เขาว่า ‘ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ’ แค่มองกันให้ใกล้ๆ ก็เหมือนจะรู้ว่าเธอกำลังคิดอะไรอยู่
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะตกหลุมรักเพียงแค่มอง “ตา” เซลล์ประสาทในสมองจำนวนมากของพวกเราอุทิศให้กับประสาทการมองเห็นมากกว่าประสาทสัมผัสอื่นๆ ดวงตาของคุณจึงสามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงอันฉับไวเพียง 13 มิลลิวินาที และ 70% ของการรับรู้ทั้งหมดมาจากดวงตา
ดวงตาจึงไม่ใช่เพียง “หน้าต่าง” ของหัวใจ แต่เป็นช่องทางที่สมองคุณจะรับรู้ความรักและการถูกรักอย่างทันด่วนที่สุดเท่าที่ประสาทสัมผัสของพวกเราจะอำนวย
ยิ่งพวกเราต้องสานสัมพันธ์กับใครๆยุคดิจิทัล มันยิ่งเรียกร้องให้สายตาจดจ่อกับเครื่องมือไฮเทคมากมาย เราใช้สายตาทำงานหนักขึ้นจากวิถีชีวิตติดจอ ทั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ ไอแพด และสมาร์ทโฟน แต่ที่แย่กว่านั้น คือ แสงจากหลอดไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอยู่กับคุณนานถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน
ดวงตาต้องได้รับการปรนนิบัติที่ดีขึ้นหน่อย หากมันยังเป็นอวัยวะที่ต้องสานสัมพันธ์เพื่อพวกเราอยู่ มาดูกันว่าคุณสามารถหลีกเลี่ยงการทำร้ายดวงตาทางอ้อมได้อย่างไรบ้าง
มองหน้าเธอดีกว่ามองหน้าจอ ภัยจากแสงสีฟ้า
ไม่แปลกที่ Smartphone และ iPad จะดึงดูดสายตาให้คุณเงยหน้าไม่ขึ้นตลอดทั้งวัน เพราะไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรเรามักจะเพ่ง สายตากับจอมือถือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านสเตตัสเพื่อนๆ ตอบไลน์ ติดตามข่าวสารให้ทัน เพราะเดี๋ยวจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง แต่เดี๋ยวก่อน! คนที่อยู่ตรงหน้าก็สำคัญไม่แพ้คนในมือถือของคุณ แถมมองเธอหน้ายังดีกว่ามองหน้าจอแน่ๆ เพราะการจ้องหน้าจอนานๆ ทำให้คุณเสี่ยงต่อ Blue light หรือแสงสีฟ้า ซึ่งจัดเป็นคลื่นแสงพลังงานสูงมีความยาวคลื่น 400 ถึง 500 นาโนเมตร มันสว่างเสียจนเป็นอันตรายต่อดวงตาหากจ้องนานๆ ยิ่งยามค่ำคืน แสงสีฟ้าทะลุจอประสาทตาได้มากกว่าแสงอื่นๆ ทำให้คุณเผชิญปัญหาตาแห้ง พร่ามัว น้ำตาไหลตลอดเวลา เสี่ยงโรคจอประสาทตาเสื่อม และล่าสุดมันเชื่อมโยงไปสู่ “โรคอ้วน” ด้วย
จากงานวิจัยที่ผ่านมาหลายชิ้น ทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงระหว่าง’แสง’ และระบบเผาพลาญของร่างกาย (Metabolism) อย่างมีนัยยะ ล่าสุดนักวิจัยและแพทย์ผู้ศึกษาประสาทวิทยา Kathryn Reid จากมหาวิทยาลัย Northwestern ในรัฐอิลลินอยส์ ศึกษาแสงสีฟ้าที่สร้างผลกระทบต่อวงจรนาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ที่กำหนดสมดุลร่างกายว่าเมื่อไหร่คุณต้องตื่น ต้องนอน และต้องกิน แสงสีฟ้าทำให้รูปแบบนาฬิกาชีวิตคุณปั่นป่วนระยะยาว
หากมีสิ่งที่คุณจะทำได้ นั่นคือการจัดการตารางชีวิตอย่างเป็นระบบ ให้ความสำคัญกับการพักผ่อนให้พอๆ และการเสพข้อมูลในแต่ละวัน มือถือคุณต้องชาร์จไฟฉันใด สมองคุณก็จำเป็นต้องพักเพื่อการซ่อมแซมและปรับฮอร์โมนให้สมดุลฉันนั้น และที่สำคัญต้องอย่าลืมให้เวลากับคนข้างๆ ให้มากๆ ไม่ต่ำกว่าการใช้เวลากับคนในหน้าจอด้วย ไม่อย่างนั้น รู้ตัวอีกทีคนข้างๆ ของคุณอาจกลายเป็นอีกหนึ่งคนในหน้าจอไปแล้วจะเสียใจนะ
มองเธอในที่แสงมาก สายตาฉันมันสั้นเหลือเกิน
คนเรามักจะดูกว่าในที่มืด เพราะแสงสว่างที่น้อยเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินจนเกิดการเมื่อยล้ายของตา และเกิดการมองเห็นไม่ชัด เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าในยามที่แสงน้อยเธออาจจะดูสวยมากกว่า แต่อย่าลืมเพ่งมองเธอในที่มีแสงสว่างดูบ้างก็ได้ พาเธอออกไปเที่ยวเล่นข้างนอกในยามกลางวันเพื่อเพิ่มพูนความโรแมนติก เพราะการที่เก็บกักตัวอยู่แต่ในที่แสงน้อยๆ อาจจะทำให้คุณต้องหาแว่นมาใส่ จนมีการคาดการณ์ว่า ปี 2050 จะมีคนสายตาสั้น “ครึ่งโลก”
สถาบัน Brien Holden Vision ในออสเตรเลีย คาดการณ์ว่าภายในปี 2050 จะมีประชากรมากกว่าครึ่งโลกประสบปัญหาสายตาสั้น (Myopia) และต้องการเลนส์ปรับสายตาหรือนวัตกรรมอื่นๆในการรักษา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกที่มีการเติบโตทาง GDP สูง นักวิทยาศาสตร์เริ่มเห็นสมมติฐานใหม่ๆ เมื่อเด็กรุ่นต่อๆ ไปจะใช้เวลานอกบ้านน้อยลง ทำให้ดวงตาไม่ได้รับแสงแดดเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้สายตาสั้นได้
นอกจากนี้ยังมีผลวิจัยยืนยันจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุว่า คนที่ใช้เวลานอกบ้านมากกว่า 40 นาที มีโอกาสสายตาสั้น “น้อยกว่า” คนที่ขลุกตัวอยู่แต่ในบ้าน
ในยุคหนึ่งสายตาสั้นถูกเชื่อว่าเป็นผลจากพันธุกรรม แต่ตอนนี้มันเป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมทางสังคมไปแล้ว เพราะฉะนั้นเราควรใช้สายตาในที่ที่จะได้เจอะเจอกับแสงกันบ้าง ยกเว้นแต่กิจกรรมอัศจรรย์บางอย่างที่อาจเหมาะสมในที่แสงน้อยมากกว่า กรณีนี้ก็ยอมให้เป็นข้อยกเว้นอ่ะเนอะ
หลีกเลี่ยงภาพบาดตาบาดใจ
เห็นภาพแฟนเก่าของคนใหม่ หรือ แฟนใหม่ของคนเก่า มันช่างเจ็บปวดใจ มองอะไรก็มีแต่สีดำ ภาพบาดจิตบาดใจเหล่านี้ รู้ตัวดีว่าต้อง Hurt แน่ๆ แต่ก็อดไม่ได้ที่จะขอดูให้ตำตา
ข้อนี้ต้องพึงระวังเป็นพิเศษ เพราะไม่ใช่แค่ทำร้ายดวงตา แต่ยังทำร้ายจิตใจไปอีก แม้การจ้องแสงจ้า ที่เกิดจากแหล่งกำเนิดโดยตรง (Direect glare) ที่อันตรายขนาดที่สามารถทำให้กระจกตาอักเสบหรือถึงขั้นตาบอด ก็ยังต้องยอมแพ้ให้ภาพบาดตาเหล่านี้
ความเจ็บที่คุณก็รู้อยู่เต็มอก มีเพื่อนร่วมอาการคล้ายกันอีกเป็นล้านๆคนทั่วโลกเรียกว่า ‘Morbid Curiosity’ หรือ ความสงสัยอันนำมาซึ่งความเจ็บปวด มนุษย์เกิดมาพร้อมๆกับความวิตกกังวลและพยายามหาทางออก โดยการกลับไปพิจารณาอะไรที่เจ็บปวดซ้ำเดิมอีกรอบ
นักปรัชญาและกลุ่มนักคิดสายจิตวิเคราะห์ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่า ทำไมมนุษย์โหยหาความเจ็บปวด อย่างกลุ่มทฤษฎีของฟรอยด์มีแนวคิดเรื่อง Death Instinct/Death Drive หรือสัญชาติญาณแห่งความตายเป็นแรงขับดันให้เราหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับภัยที่นำมาซึ่งความตาย อันเป็นกุญแจสำคัญในการเอาชีวิตรอด เราต้องเรียนรู้ความเจ็บปวดเสียเนิ่นๆ ก่อนที่มันจะเกิดกับตัวเราเอง
แม้มันจะเป็นกลไกสุดสามัญ แต่คุณก็ควรรู้จังหวะที่ควรแตะเบรกเลิกมองอดีตอย่างเจ็บช้ำน้ำใจ หาความเป็นไปได้ของการมีชีวิตและอนาคตข้างหน้าแทน สายตาของคุณมองได้ไกลกว่านั้นเยอะ
ดูแลตาเพื่อความอยู่รอดจากยุคดิจิทัล
ในยุคดิจิทัลเช่นนี้ ยังไงพวกเราก็ต้องข้องแวะกับงานที่ใช้สายตามากๆ อยู่ดี แต่หากไม่มีกฎเกณฑ์กำชับตัวเองเลย ทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคสายตาของคนทำงานยุคใหม่ “คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” (computer vision syndrome) ที่มีผลมาจากการใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน มาดูวิธีสำหรับรักษาดวงตาของคุณและคนที่คุณรักกันดีกว่า
- ใช้กฎ 20 – 20 -20 หรือการหยุดกิจกรรมหน้าจอทุกๆ 20 นาที โดยพักเบรกมองสิ่งอื่นๆเป็นเวลา 20 วินาทีซึ่งมีระยะห่างออกไป 20 นิ้ว ( จำว่า 20 นาที – 20 วินาที – 20 นิ้ว) พักผ่อนดวงตาอย่างน้อย 15 นาที หลังจากใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อกัน 2 ชั่วโมง
- ปรับมอนิเตอร์ให้ต่ำลงกว่าระดับสายตา 4 – 5 นิ้ว และมองห่างจากหน้าจอ 20 – 28 นิ้ว เลือกมอนิเตอร์ที่ลดเงาสะท้อน (Anti-glare)
- หากใช้โปรแกรมพิมพ์งานอย่าง Word ขยายตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้นโดยใช้การ Zoom แทนการปรับขนาดอักษรที่ทำให้คุณไม่ต้องปวดหัวต้องมาจัดหน้าใหม่
- แสงและมุมที่วางมอนิเตอร์ก็สำคัญ พยายามเลี่ยงเงาสะท้อนจากหน้าต่างหรือดวงไฟ ใช้ม่านบังแสงหรือเปลี่ยนไปใช้หลอดไฟที่ถนอมสายตา
- กระพริบตาบ่อยๆให้ตาชุ่มชื้น มีน้ำตาเทียมไว้ใกล้ๆตัว เวลาตาแห้งมากๆ
- จิบดื่มน้ำบ่อยๆ เวลาทำงานหน้าคอมพิวเตอร์
ดูแลดวงตา ด้วยหลอดไฟที่ออกแบบมาเพื่อตาของคุณโดยเฉพาะ
แม้คุณจะดูแลดวงตาอย่างดีมาทุกวิถีทาง แต่จุดไต้ตำตอที่โดนมองข้าม คือหลอดไฟที่คุณใช้ในชีวิตประจำวัน หลอดไฟส่วนใหญ่ไม่ได้มาตรฐานที่สอดรับกับธรรมชาติของดวงตา ซึ่งอยู่กับเราตลอด 16 ชม.ต่อวัน!! แสงที่ไม่เพียงพอหรือสว่างมากเกินไปเป็นต้นเหตุของอาการตาล้า ปวดตา และปวดศีรษะ จอประสาทตาเสื่อมเร็ว
Philips จึงพัฒนาหลอดไฟ Philips LED สร้างมิติใหม่โดยเป็นแบรนด์แรกที่สื่อสารให้พิจารณาถึงการเลือกหลอดไฟที่มีคุณภาพและสามารถช่วยถนอมสายตา ” Eye Comfort ” มีอายุการใช้งานนาน และการประหยัดพลังงานมากกว่าหลอกไฟแสงสว่างธรรมดา โดยใช้ เทคโนโลยีลดแสงสั่นกระพริบ (No visible flickering) และการลดแสงจ้าถึง 70 % ให้ความสว่างอย่างทั่วถึงโดยไม่ทำลายสายตา เพื่อสายตาที่ดี และเพื่อจะได้มองคนที่คุณรักไปได้อีกนานๆ https://goo.gl/BWid1u
นอกจากที่เราจะดูแลสุขภาพตาของเราแล้ว เรายังสามารถร่วมส่งมอบโอกาสดีๆ ให้กับน้องๆ นักเรียนในถิ่นทุรกันดาร ร่วมมอบแสงแห่งโอกาสและความห่วงใย
คุณก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมมอบแสงแห่งโอกาสและความห่วงใย เพื่อพัฒนาการศึกษาของเด็กไทย เมื่อซื้อหลอดไฟ Philips LED “แพ็คเพื่อน้อง” คุณได้ร่วมบริจาคกับ Philips และรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้ UNICEF เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารของประเทศไทย วันนี้ – 31 ธันวาคม 2560