เคยไหม ที่คุยกับเพื่อนร่วมงานอยู่แล้วก็ได้แต่คิดในใจว่า ‘เขาพูดภาษาอะไรของเขานะ?’
หากบางครั้งที่รู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานที่อายุมากกว่าหรือน้อยกว่ากำลังพูดภาษาอื่น ทั้งๆ ที่ฟังดูแล้วมันก็ดูเหมือนจะเป็นภาษาไทย นั่นก็เป็นเพราะไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ในเจเนอเรชั่นของเราก็จะมีคำศัพท์เฉพาะหรือคำสแลงที่ฟังแล้วก็ดู ‘สมเหตุสมผล’ สำหรับตัวเราเอง แต่สำหรับคนต่างเจน ก็ไม่วายอาจต้องเกาหัวแกรกๆ แล้วได้แต่นึกสงสัยว่า ‘เขาต้องการสื่อว่าอะไรกันแน่?’
ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในด้านความสัมพันธ์ส่วนตัวเท่านั้น เพราะจากการใช้คำศัพท์เหล่านั้น ก็ยังก่อให้เกิดความสับสนในการสื่อสารในที่ทำงานด้วยเช่นกัน
อ้างอิงจากรายงานของ ‘Preply’ แพลตฟอร์มเรียนภาษาออนไลน์ ที่ศึกษาการใช้คำสแลงใน Google Trends สหรัฐฯ และจากการสำรวจชาวอเมริกันกว่า 1,000 คน ทั้งยังได้ศึกษาเรื่องการใช้คำสแลงในที่ทำงาน พบว่า
– 30% ของพนักงาน Gen X ยอมรับว่าพวกเขามีปัญหาในการทำความเข้าใจเพื่อนร่วมงานรุ่นมิลเลนเนียลและ Gen Z
– พนักงาน Gen Z เกือบ 25% ยอมรับว่าพวกเขาต้องใช้ความพยายามทำความเข้าใจเพื่อนร่วมงานที่มีอายุมากกว่า
– ในทางกลับกัน 28% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลยอมใช้คำสแลงของ Gen Z เพื่อปรับตัวให้เข้ากับเพื่อร่วมงานที่อายุน้อยกว่าได้
รายงานของ Preply ยังระบุถึงแหล่งการเรียนรู้คำศัพท์ของคนต่างเจน เพื่อเป็นตัวช่วยให้พวกเขาสามารถสื่อสารในที่ทำงานได้ดีขึ้น พบว่า
– พนักงาน Gen X จะใช้วิธีการพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อยกว่า เมื่อพวกเขาต้องการเรียนรู้คำศัพท์ของคนรุ่นใหม่
– พนักงานที่เป็นคนรุ่นมิลเลนเนียลจะหันไปใช้วิดีโอบน YouTube เพื่อเรียนรู้คําแสลงที่ไม่รู้จัก
– ส่วนพนักงาน Gen Z จะเลือกใช้ TikTok เพื่อดูคลิปทำความเข้าใจคำสแลงของคนรุ่นก่อน
Preply ยังได้สำรวจคำสแลง 100 อันดับแรกบน Google Trends ทั่วทั้ง 50 รัฐและใน 50 เมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งก็พบว่า จำนวน 70 คำนั้น เป็นคำสแลง ‘โบราณ’ และอีก 30 คำ เป็นคำสแลงสมัยใหม่
สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ Preply สำรวจเรื่องการใช้คำสแลงนั้น เป็นชาวอเมริกัน 1,043 คน ในจำนวนนี้ เป็นคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์จำนวน 12%, Gen X จำนวน 25%, คนรุ่นมิลเลนเนียลจำนวน 52% และ Gen Z อีก11%
รายงานฉบับเต็ม: preply.com
อ้างอิงจาก