ในการประชุมรัฐสภา ระหว่างการอภิปรายเพื่อโหวตนายกฯ คนที่ 30 วันนี้ (22 สิงหาคม) ชัยธวัช ตุลาธน สส.จากพรรคก้าวไกลกล่าวว่าในการโหวตเลือกนายกฯ ครั้งนี้ พรรคก้าวไกลไม่สามารถโหวตเห็นชอบได้ ซึ่งเหตุผลก็ไม่ใช่เรื่องของคุณสมบัติของผู้ถูกเสนอชื่อ [เศรษฐา ทวีสิน] แต่เป็นเหตุผลที่มองว่าการจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็นการจัดตั้งรัฐบาลที่ขัดต่อเจตจำนงของประชาชนที่ได้แสดงออกไปแล้วอย่างตรงไปตรงมาในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ว่าประชาชนส่วนใหญ่ ต้องการยุติรัฐบาลและระบบการเมืองที่สือบทอดอำนาจที่มาจากรัฐประหารของ คสช.
พวกเราพรรคก้าวไกล เห็นว่า “การจัดตั้งรัฐบาลที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ไม่ใช่การพยายามที่จะสลายขั้วความขัดแย้งเพื่อให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อ แต่มันคือการต่อลมหายใจให้กับระบบการเมือง ที่ คสช.วางไว้และต้องการดำเนินสืบไป” ชัยธวัชกล่าว
ชัยธวัชยังระบุอีกว่า หลายคนบอกว่าการจัดตั้งรัฐบาลพิเศษที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ เป็นความจำเป็นทางการเมืองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ พรรคการเมืองและนักการเมือง ‘จำเป็นต้องกลืนเลือด จำเป็นต้องจ่ายต้นทุนทางการเมืองมหาศาลโดยมีวาระของประชาชนและวาระของประเทศเป็นตัวตั้ง’
แต่เขาก็อยากชวนให้ลองคิดใหม่ว่าแล้วอะไรคือราคา อะไรคือต้นทุนที่ประชาชนและสังคมไทยต้องจ่ายบ้างให้แก่การจัดตั้งรัฐบาลแบบพิเศษที่เป็นอยู่นี้
ประการแรก ชัยธวัชในนามของตัวแทนพรรคก้าวไกลเห็นว่า ราคาที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องจ่ายคือ ‘ความหวัง’ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา เคยเป็นวันแห่งความหวังของประชาชน หลายคนหวังว่าเสียงของพวกเขาจะทำให้การเมืองไทยออกจากระบบที่เป็นมรดกของรัฐประหารได้อย่างสันติ พวกเขาหวังว่าเสียงของพวกเขาจะทำให้การเมืองของไทยเดินหน้าไปสู่อนาคต ไม่ใช่เดินวนไปสู่อดีตอย่างที่เป็นอยู่ในยตอนนี้
ประการสอง ราคาที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องจ่ายคือ ‘อำนาจ’ ประชาชนเคยเชื่อจริงๆ ว่าในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดนั้นคืออำนาจของประชาน
กระทั่งเมื่อประชาชนออกไปใช้อำนาจโดยตนเองในวันเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา ปรากฏว่าการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง กลับกลายเป็น ‘การจัดตั้งรัฐบลาลแบบพิเศษ’ ที่อนุญาตให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้พอเป็นพิธี แต่ไม่มีวันยอมให้อำนาจเป็นของประชาชนจริงๆ นั่นคือราคาที่ประชาชนต้องจ่าย ปรากฏว่าประชาชนเพิ่งค้นพบว่าระบอบประชาธิปไตยในตอนนี้ เป็น ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีประชาชนเป็นไม้ประดับ’ ที่ประชาชนไม่ใช่เจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
ประการที่สาม ราคาที่ประชาชนส่วนใหญ่ต้องจ่ายคือ ‘ความศรัทธา’ การจัดตั้งรัฐบาลแบบพิเศษ กำลังทำให้สังคมสูญเสียต้นทุนทางสังคมที่สำคัญ นั่นคือความศรัทธาของประชาชนในระบอบรัฐสภา ความเชื่อมั่นศรัทธาของประชานเป็นพื้นฐานสำคัญของระบบประชาธิปไตย เมื่อใดที่ประชาชนหมดศรัทธาในระบอบรัฐสภาหรือสถาบันทางการเมืองใดๆ แล้ว นั่นย่อมเป็นอันตราย เป็นสัญญาณอันตรายต่อการเมืองของเรา
“ผมอยากจะฝากความหวังดี ไปยังท่านสมาชิกรัฐสภาทุกท่านว่า หัวใจของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือการปะทะขัดแย้งกันระหว่างอำนาจประชาชนที่แสดงออกผ่านการเลอกตั้ง กับอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน” ชัยธวัชกล่าว
จนถึงวันนี้ ประเทศไทยยังหาทางออกจากการเมืองตรงนี้ไม่ได้ และเราเห็นว่า ทางออกจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อนี้ ไม่ใช่การสลายขั้วความขัดแย้งอย่างผิวเผิน ด้วยการจัดตั้งรัฐบาลผสมพันข้ามขั้ว
ชัยธวัชกล่าวต่อว่า “แต่ทางออกที่เราต้องช่วยกันแสวงหาคือระบบการเมืงที่จะกลายเป็นฉันทามติใหม่โดยวางอยู่บนหลักการพื้นฐานสำคัญที่ว่า อำนาจสูงสุดต้องเป็นของประชาชน แล้วเมื่อไหร่ที่เรายังสยบยอม หรือต่อลมหายใจให้กับระบบที่เรียกกันว่าประชาธิปไตย แต่ตอบไม่ได้ว่าประชานอยู่ตรงไหนในระบบนี้ เราจะไม่มีทางหาทางออกหรือสลายความขัดแย้งได้”
“เมื่อไรที่เรายังสยบยอม และต่อลมหายใจให้กับระบอบการเมืองที่บอกว่าเป็นประชาธิปไตย แต่ไม่ยอมเคารพอำนาจประชาชน เมื่อนั้น ประชาชนจะสูญสิ้นศรัทธาต่อระบบการเมืองของเราในที่สุด และมันสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรง ในทางการเมืองได้ในอนาคต นี่คือความหวังดีที่ผมอยากเรียนไปยังสมาขิกดรัฐสภา ว่าเราเองก็ไม่ได้อยากเห็นอนาคตแบบนี้” ชัยธวัชระบุ
“สุดท้ายอยากเรียน แน่นอนว่าผมทราบดีว่าประชาชนจำนวนมากกำลังผิดหวัง กำลังโกรธ หรือกำลังคับข้องใจกับการมืองที่เกิดขึ้น แต่ผมอยากจะเรียนพี่น้องประชาน…ว่า การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมามันได้สะท้อนแล้วว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่มันอาจจะยังเปลี่ยนไม่มากพอ ดังนั้น แม้ว่าท่านจะไม่พอใจ ท่านจะผิดหวัง ท่านจะคับข้องใจ แต่ขออย่าให้หันหลังให้กับการเมือง เราต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เข้ามามีส่วนรร่วมทางการเมือง และเปลี่ยนแปลงมันให้ได้เ ทำให้การเมืองของเรา ทำให้ระบอบประชาธิปไตยของเรา เป็นประชาธิปไตยจริงๆ ทำให้อำนาจสูงสุดของประเทศนี้เป็นของประชาชนจริงๆ” ชัยธวัชทิ้งท้าย
อ้างอิงจาก