คุณคิดว่าคุณเป็นคนมีเหตุผลไหม? อะไรที่ทำให้คุณตัดสินใจแบบนี้หรือลงมือทำสิ่งนั้น? แม้อารมณ์ ความคิด การตัดสินใจ และการกระทำของคนเราจะเป็นสิ่งแสนซับซ้อน จนบางทีแม้แต่เรายังไม่เข้าใจตัวเอง
แต่ก็มีศาสตร์อย่างจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมได้พยายามอธิบายหลายๆ อย่างไว้ ลองไปฟังแง่มุมที่น่าสนใจในทอล์กเหล่านี้ดู
1. คุณเชื่อเรื่องมนุษย์ต่างดาวหรือซาตานไหม? ทำไมหลายคนถึงมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่อีกหลายคนมองว่าเป็นสิ่งประหลาด? Michael Shermer ผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ มาเล่าให้เราฟังในทอล์กนี้ ว่ามีวิธีอะไรที่ทำให้เราหลงเชื่อและมองข้ามข้อเท็จจริงไปได้บ้าง
ลิงก์ : https://www.ted.com/talks/michael_shermer_on_believing_strange_things
2. หลายๆ อย่างในชีวิตคุณ คุณเป็นคนเลือกเองหรือเปล่า? Dan Ariely ยกตัวอย่างภาพลวงตาทางกายภาพและทางความคิดที่น่าสนใจหลายอย่างไว้ในทอล์กนี้ ซึ่งดูแล้วก็ต้องหันกลับมาทบทวนตัวเองอีกทีว่า นี่การตัดสินใจของเราเป็นของเราจริงหรือเปล่า
ลิงก์ :https://www.ted.com/talks/dan_ariely_asks_are_we_in_control_of_our_own_decisions
3. คุณคิดว่าคุณเป็นคนมองโลกในแง่ดี หรือมองโลกตามความเป็นจริง? Tali Sharot เล่าให้ฟังถึงงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า มีบางอย่างที่ทำให้สมองเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ในด้านดี ซึ่งมันก็เป็นทั้งอันตรายและประโยชน์ต่อเราได้ อยู่ที่เราจะจัดการมันอย่างไร
ลิงก์ : https://www.ted.com/talks/tali_sharot_the_optimism_bias
4. ในโลกที่ใครๆ ก็อยากเป็นคนที่ ‘เลือกได้’ แต่ Barry Schwartz กลับมองว่า การมีตัวเลือกบางทีก็ไม่ได้ทำให้เรามีอิสระมากขึ้น แต่จริงๆ กลับบีบอัดเรา ไม่ได้ทำให้เรามีความสุขมากขึ้น แต่อาจจะทำให้เราทุกข์มากกว่าเดิม ลองไปฟังทฤษฎีของเขาดูในทอล์กนี้
ลิงก์ : https://www.ted.com/talks/barry_schwartz_on_the_paradox_of_choice
5. Sheena Iyengar ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกของคนเรา และเรารู้สึกยังไงบ้างกับทางที่เราเลือกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ อย่างจะดื่มโค้กหรือเป็ปซี่ ไปจนเรื่องซับซ้อนอย่างเรื่องความสัมพันธ์ แต่จะมีสิ่งหนึ่งแน่นอนที่คุณจะเซอร์ไพรส์ในตัว Iyengar เมื่อได้ดูทอล์กนี้
ลิงก์ : https://www.ted.com/talks/sheena_iyengar_on_the_art_of_choosing
6. ความสุขในชีวิตคุณตอนนี้ มาจากประสบการณ์หรือความทรงจำกันแน่? แยกยากใช่ไหมล่ะ Daniel Kahneman ผู้ก่อตั้งวิชาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมจะอธิบายการรับรู้ความสุขที่แตกต่างกันของเราในทอล์กนี้ พร้อมการเชื่อมโยงไปถึงเศรษฐกิจ นโยบายสาธารณะ และความเข้าใจตนเอง
ลิงก์ : https://www.ted.com/talks/daniel_kahneman_the_riddle_of_experience_vs_memory
7. มีหลักเชื่อที่ว่าผลของการกระทำในปัจจุบัน จะเป็นตัวกำหนดตัวเราในอนาคต แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ ทำไมเราถึงตัดสินใจทำสิ่งที่ตัวเราในอนาคตต้องมานั่งเสียใจอยู่เสมอ? Dan Gilbert ยกการทดลองทางเศรษฐศาสตร์มาเพื่ออธิบายข้อสงสัยนี้ และมันอาจจะท้าทายสิ่งที่เราเคยเชื่อมาตลอด
ลิงก์ : https://www.ted.com/talks/dan_gilbert_you_are_always_changing