โฮ่ ฮี้ โฮ่!
แค่เสียงนี้มา หลายคนก็คงเข้าใจกันทันทีว่านี่คือเสียงประจำตัวของ เจ้าป่าทาร์ซาน เด็กน้อยที่ถูกฝูงลิงนำไปเลี้ยงไว้จนกระทั่งเขาเติบใหญ่แล้วกลายเป็นชายหนุ่มผู้สามารถเเอาชนะสรรพสัตว์ทั้งหลาย
อย่าจำสับสน เมาคลีอยู่กับหมาป่า ทาร์ซานอยู่กับลิงยักษ์ / Disney
ไม่ใช่ว่าถูกหมาป่าเลี้ยงแล้วย้ายไปเข้ากลุ่มลิงนะ หมาป่าเลี้ยงนั่นมัน เมาคลี !!!
แต่พอจะทราบกันไหมว่า ทาร์ซาน จริงๆ มีบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ (Viscount) ของอังกฤษ แล้วเขาใช้ภาษาอะไรในการคุยกับเหล่าสรรพสัตว์ เราจะรวบย่อรายละเอียดที่น่าสนใจให้รับฟังกันในประเด็นวันนี้
ชีวประวัติของทาร์ซานโดยสังเขป
ทาร์ซาน เป็นตัวละครที่ Edgar Rice Burroughs นักเขียนชื่อดังของอเมริกาสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1912 ชะตาชีวิตของเขาตามท้องเรื่อง เป็นลูกของชาวอังกฤษสองคนที่เสียชีวิตลงในป่า จนกระทั่งแม่ลิงลูกอ่อน Kala จากวงศ์ลิงใหญ่ Magani ที่ตั้งชื่อเด็กน้อยของสองมนุษย์ที่เสียชีวิตไปว่า Tarzan อันแปลว่า ผิวขาว (อย่าเพิ่งตกใจ ตามท้องเรื่องแต่งไว้ว่า Magani เป็นลิงที่ฉลาดพอจะสร้างภาษาของตนเอง และระบุไว้ว่านักวิทยาศาสตร์ในเรื่องยังไม่เคยค้นพบลิงยักษ์วงศ์นี้)
หลังจากถูกเลี้ยงดูในป่ามาจนถึงวัยหนุ่ม ทาร์ซานก็ได้พิสูจน์ตัวเองด้วยพลังระดับยอดมนุษย์ที่สามารถต่อลิงยักษ์ให้คว่ำได้ สื่อสารด้วยภาษาของ Magani เพื่อขอความช่วยเหลือจากสัตว์ต่างๆ และทักษะในการโหนเถาวัลย์นั้นก็บอกได้ ลิงหลายพันธุ์ก็ทำไม่ได้ ให้เรียกมนุษย์มาทำเหรออย่าหวังเลย
ต่อมาทาร์ซานก็ได้ช่วยเหลือ เจน พอร์เทอร์ (Jane Porter) โดยบังเอิญ สาวคนนี้ก่อนที่จะกลายเป็นคนรักและภรรยาในเวลาต่อมา ในช่วงที่พบเจนนี้เองที่ทาร์ซานได้พบว่าพ่อแท้ๆ ของเขาเองเป็น ไวเคาท์ให้เขาผู้เป็นบุตรได้รับตำแหน่งนี้ตกทอดชื่อเป็น Viscount Greystoke
ส่วนชื่อที่เขาใช้หลังจากแต่งงานกับเจนและกลับไปอยู่ที่อังกฤษก็คือ John Clayton ภายหลัง ทาร์ซาน กับ เจน ก็มีลูกด้วยกันหนึ่งคนชื่อว่า แจ็ค ที่ในนิยายเล่มหลังๆ เขาจะถูกลักพาตัวไปยังแอฟริกา จนหลงเข้าป่าไปพบกับฝูงลิง Magani และกลายเป็นบุตรแห่งพงไพรตามรอยพ่อ ทั้งยังได้ชื่อใหม่ว่า Korak ที่หมายความว่า นักฆ่า ที่ดุดันกว่าคนพ่ออยู่มาก
โลดแล่นจากสื่อสิ่งพิมพ์
ชีวิตอันโลดโผนของ ทาร์ซาน คงเริ่มต้นขึ้นไม่ได้หากไม่มีที่มา เราเชื่อว่าคนที่สุงอายุจะคุ้นเคยกับทาร์ซานจากภาพยนตร์หรือซีรีส์ฉบับเก่าของทางสหรัฐอเมริกา ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่สักหน่อยจะคุ้นเคยกับเวอร์ชั่นการ์ตูนที่ทาง วอลท์ ดิสนีย์ ที่มีเพลง You’ll Be In My Heart ประกอบอยู่
แต่ต้นฉบับดั้งเดิมของ ทาร์ซาน นั้นเป็นนิยายที่ถูกเขียนโดย Edgar Rice Burroughs นักเขียนชาวอเมริกาที่เขียนนิยาย Tarzan ไว้ตั้งแต่ปี 1912 ถ้านับจนถึงตอนนี้ ก็มีอายุปาเข้าไป 104 ปี ตัวนิยายที่ถูกแต่งไว้ก็ มีจำนวนเล่มหลักรวมกันทั้งหมด 24 เล่ม
นอกจากนิยายภาคหลักแล้วยังมีนิยายเล่มอื่นอีกจำนวนมาก เช่นเรื่องราวข้างเคียงแต่ไม่มีทาร์ซานปรากฏตัวในเนื้อเรื่อง / เรื่องที่ตัวผู้แต่งเขียนค้างไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต นิยายภาคต่อแบบได้รับอนุญาตอย่างถูกตามจากผู้ถือสิทธิ์ นิยายภาคต่อที่อาศัยภาวะสาธารณสมบัติ (เนื่องจากทาร์ซานไม่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์แล้วในบางประเทศ) ลากยาวไปถึงเนื้อเรื่องรีบูทใหม่ ที่ปรับให้ทาร์ซานอาศัยอยู่ในโลกปัจจุบันก็ยังถูกเขียนอยู่เช่นกัน
การผจญภัยในป่าที่มีเหล่าสรรพาสัตว์มากมายย่อมดึงดูดความสนใจผู้อ่านวัยเยาว์ ทาร์ซานจึงถูกนำมาเขียนเป็นการ์ตูนอยู่หลายครั้งเช่นกัน ไม่ว่าจะในแบบการ์ตูนช่องสำหรับหนังสือพิมพ์จนพัฒนามาเป็นฉบับคอมิก ด้วยความยาวของมันทำให้ลิขสิทธิ์ของทาร์ซานในอเมริกาโดนสับเปลี่ยนมือบ่อยครั้ง แม้แต่ค่ายใหญ่ๆ ในด้านการ์ตูนของอเมริกาอย่าง DC และ Marvel เองก็เคยจัดทำทาร์ซานมาแล้ว บางครั้งก็นำเอา ทาร์ซาน ไปแจมกับเรื่องอื่น อย่างเช่น Batman/Tarzan, Superman/Tarzan หรือแม้แต่ Tarzan VS Predator ที่ชวนให้คิดว่าคนเขียนดมอะไรมาก่อนแต่ง
ปัจจุบันนี้ สิทธิ์ในจัดทำการ์ตูนอยู่กับบริษัท Dark Horse Comics และตัวเว็บไซต์ทางการของทาร์ซานเองก็มีบริการให้ซื้อการ์ตูนให้อ่านกันด้วย
ส่วนการ์ตูนญี่ปุ่น จ้าวป่าทาร์จัง นั้น แค่หยิบยกเอาโครงเรื่องของทาร์ซานออกมาเขียน โดยปรับใส่มุกทะลึ่งตึงตังเข้าไป เช่น ให้ทาร์จังหนีบอัณฑะให้ยืดออกมาจนสามารถร่อนกลางอากาศได้แบบกระรอกบิน หรือการปรับให้เจนเป็นภรรยาสาวที่เดี๋ยวอ้วนเดี๋ยวผอมได้เป็นอาทิ
สู่สื่อภาพยนตร์ สื่อโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ
https://www.youtube.com/watch?v=IrAbUqNU2Ng
ภาพยนตร์ทาร์ซานฉบับแรกสุด ปัจจุบันเป็นสาธารณะสมบัติ
ด้วยอายุอานามของบทประพันธ์ที่มากกว่า 100 ปี จึงไม่แปลกที่จะมีการผลิตภาพยนตร์เกี่ยวข้องกับทาร์ซานมาแล้วมากกว่า 200 เรื่อง ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดถูกสร้างขึ้นในปี 1918 ในยุคนั้ยังเป็นยุคของภาพยนตร์เงียบ และนำส่วนหนึ่งของนิยายเล่มแรกมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์คนแสดงเท่านั้น แต่เนื้อหาหลายๆ อย่างในภาพยนตร์ฉบับนี้ก็ถูกใช้เป็นรากฐานของภาพยนตร์ฉบับอื่นที่ถูกสร้างในภายหลัง
เวลาดำเนินผ่านไปจนถึงปี 1932 เป็นปีที่ภาพยนตร์ Tarzan The Ape Man เข้าฉาย เวอร์ชั่นนี้อาจจะไม่ใช่เวอร์ชั่นแรกที่มีการพากย์เสียง แต่เป็นเวอร์ชั่นที่มีเสียงตะโกนของทาร์ซานที่คนคุ้นเคยที่สุดให้ฟังเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นทาร์ซานก็ถูกภาพยนตร์อีกหลายครั้ง
https://www.youtube.com/watch?v=a02Lz1e2xpA
ภาพยนตร์ทาร์ซานที่ถ่ายทำในประเทศไทยเกือบทั้งเรื่อง
ที่สมควรจะพูดถึงก็คงไม่พ้น Tarzan’s Three Challenges ที่ออกฉายในปี 1963 ที่เข้ามาถ่ายทำในเมืองไทย แต่เซ็ตฉากให้เป็นประเทศสมมุตที่ทาร์ซานนั้นถูกเรียกตัวมาให้ช่วยเหลือราชาองค์น้อยให้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์จากการท้าทายของตัวร้ายในเรื่อง
ซาน, ทาร์ซาน
อีกเรื่องที่ควรกล่าวถึงก็คือ Tarzan and the Valley of Gold ภาพยนตร์ที่ฉายในปี 1966 เป็นทาร์ซานที่ดูแปลกสักหน่อยเพราะได้รับอิทธิพลจากสายลับ 007 ที่กำลังมาแรงในยุคนั้น ทำให้ทาร์ซานฉบับนี้ใส่สูทและบุกตะลุยไปในหายๆ ประเทศเพื่อดับแผนร้ายของตัวร้ายระดับชาติ
ส่วนภาพยนตร์ The Lgend Of Tarzan ที่จะเข้าฉายในสัปดาห์นี้ เป็นการตีความใหม่อีกครั้ง โดยอ้างอิงเรื่องจากตอนที่ทาร์ซานกลับอังกฤษไปสักพักแต่ยังไม่มีลูกกัน
ด้านภาพยนตร์การ์ตูน ก็ถูกผลิตออกมาหลายเวอร์ชั่น ที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคงจะไม่พ้นเวอร์ชั่นของดิสนีย์ที่ฉายในปี 1999 ก่อนจะมีเวอร์ชั่นแบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิกที่ถูกสร้างโดยทีมงานจากประเทศเยอรมันในปี 2013 นอกจากภาพยนตร์แล้ว ก็มีการ์ตูนทีวีทาร์ซานออกฉายอยู่หลายเวอร์ชั่น ทั้งในแบบตีความอิงจากนิยายเดิม และแบบดัดแปลงจากภาพยนตร์ดิสนีย์
ฉากเปิดจากซีรีส์ทาร์ซานฉบับปีี 1966 นำแสดงโดน Ron Ely
เป็นเรื่องแปลกเล็กน้อยที่ภาพยนตร์ทาร์ซานนั้นค่อนข้างได้รับความนิยม แต่ในแบบซีรีส์ทีวีกลับอายุไม่ค่อยยืดนัก จะมีที่ถูกจดจำได้ก็เป็นเวอร์ชั่นที่นำแสดงโดย Ron Ely ที่ถูกชื่นชมเพราะเป็นนักแสดงที่เล่นบทสตันท์ต่างๆ ทั้งการห้อยโหนและการต่อสู้กับสัตว์ร้ายด้วยตัวเอง ส่วนอีกเวอร์ชั่นที่ฉายค่อนข้างยาว กลับเป็นเวอร์ชั่นร่วมทันของ ฝรั่งเศส-แคนดา-เม็กซิโก ที่ฉายยาวอยู่ 3 ปีเลยทีเดียว
นอกจากภาพยนตร์ อนิเมชั่น และซีรีส์ที่กล่าวถึงไปแล้ว ทาร์ซานยังเคยถูกดัดแปลงเป็นละครวิทยุ รวมถึงละครเวทีมาแล้วด้วย ส่วนฉบับเกมคอมพิวเตอร์นั้น ถ้าไม่นับเกมของทางดิสนีย์ที่เคยออกวางจำหน่ายมา 3 เกม และเป็นตัวละครรับเชิญในเกมอื่น เกมที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทาร์ซานเป็นตัวละครหลักกลับมีแค่เพียง 2-3 เกม บนเครื่องเกมรุ่นเก่าเทานั้น
ส่วนเกมอื่นๆ ที่หมายจะใช้ตัวละครของทาร์ซาน กลับยอมถอยทัพไปใช้ตัวละคร …คาดว่าค่าลิขสิทธิ์ตัวละครคงจะแพงน่าดูชม
เสียงตะโกนของทาร์ซาน
ที่มาของเสียงนี้บ้างก็อ้างว่าเป็นเสียงที่ถูกสร้างขึ้น แต่จากบันทึกหลายๆ อย่างบ่งชี้ว่า Johnny Weissmull นักแสดงที่รับบททาร์ซาน Tarzan the Ape Man ที่ฉายในปี 1932 เป็นคนสร้างมันขึ้นมาโดยปรับจากการร้องเพลงโห่แบบโยเดล การตะโกนแบบทาร์ซานนี้เครื่องหมายการค้า และ เครื่องหมายบริการ ด้วยล่ะ และน่าเสียดายนิดหน่อยที่ตัวอย่างหนัง The Legend Of Tarzan ไม่ได้ใช้เสียงแบบเดิมอย่างที่เคยใช้มา แต่มองอีกแง่การอัดเสียงใหม่ทดแทนอันที่ใช้มากว่า 80 ปีอาจจะดีก็ได้นะ
เรื่องของทาร์ซานที่เราอยากจับประเด็นมาเล่าก็คงมีเพียงเท่านี้ และเราก็เชื่อว่าเสน่ห์ของทาร์ซานยังคงอยู่ต่อไปตราบเท่าที่มนุษย์เรายังปกป้องพงไพรให้เหล่าสัตว์ป่าอยู่อาศัยกันด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก