อาศัย pain point ในใจคนธรรมดาสามัญที่ไม่ได้เกิดมาร่ำรวย คำโฆษณาในการชักชวนคนเข้าร่วม ‘แชร์ลูกโซ่’ จึงมักใช้คำโฆษณาว่า จะสร้างผลตอบแทนได้ดี ในเวลาอันรวดเร็ว
นับแต่แชร์แม่ชม้อยในปี พ.ศ.2527 มาจนถึงแชร์แม่มณี ปี พ.ศ.2562 ธุรกิจผิดกฎหมายอย่างแชร์ลูกโซ่ก็มีพัฒนาไปตามยุคสมัย มีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น แต่ยังจับจุดสำคัญในใจคนได้ เรื่อง ‘ทำเงินได้ดี ทำเงินได้เร็ว’ – จากอ้างว่าทำธุรกิจรถขนน้ำมัน บ้านจัดสรร ทัวร์ในฝัน มาจนถึงลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง และจากใช้การบอกเล่าปากต่อปาก ก็ใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการตามหาสมาชิก
แม้ว่าแชร์ลูกโซ่ จะมีโทษตามกฎหมาย ทั้ง
– พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
– พ.ร.ก.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534
– พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542
ฯลฯ
แถมยังมีคนเคยถูกตัดสินให้จำคุกเป็นแสนปีมาแล้ว (ใช่, เราไม่ได้เขียนผิด 100,000 ปีจริงๆ) แต่คนที่ทำธุรกิจหลอกคนเช่นนี้ก็ยังมีอยู่ ยิ่งโผล่มาอย่างชุกชุมในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี
ในเวลาเดียวกัน ความจำเป็นต้องมีเงินทอง ความหวังอยากมีชีวิตแบบมั่งคั่ง ก็ทำให้คนจำนวนไม่น้อยกลายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพประเภทนี้ ที่ไม่น่ากำจัดให้หมดไปได้ง่ายๆ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://1359.go.th/…/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E…
https://library2.parliament.go.th/…/cont…/2558/jul2558-2.pdf
https://www.bbc.com/thai/thailand-39612824
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A168/%A168-20-9999-update.pdf
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A171/%A171-20-2534-001.pdf
Illustration by Waragorn Keeranan