึงเป็นการยืนยันถึงศักยภาพและคุณภาพของความเป็น ‘คน’ ได้อย่างชัดเจน และกลายเป็นต้นแบบหนึ่งของความพยายามได้ ซึ่งสปิริตของนักกีฬามักจะมาพร้อมกับประสบการณ์อันล้ำค่า ที่นักกีฬาเก็บเกี่ยวมาได้จากการแข่งขันในรายการต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้สามารถแปรเปลี่ยนเป็นแรงบันดาลใจ สำหรับส่งต่อไปยังนักกีฬารุ่นใหม่ๆ ให้ดำเนินรอยตามความสำเร็จได้เช่นเดียวรุ่นพี่ นั่นคือประเด็นสำคัญที่ สิงห์ คอร์ปฯ มองเห็นและพยายามผลักดันอย่างเต็มที่
ความเป็นคนคุณภาพ ที่สร้างด้วยหัวใจนักกีฬา
ตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30-40 ปีที่ผ่านมา กระบวนการสนับสนุนนักกีฬาของสิงห์ คอร์ปฯ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นการสนับสนุนเงินทุนเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสนับสนุนดูแลนักกีฬาตั้งแต่เริ่มต้น ในวันที่ยังไม่มีชื่อเสียงหรือยังเป็นเยาวชนอยู่ ผลักดันเรื่อยมาจนถึงวันที่เทิร์นโปรเป็นนักกีฬาอาชีพ โดยไม่สนใจว่านักกีฬาคนนั้นจะชนะหรือแพ้ ได้รับเหรียญหรือไม่ได้รับเหรียญ แต่กลับให้ความสำคัญกับการมีสปิริตของนักกีฬา การมีวินัยอดทนฝึกซ้อม การพัฒนาทักษะ รวมไปถึงสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ได้ เพื่อปลายทางของการสนับสนุนคือการอยากให้นักกีฬาเป็น ‘คนคุณภาพ’ จนถึงวันนี้ มีนักกีฬาที่เป็นตำนาน รวมไปถึงเยาวชน และนักกีฬาทีมชาติ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสิงห์เป็นจำนวนมาก
เป็นที่มาของกระแส #คนคุณภาพหัวใจนักกีฬา อีกหนึ่งแคมเปญของ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ที่อาศัยห้วงเวลาของปีแห่งมหกรรมกีฬาระดับโลก มาช่วยตอกย้ำถึง ‘คุณภาพ’ที่แท้จริงของนักกีฬา ผ่านความเชื่อของ สิงห์ คอร์เปอเรชั่น ที่เชื่อว่า ทุกคนที่มี ‘หัวใจนักกีฬา’ คือ ‘คนคุณภาพ’
เกิดเป็นกระแสของสุดฮิตของเหล่านักกีฬาในโลกโซเชียล ทั้งรุ่นเล็ก รุ่นใหญ่ รวมไปถึงนักกีฬาผู้เป็นตำนาน ที่เคยประสบความสำเร็จระดับโลก พร้อมใจกันใจโพสภาพ ที่สวมใส่เสื้อยืดที่มีข้อความ ที่สื่อถึงสปิริตนักกีฬา สร้างแรงบันดาลใจและติด #คนคุณภาพหัวใจนักกีฬา ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของนักกีฬาแต่ละคน ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน อาทิ เช่น
โปร บุญชู เรืองกิจ แชมป์ยูโรเปี้ยนซีเนียร์ทัวร์ 7 รายการ
บัวขาว สมบัติ บัญชาเมฆ นักกีฬามวยไทยและมวยสากล แชมป์ K-1 ผู้นำศิลปะต่อสู้ของไทยไปสร้างชื่อในระดับโลก
คุณดนัย อุดมโชค อดีตนักกีฬาเทนนิสทีมชาติไทย
และ คุณสายสุรีย์ จ๊ะนะ นักกีฬาวิวแชร์ฟันดาบ
นี่เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่าง ของนักกีฬาคุณภาพระดับตำนาน ที่มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญนี้ แต่ยังมีนักกีฬาอาชีพ นักกีฬาทีมชาติ และเยาวชนทีมชาติที่สิงห์ดูแล อีกกว่า 500 คน ที่ขออาสาเข้าร่วมในแคมเปญ #คนคุณภาพหัวใจนักกีฬา เพื่อช่วยกันปลุกกระแสให้คนในโลกโซเชียลฯ ได้เข้าใจถึง ‘คุณภาพ’ ของคน ที่อยู่ในตัวนักกีฬา และต่อยอดไปสู่ ‘สังคมคุณภาพ’ ได้อย่างชัดเจนและหวังให้สังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาวงการนักกีฬาไทย ที่จะต้องเป็นมากกว่าผู้ที่การสนับสนุนเงินทุนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมทำให้นักกีฬามีแรงใจ อยู่เคียงข้างเป็นแรงผลักดันเพื่อให้สำเร็จตามเป้าหมาย และที่สำคัญคือจะต้องช่วยให้นักกีฬามีโอกาส ที่จะสามารถส่งต่อและถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับ ผ่านไปยังผู้อื่นและสังคมต่อไปได้อีกด้วย