ก่อนหน้านี้พวกเราทราบกันแล้วว่า “ตุ่นหนูไร้ขน” (Naked mole-rat) มีความมหัศจรรย์ของร่างกาย เมื่อมันมีภูมิต้านทานมะเร็งระดับขั้นเทพ แม้ตัวมันเองจะสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) โดยตรงแล้วก็ตาม โมเลกุลที่ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่น สามารถหยุดยั้งเนื้อร้ายได้อย่างรวดเร็ว และตุ่นหนูไร้ขนมีอายุยืนยาว 10 เท่ากว่าสายพันธุ์สัตว์ฟันแทะอื่น(เฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป)
เป็นไปได้ไหมที่มนุษย์จะดึงความมหัศจรรย์นี้มาใช้ประโยชน์?
งานนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของ 2 มหาวิทยาลัย Hokkaido และ Keio ของญี่ปุ่น ทีมวิจัยทดลอง “รีโปรแกรม” เซลล์สร้างเส้นใยไฟโบรบลาสต์ (fibroblast) จากตุ่นหนูไร้ขนเพศผู้ ให้กลายเป็นเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนไอพีเอส (iPS cell) ซึ่งสามารถทำให้เป็นเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกายอะไรก็ได้
หลังจากทดลองในหนูที่มีระบบภูมิคุ้มกันย่ำแย่ แต่ปรากฏว่าเนื้อร้ายในร่างกายหนูก็ไม่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้น เปิดประตูความเป็นไปได้ให้นักวิจัยตื่นเต้นกันอีก
พวกเขาหวังว่างานวิจัยนี้จะทำให้เราเปิดพื้นที่ใหม่ๆในการต่อกรกับโรคมะเร็งได้ปลอดภัยมากกว่ารักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) ที่เหมือนกราดยิงเซลล์ดีและเซลล์ร้ายให้ตายตกไปพร้อมๆกัน
“เจ้าหนูตุ่นไร้ขน” อาจทำให้เราเห็นความหวังจากโพรงดินอันมืดมิดก็ได้
ที่มา- http://www.nature.com/ncomms/2016/160510/ncomms11471/full/ncomms11471.html
ภาพ – sandiegozoo.org