เหตุการณ์ล้อมปราบในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 เต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม มีผู้เสียชีวิตกี่คน เกิดอะไรขึ้นบ้างก่อน-ระหว่าง-หลังเหตุการณ์วันนั้น ที่สำคัญใครควรรับผิดชอบความสูญเสียในเเหตุการณ์ดังกล่าว
หลายคำถามได้รับคำตอบแล้ว แต่หลายคำถามยังคลุมเครือ และบางทีคนที่จะตอบคำถามนั้นได้ดีที่สุดคือ คนที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลาเอง โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา ได้เปิดเผยรูปภาพส่วนหนึ่งเพื่อให้ช่วย ‘ตามหา (ย) คนในภาพ’ ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ร่วมกับเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งช่วงก่อน-ระหว่าง-หลัง เพื่อประกอบสร้างความทรงจำที่เลือนรางให้ชัดเจนยิ่งขึ้นแก่สังคมไทย
คืนแห่งชะตากรรม
ภาพนี้ถูกถ่ายในช่วงค่ำคืนวันที่ 5 ต.ค. ต่อเช้าวันที่ 6 ต.ค. 2519 บริเวณสนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเป็นภาพของหญิงสาวนอนหนุกตักชายหนุ่ม ขณะที่บนเวทีมีการปราศรัยอย่างดุเดือด และภายนอกพื้นที่มหาวิทยาลัยมีกลุ่มมวลชนฝ่ายขวา, กลุ่มกองกำลังสนับสนุนอำนาจรัฐ อาทิ ลูกสือชาวบ้าน, กระทิงแดง และเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดประจวบคิรีขันธ์ พร้อมอาวุธสงครามล้อมมหาวิทยาลัยอยู่
ไม่มีใครทราบว่าหนุ่มสาวทั้งคู่เป็นอย่างไร แต่ในเวลา 5.30 น. ของวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ระเบิดเอ็ม .79 ถูกยิงมาตกในสนามฟุตบอล และมีผู้เสียชีวิตทันที 4 ราย
หากใครทราบว่าชาย-หญิงดังกล่าวในภาพเป็นใคร ทำอะไรอยู่ สามารถติดต่อได้ที่ ‘โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา’ @October6MuseumProject
ยอม
ภาพนี้ถูกถ่ายขึ้นภายหลังกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐและมวลชนฝ่ายขวาได้บุกเข้ามาใน มธ. คาดว่าเป็นช่วงสายของวันที่ 6 ต.ค. 2519 บริเวณหน้าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ติดกับสนามฟุตบอล) โดยเป็นภาพของหญิงสาว 3 คน และเด็กชาย 1 คนที่ชูมือไว้เหนือหัวแล้ววิ่งออกมาจากตัวอาคาร คาดว่าต่อมาจะถูกบังคับให้นอนราบกับพื้นสนามฟุตบอล
หากใครทราบว่าหญิงสาว 3 คน และเด็กชาย 1 คนในภาพเป็นใคร ทำอะไรอยู่ สามารถติดต่อได้ที่ ‘โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา’ @October6MuseumProject
นาทีชีวิต
ภาพนี้ถูกถ่ายในเวลาใกล้เคียงกับรูป ‘ยอม’ แต่เป็นบริเวณหอประชุมใหญ่ ของ มธ. โดยเป็นภาพของชายคนหนึ่งที่นอนอยู่กับพื้น ข้างกายเขามีชายอีกคนนอนแผ่หลาอยู่ รอบตัวทั้งคู่ถูกล้อมด้วลูกเสือสามัญ 2 คน และชายอีกประมาณ 7 คน โดยไม่ทราบว่าเหตุการณ์ต่อจากนี้เป็นอย่างไร และเขาได้รับการปฐมพยาบาล หรือถูกพาตัวไปที่ไหน
หากใครทราบว่าชายที่นอนอยู่กับพื้น 1 คน และลูกเสือสามัญ 2 คนในภาพเป็นใคร ทำอะไรอยู่ สามารถติดต่อได้ที่ ‘โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา’ @October6MuseumProject
เหยี่ยวข่าวสารกับเหยื่อ 6 ตุลา
ภาพนี้ก็เช่นเดียวกับ ‘นาทีชีวิต’ และ ‘ยอม’ มันถูกถ่ายในช่วงสายของวันที่ 6 ตุลาคม 2519 แต่เป็นบริเวณถนนหน้าพระธาตุ หน้าพิพิธภัณฑแห่งชาติ โดยเป็นภาพของชายบาดเจ็บถูกหามมาในเปล และกู้ภัยคนหนึ่งที่กำลังแบกเปลของเขา ขณะที่หญิงสาวอีกคนที่ในมือมีกล้องถ่ายรูป ซึ่งคาดว่าเป็นนักข่าวกำลังเหมือนคุยอะไรกันสักอย่าง
หากใครทราบว่าชายที่นอนอยู่บนเปล ชายกู้ภัย และหญิงสาวที่ถือกล้อง ในภาพเป็นใคร ทำอะไรอยู่ สามารถติดต่อได้ที่ ‘โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา’ @October6MuseumProject
รอ
ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผู้ชุมนุมหลายคนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกพาตัวเข้าเรือนจำ หลายคนหลบหนีเข้าป่า หลายคนหายสาบสูญทิ้งไว้เพียงคำถามจากคนที่ยังอยู่ ในภาพดังกล่าวคาดว่าถูกถ่ายใน สน. แห่งหนึ่ง โดยเป็นภาพของหญิงสาว 7 คนที่รอคอยข่าวคราวของเพื่อน คนรัก หรือครอบครัวจากเจ้าหน้าที่ทางการ
หากใครทราบว่าหญิงสาวทั้ง 7 คน ในภาพเป็นใคร ทำอะไรอยู่ สามารถติดต่อได้ที่ ‘โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา’ @October6MuseumProject
ในปีนี้ โครงการพิพิธภัณฑ์ 6 ตุลาจะจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย ‘6 ตุลา เผชิญหน้าปิศาจ’ จำนวน 50-60 ภาพ ภายใต้ธีม ‘ปิศาจอยู่ในรายละเอียด (The devil is in the detail)’ ขึ้นระหว่างวันที่ 1 ต.ค. – 13 พ.ย. ณ KINJAI CONTEMPORARY โดยจะมีการนำภาพเหตุการณ์วันนั้นทั้งที่เคยเห็นผ่านตา และภาพใหม่จากช่างภาพมาจัดแสดง รวมถึงแต่ละวันจะมีกิจกรรมและวงเสวนาต่างกันออกไป
ย้อนอ่านเนื้อหาวงเสวนา ‘ซูมอิน 6 ตุลา สนทนากับช่างภาพ’ ได้ที่:
https://thematter.co/social/photographer-capture-oct-6/186419
เข้าไปดูตารางกิจกรรมนิทรรศการ 6 ตุลาเผชิญหน้าปีศาจได้ที่:
https://www.facebook.com/commonschoolth/photos/a.344473043411972/742970723562200/
ติดตามโครงการ 6 ตุลาเผชิญหน้าปีศาจได้ที่:
https://www.facebook.com/October6MuseumProject