แนวปะการังแม้จะมีอาณาบริเวณเพียง 1 % บนผิวโลก แต่สามารถอุ้มชูชีวิตมนุษย์ถึง 500 ล้านคนไว้ด้วยกัน การสูญเสียแนวปะการังอาจทำให้ระบบเศรษฐกิจมนุษย์พังครืนและสั่นคลอนความมั่นคงทางอาหารของมนุษย์อย่างร้ายกาจ
สำหรับหลายๆคน “แนวปะการังนอกชายฝั่ง” อาจเป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจช่วงหน้าร้อนที่คุณสามารถซื้อทริปไปดำผุดดำว่ายชื่นชมความงามที่ถูกธรรมชาติรังสรรค์ขึ้น แล้วถ่ายรูปกลับมาอวดเพื่อนให้ตาร้อนผ่าว แม้ปะการังจะทำหน้าที่เรียกแขกเช่นนั้นได้ดี แต่ปะการังมีมิติลึกมากกว่านั้นเยอะ และคนทั่วโลกกว่า 500 ล้านคนต้องพึ่งพามันเพื่อมีชีวิตเลยทีเดียว
ทุกชีวิตผูกพันกับปะการังมานับร้อยล้านปี แต่ตอนนี้ความเจ็บปวดที่ปฏิเสธไม่ได้คือ “ปะการังกำลังตาย” ความล่มสลายทางชีวภาพเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมโลกสั่นสะเทือน ดุจโดมิโน่ที่ล้มต่อๆ กันยากที่จะหยุดยั้ง
ข่าวร้ายล่าสุด แนวปะการังใหญ่ที่สุดในโลก “เกรต แบร์ริเออร์ รีฟ” (Great Barrier Reef) แนวปะการังที่มีชื่อเสียงในประเทศออสเตรเลีย “อยู่ในภาวะฟอกขาว” มีสภาพเสื่อมโทรมอย่างมาก จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความผันผวนของมหาสมุทรที่กิจกรรมของมนุษย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา นักวิทยาศาสตร์คาดว่า เมื่อ เกรต แบร์ริเออร์ รีฟตายไปก็น่าจะมีปะการังสายพันธุ์สำคัญหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ต้องสูญพันธุ์ตามไปด้วย
ระบบนิเวศแนวปะการังต้องใช้เวลาเป็นศตวรรษๆ ในการเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ มันมีอัตราเกิดเชื่องช้าและบอบบางต่อสิ่งเร้า หากเราสำรวจสถานการณ์ในปัจจุบัน มีปะการังอย่างน้อย 19 % ทั่วโลกที่ถูกทำลายไปแล้ว และภายในอีก 20 ปี หากเทรนด์หายนะนี้ยังคงดำเนินต่อไป แนวปะการังสำคัญของโลกอาจหายเพิ่มไปแตะที่ 34 % จากข้อมูลของ National Oceanographic and Atmospheric Administration
หรือกล่าวสรุปได้ว่า แนวปะการังสำคัญทั่วโลกทั้งหมดจะสูญสลายไปภายในเพียง 1 ช่วงอายุขัยของมนุษย์เท่านั้น
ปะการังไป แล้วใครแคร์?
โลกกำลังสูญเสียระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุด แต่ย้อนมาดูชีวิตคนเมือง มันก็ช่างห่างไกลตัวพวกเรานัก ทะเลมีอิทธิพลอย่างไรกับชีวิตคนเมือง ก็เมื่อทุกมื้อสามารถเอาเงินซื้ออาหารได้หมด ปะการังจะหายไปแล้วจะอย่างไร
ปะการังเป็นแหล่งชี้วัดจำนวนประชากรสัตว์น้ำซึ่งเป็นแหล่งรายได้ให้กับอุตสาหกรรมประมงและครอบครัวชาวประมงนับล้านครัวเรือนทั่วโลก ความผันผวนของความสมบูรณ์ทางปะการังมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของนิคมประมงทั่วโลก ผลักดันให้คนในบริเวณชายฝั่งต้องละทิ้งถิ่นฐาน ไปกระจุกตัวในเมืองหลวงและสร้างความไม่มั่นคงทางการเมืองจากจำนวนประชากรที่ดิ้นรนจากภาวะอดยากและการขาดแคลนอาหารจากทะเล
ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ แต่ปลาก็ยังต้องพึ่งพาแหล่งที่อยู่อาศัยและหาอาหารจากที่มั่นสุดท้าย ซึ่งปลาในมหาสมุทรเกือบครึ่งหากินตามแนวปะการัง ดังนั้นเมื่อเราไม่มีปะการัง เท่ากับเราสูญเสียประชากรสัตว์น้ำครึ่งหนึ่งไปโดยปริยาย
อย่างในภูมิภาคเอเชีย มีคน 1,000 ล้านคนต้องการอาหารจากสัตว์ทะเล แต่เมื่อไม่มีทรัพยากรให้บริโภค ความยากจนมักตีวงแคบในบริเวณชุมชนชายฝั่งก่อน แล้วค่อยคืบคลานสู่เมืองหลวง เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงใน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีการอพยพย้ายถิ่นฐานของคนในแถบบริเวณชายฝั่งถึง 130 ล้านคน ไปกระจุกตัวในเมืองหลวงเสียส่วนใหญ่
ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ แต่ปลาก็ยังต้องพึ่งพาแหล่งที่อยู่อาศัยและหาอาหารจากที่มั่นสุดท้าย ซึ่งปลาในมหาสมุทรเกือบครึ่งหากินในแนวปะการังแทบทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อเราไม่มีปะการัง เท่ากับเราสูญเสียประชากรสัตว์น้ำครึ่งหนึ่งไปโดยปริยาย
อย่างในภูมิภาคเอเชีย มีคน 1 พันล้านคนต้องการอาหารจากสัตว์ทะเล แต่เมื่อไม่มีทรัพยากรให้บริโภค ความยากจนมักตีวงแคบในบริเวณชุมชนชายฝั่งก่อน แล้วค่อยคืบคลานสู่เมืองหลวง เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างรุนแรงใน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ มีการอพยพย้ายถิ่นฐานของคนในแถบบริเวณชายฝั่งถึง 130 ล้านคน ไปกระจุกตัวในเมืองหลวงเสียส่วนใหญ่
สถานการณ์ปะการังไทยเป็นอย่างไร
จากข้อมูลของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เปิดเผยถึงสถานการณ์ปะการังฟอกขาวในประเทศไทยปี 2559 พบว่ามีปะการังภาวะฟอกขาวรวมทั้งสิ้น 81 จุด ใน 12 จังหวัด 58 เกาะ 3 แหลม 2 อ่าว 1 หาด มีการฟอกขาวในระดับวิกฤติ (สีแดง) 33 จุด ในระดับรุนแรง (สีเหลือง) 48 จุด ซึ่งเกิดขึ้นในภาคตะวันออก 7 จุด อ่าวไทยตอนกลาง 36 จุด อ่าวไทยตอนล่าง 3 จุด และทะเลอันดามัน 35 จุด
เรากำลังสูญเสียสายพันธุ์ปะการังที่สำคัญอย่าง ปะการังโขด ปะการังแกแลกซี่ ปะการังลายดอกไม้ ปะการังรังผึ้ง ปะการังรังผึ้งเล็ก ปะการังหนามขนุน ปะการังสมองร่องยาว ปะการังสมองร่องใหญ่ ปะการังวงแหวน ปะการังผิวยู่ยี่ และปะการังเขากวาง นอกจากนี้พบหอยมือเสือก็เกิดภาวะฟอกขาวเช่นกัน
สถานการณ์ปะการังในทะเลไทยจึงจัดอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างแย่ จากพื้นที่รวมประมาณ 238.33 ตร.กม. แต่ละพื้นที่มีเปอร์เซ็นต์ความสมบูรณ์ของปะการังต่ำ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ปะการังไม่เพียงแต่ต้องเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน ยังต้องเผชิญการคุกคาม ทำลายและเหยียบย่ำปะการังจากการท่องเที่ยว และระบบนิเวศที่แปรปรวนจากการทิ้งขยะลงทะเล
เมื่อปะการังสำคัญกับมนุษย์ขนาดนี้ การไม่หันกลับไปดูแลเลย ก็เหมือนกับเรากำลังปิดโอกาสรอดและปากท้องตัวเองในอนาคตอันใกล้ เพราะ มนุษย์เองจะเดือดร้อนจากการไม่มีปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เอสโซ่ เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีส่วนสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติมาอย่างยาวนาน โดยในปีนี้โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ศรีราชา ซึ่งดำเนินงานมาครบ 50 ปีได้ร่วมกับพนักงาน และสมาชิกครอบครัว จัดกิจกรรม “มาช่วย..ด้วยรัก” เป็นปีที่ 7 ครั้งที่ 11 เพื่อปลูกปะการัง และทำความสะอาดชายหาดแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และมอบเงินสนับสนุนจำนวน 80,000 บาท ให้แก่ศูนย์อาสาบ้านดินไทย เครือข่ายจิตอาสา ภายใต้ร่มมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมปลูกปะการัง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งนำพนักงาน และสมาชิกครอบครัวกว่า 150 คน มาร่วมกันปลูกปะรัง และทำความสะอาดชายหาดแสมสาร สร้างสมดุลตามระบบนิเวศวิทยา ให้ปะการังเหล่านี้ได้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล อนุรักษ์ท้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์
การสูญพันธุ์ครั้งที่ 6 (The Sixth Extinction) กำลังคืบคลานมาแล้วจากใต้สมุทร หากเรายังไม่เห็นความเชื่อมโยงของปะการังที่มีต่อตัวเราเองและสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ร่วมอาศัย มันก็ยากที่เราจะเห็นอนาคตร่วมกับโลกใบนี้ เราอาจดิ้นรนได้ก็จริง เพราะมนุษย์เองก็เป็นนักปรับตัวที่ดีเยี่ยม แต่เราจะอยู่กันแบบไหนกัน เมื่อทะเลไทยไม่มีปะการังอีกต่อไป
อ้างอิงข้อมูลจาก
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/coral-bleaching08/#.WYA9W4iGM2w