นักวิจัยเตรียมหารือ สำรวจดวงจันทร์ “เอนเซลาดัส” (Enceladus) หาร่องรอยสิ่งมีชีวิตครั้งสำคัญ!
“สถานที่นอกโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตมากที่สุดในระบบสุริยะ” คือคำนิยามที่ NASA มอบให้กับดวงจันทร์น้ำแข็งอันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ “เอนเซลาดัส” (Enceladus) หลังจากพวกเราเรียนรู้ปริศนาของดาวดวงนี้มามากพอจากระยะไกลด้วยยานสำรวจ Cassini ที่โคจรอยู่รอบดาวเสาร์ซึ่งจะสิ้นสุดภารกิจภายในปี 2017
ทีมนักวิทยาศาสตร์เริ่มเห็นความเป็นไปได้ที่จะทำภารกิจใหม่ โดยการส่งยานสำรวจเพื่อค้นหา ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตอย่างใกล้ชิด เนื่องจากดวงจันทร์มีหลักฐานการปรากฏน้ำอยู่อย่างชัดเจน และมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต
ประเด็นที่น่าสนใจคือ การเก็บตัวอย่างจะไม่ใช่การ “ลงจอด”
แต่เป็นการ “บินผ่าน” น้ำพุเย็น (Geyser) ที่มีอยู่มากกว่า 90 จุด ด้วยยานสำรวจเฉพาะกิจ เพื่อเก็บตัวอย่างละอองน้ำและผลึกน้ำแข็ง นำมาสังเคราะห์หาร่องรอยองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต การสำรวจครั้งนี้จึงยากว่าและท้าทายกว่าการลงจอดแบบธรรมดา (แพงกว่าอีกต่างหาก)
“จะเก็บตัวอย่างจากพื้นผิวไปเพื่ออะไร เมื่อของเจ๋งๆมันอยู่ใต้เปลือกน้ำแข็ง” Chris McKay นักวิจัยของ NASA โครงการ Ames Research Center กล่าว
การเก็บตัวอย่างจากละองน้ำพุอาจได้ผลดีกว่าการลงจอด เพราะแรงดันของน้ำผุไกเซอร์จะดันของเหลวที่อยู่ใต้เปลือกน้ำแข็งขึ้นมา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งมีชีวิตสูงกว่าวิธีการเดิมๆ
ในเดือนหน้า NASA กำลังรวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา อาทิ นักสมุทรศาสตร์ นักเคมีอินทรีย์ และชีวดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง Berkeley และ California เพื่อหารือและจัดทำเป็นข้อสรุปก่อนดำเนินการขั้นต้น ซึ่งยังไม่ระบุกำหนดการของภารกิจจริง
ไม่ต้องพบสิ่งมีชีวิต แต่พบ “ร่องรอย” การมีชีวิต
แค่นี้ก็ NASA ก็ยิ้มแก้มปริแล้ว!
ที่มา – http://www.scientificamerican.com/article/excitement-builds-
for-the-possibility-of-life-on-enceladus/
ภาพ – NASA