วรภพ วิริยะโรจน์ สส.พรรคก้าวไกล อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจว่า “ผมขอเป็นตัวแทนของผู้ค่ารายย่อย (SMEs) ซึ่งผมเห็นว่ารัฐบาลชุดนี้แถลงนโยบายด้านนี้น้อยมาก จึงมีความกังวลว่าถ้ารัฐบาลมองวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เป็นแค่ภาพกว้างแต่ไม่ได้ลงลึกลงไปที่ปัญหา และคิดว่าการกระตุ้นและแจกเงินเพียงครั้งเดียวจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น จริงๆ แล้วแทบจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จึงขออภิปรายดังนี้”
1. อยากให้รัฐบาลทบทวนเงื่อนไขต่อนโยบายต่างๆ เพื่อให้เงินเข้าถึงผู้ค้ารายย่อยมากขึ้น เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ในเศรษฐกิจด้วย “ผมอยากให้ทบทวนเรื่องเงื่อนไขนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตโดยการให้ประชาชนใช้กับแค่ร้านรายย่อยเท่านั้นและตัดเงื่อนไข 4 กิโลเมตรออกไป มันถึงจะเป็นการกระจายเม็ดเงินจริงๆ เพราะเงินจะหมุนเวียน นอกจากนี้ ยังตอบโจทย์กับสิ่งที่รัฐบาลผลักดันมากกว่า และคนยังจะหันมาช่วยอุดหนุนร้านรายย่อยมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งดีกว่าให้งบไหลไปให้เจ้าสัวหรือผู้ค้ารายใหญ่หมด”
2. สินเชื่อที่ปล่อยให้รายย่อยน้อยลง แต่การปล่อยสินเชื่อให้กลุ่มทุนใหญ่กลับมากขึ้น ซึ่งเป็นความไม่เท่าเทียมในการแข่งขัน และทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำยยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อ SMEs (บสย.) งบประมาณ 30,000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้ แต่ไม่มีในคำแถลงนโยบาย “แต่อยากให้รายย่อยสามารถกู้สินเชื่อในระบบได้ ไม่งั้นพวกเขาก็ต้องไปกู้นอกระบบ เท่ากับว่าประชาชนจะได้รับเงินดิจิทัลฯ จริง แต่คนที่ได้รับผลประโยชน์มากสุดก็ยังเป็นกลุ่มทุนรายใหญ่อยู่ดี”
3. แก้หนี้นอกระบบ รัฐบาลต้องมีมาตรการพิเศษต่อลูกหนี้เสียจากโควิด-หักบัญชี ผ่อนรายวัน/สัปดาห์, และเน้นตำรวจ กระบวนการยุติธรรม และกรมสรรพากรช่วยเจรจาปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ไม่เพียงเท่านั้น ควรนิรโทษกรรมเจ้าหนี้นอกระบบด้วยการที่รัฐเข้าไปช่วยเจรจา ดังนั้น สิ่งเหล่านี้ คือ การปรับโครงสร้างหนี้อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นความคาดหวังของประชาชนต่อรัฐบาลชุดใหม่
4. แก้หนี้เสียจากวิกฤตโควิด โดยการที่รัฐบาลเสนอนโยบายพักชำระหนี้ เขาบอกว่า “มันจะช่วยบรรเทาแต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกหนี้หลุดพ้นปัญหาหนี้สินจริงๆ ซึ่งผมอยากให้รัฐบาลเน้นไปที่การปลดหนี้มากกว่าด้วยการแก้ไขกฎหมาย ลูกหนี้ SMEs, บุคคลธรรมดามีสิทธิขอฟื้นฟูกิจการ, เจราจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกรายพร้อมกันได้ และอยากให้มีธนาคารรัฐทุกแห่งใช้กฎเดียวกันว่าถ้าคนไหนเป็นลูกหนี้ดีก็เงินต้นก็จะลดลง ทำให้คนที่เป็นหนี้มีกำลังใจ”
5. รื้อกฎหมาย เพื่อทลายการผูกขาดและระเบียบล้าสมัย ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายที่ไม่จำเป็น ซึ่งสิ่งที่ควรจะทำคือ รับฟังจากภาคเอกชนโดยตรงว่ากฎหมายไหนไม่จำเป็นก็เอาออกทันที “เพราะกฎหมายล้าสมัยทำให้เกิดระบบส่วยและอุปถัมภ์ โดยเขายังถามย้ำว่ารัฐบาลจะกล้าแก้กฎหมายการผูกขาดสินค้า เช่น สุรา ข้าว และไข่หรือไม่?”
อ้างอิงจาก