หลังจากวันที่ 25 ม.ค. ที่ผ่านมา บอร์ดคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้มีมติถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดประเภท 5 โดยให้มีผลบังคับใช้ในอีก 120 วันหลังประกาศในราชกิจจาฯ (คือตอนนี้ยังเป็นยาเสพติดนะครับ)
ล่าสุดพรรคภูมิใจไทยได้ยืนร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ…. เข้าสู่สภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และวันนี้เราจะมาสรุปให้ฟังว่าร่างนี้นี้มีเนื้อหาสาระสำคัญ อย่างไรบ้าง
- ให้มี “คณะกรรมการกัญชง กัญชง” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน, เลขาฯ อย. เป็นเลขาฯ คณะ, และมีคณะกรรมการประกอบด้วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, เลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา, ผบ.ตร., อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, อธิบดีกรมการแพทย์, อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและทางเลือก, อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, อธิบดีกรมศุลกากร, อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, อธิบดีกรมสุขภาพจิต, อธิบดีกรมอนามัย, อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, เลขาฯ ป.ป.ส., นายกแพทย์สภา, นายกแพทย์แผนไทย และนายกสภาเภสัชกรรม รวมถึงให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 7 คน โดยต้องมาจากภาคเอกชน 3 คน โดยคณะกรรมทั้งหมดนี้มีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี
พูดง่ายๆ ว่าคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นทีมที่ดูแลเรื่องกัญชาทั้งในแง่การแพทย์, อุตสาหกรรม, วิจัยรวมถึงด้านอื่นๆ ต่อไปในอนาคต ที่สำคัญ ยังเป็นผู้กำหนดปริมาณของสาร THC ในกัญชาอีกด้วย ซึ่งข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ คณะกรรมการชุดนี้ล้วนเป็นด้วยตำแหน่งและการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีทั้งสิ้น
- การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขายต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้มีอำนาจ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดว่าอาจเป็นได้ทั้งภาครัฐ, ภาคเอกชนในและต่างประเทศ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งขึ้นอยู่กับ อย. เป็นผู้ตัดสินใจ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- การปลูกเพื่อใช้ในครัวเรือนจำเป็นต้องขอจดแจ้งจากผู้รับจดแจ้ง (กล่าวคือภาครัฐ) โดยใบจดแจ้งมีอายุ 1 ปี
- การขอจดแจ้งและอนุญาตมีค่าธรรมเนียม ดังต่อไปนี้
- ใบอนุญาตปลูก และผลิต (สกัด) มีอายุ 3 ปี ค่าธรรมเนียม 50,000 บาท
- ใบอนุญาตนำเข้ามีอายุ 3 ปี ค่าธรรมเนียม 100,000 บาท
- ใบอนุญาตส่งออก มีอายุ 3 ปี ค่าธรรมเนียม 10,000 บาท
- ใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกเฉพาะคราว ฉบับละ 20,000 บาท (นำเข้า-ส่งออกรูปแบบนี้ต้องขออนุญาตทุกครั้ง ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท)
- ใบอนุญาตจำหน่าย มีอายุ 3 ปี ค่าธรรมเนียม 5,000 บาท
- ค่าขออนุญาตหรือคำขออื่นๆ คำขอละ 7,000 บาท
- ค่าขึ้นบัญชีที่จะจัดเก็บจากองค์กรและผู้เชี่ยวชาญ องค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ รายละ 100,000 บาท
- ค่าตรวจสถานประกอบการ ครั้งละ 50,000 บาท
- การต่อใบอนุญาตเท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมนั้น
- ห้ามขายกัญชา กัญชงแก่บุคคลดังต่อไปนี้ มีอายุต่ำกว่า 20ปี, สตรีมีครรภ์, สตรีให้นมบุตร ยกเว้นได้รับอนุญาตจากแพทย์ ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับ 30,000 บาท
- พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเข้าไปตรวจสอบทั้งสถานที่และพาหนะ, ยึดกัญชากัญชงบางส่วนไปตรวจสอบ, หากมีความสงสัยว่าจะกระทำความผิดสามารถเข้าไปยึดและอายัดกัญชา กัญชง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ได้เลย
- บทเฉพาะกาลระบุว่า ภายใน 5 ปีที่กฎหมายนี้บังคับใช้ การนำเข้ากัญชง กัญชงสามารถทำได้เฉพาะเพื่อการแพทย์, ประโยชน์ราชการ และการศึกษาเท่านั้น
ทั้งนี้ ร่างฉบับนี้กำลังเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรจึงอาจมีการเปลี่ยนในรายละเอียดหลังจากนี้ได้ นอกจากนี้ ยังมีร่างอีกฉบับที่ อย. กำลังร่างและเตรียมยื่นเข้าสู่สภาเช่นกัน
อ่านร่างฉบับเต็มได้ที่: