แม้จะถกเถียงกันมาหลายปี แต่ทุกครั้งที่มีเหตุล่วงละเมิดทางเพศ ก็มักจะมีคนบางกลุ่มเกิดอาการที่เรียกว่า victim blaming คือโยนความผิดให้กับเหยื่อว่า เป็นเพราะแต่งตัวโป๊บ้าง? ไปอยู่ในสถานที่เสี่ยงเองบ้าง? ให้ท่าหรือเปิดโอกาสให้คนร้ายบ้าง?
The MATTER ขอสรุปคำถามสำคัญไว้ในภาพๆ เดียว อ้างอิงจากผลศึกษา งานวิจัย ข้อมูล หรือข้อกฎหมาย เท่าที่พอจะหาได้ เพื่อพิสูจน์ว่า ข้ออ้างที่ผู้คนมักกล่าวโทษ เหยื่อเวลาเกิดเหตุล่วงละเมิดทางเพศนั้น เป็น ‘ข้อเท็จจริง’ หรือเป็นเพียง ‘มายาคติ’ ที่ต่อเชื่อๆ กันมา
(1) ปูพื้น: อะไรคือการข่มขืน / อนาจาร / ล่วงละเมิดทางเพศ
ความผิดเกี่ยวกับเพศ ในประมวลกฎหมายอาญา จะมีคำที่ต้องรู้อยู่ 2 คำ นั่นคือ ‘ข่มขืน(กระทำชำเรา)’ และ ‘อนาจาร’ ซึ่งสิ่งที่หลายคนจะถามต่อก็คือ แล้วอะไรคือแตกต่างของคำ 2 คำนี้ล่ะ?
ศาลไทยได้วางหลักเอาไว้ในคำ พิพากษาของศาลฎีกาหลายๆ คดี โดยข้อแตกต่างก็คือ การที่อวัยวะเพศของจำเลยได้ เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเกินกว่า 1 องคุลี = 1 ข้อนิ้วหรือไม่ หากใช่ ถือว่า ข่มขืน (เช่น ฎีกาที่ 6345/ 2537) แต่ถ้าเพียงใช้อวัยวะเพศถูไถแค่ภายนอก หรือถูกลวนลาม กอดจูบ จับหน้าอก จับก้น ฯลฯ ให้ถือว่าเป็นเพียงความพยายามข่มขืน หรือกระทำ ‘อนาจาร’ เท่านั้น (เช่น ฎีกาที่ 117/2534)
อย่างไรก็ตาม หลังจากประมวลกฎหมายอาญาได้ รับการอัพเดท เมื่อปี 2550 การข่มขืนจะไม่ได้หมายถึงการใช้อวัยวะเพศเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ให้รวมถึง ‘สิ่งอื่น’ เช่น นิ้ว ลิ้น มือ อวัยวะเพศปลอม หรือวัตถุอื่นใด และไม่จำเป็นต้องกระทำแค่กับอวัยวะเพศของเหยื่อเท่านั้น แต่ให้รวมถึงทวารหนักและช่องปากด้วย
ส่วนคำว่า ‘ล่วงละเมิดทางเพศ’ แม้จะไม่ใช่ศัพท์ทางกฎหมาย แต่ก็มีการใช้กันในทางวิชาการอย่างกว้างขวาง ถึงจะมีหลายคนให้นิยามแตกต่างกันบ้าง แต่กล่าวโดยสรุปก็คือ ‘การทำกิจกรรมทางเพศโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม’ ซึ่งแน่นอนว่า หมายรวมไปถึงการข่มขืน (กระทำชำเรา) และอนาจารด้วยอยู่แล้ว
(2) คำถาม: แต่งตั้งโป๊เสี่ยงถูกข่มขืน จริงไหม
คำตอบคือ ไม่จริง เพราะไม่ว่าจะแต่งตัวอย่างไรก็มีความเสี่ยงหมด!
ผลการศึกษาของ กฤตยา อาชวนิจกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล ที่เปิดเผยต่อสาธารณะเมื่อปี 2557 ระบุว่า จากการตรวจสอบข่าวที่เกี่ยว กับความรุนแรงทางเพศย้อนหลังไป 13 ปี รวมกว่า 1.7 หมื่นข่าว ประมาณ 68% เป็นข่าวเกี่ยวกับการข่มขืน ซึ่งพบว่าเหยื่อมีอายุตั้งแต่ 8 – 105 ปี ในสถานที่เกิดเห็นต่างๆ กัน แสดงให้เห็นว่า คนทุกวัย ทุกอาชีพ ทุกระดับการศึกษา สามารถถูกข่มขืนได้หมด ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการแต่งตัว
“ความพยายามในการโยงการแต่ง ตัวกับการข่มขืนเป็นมายาคติ เป็นความเข้าใจผิดที่ควรเปลี่ยนได้แล้ว โดยเฉพาะเรื่องการตั้งคำถาม กับตัวผู้เสียหาย เพราะข้อเท็จจริงมันไม่ได้เกี่ยวกับความสวย หรือการแต่งตัว” กฤตยาระบุ
ส่วนข้อมูลหนึ่งที่คนชอบนำมาอ้างอิง คืองานวิจัยของอลิสา แสงขำ นักศึกษาปริญญาโท ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งอ้างว่าจากการสัมภาษณ์นักโทษคดีข่มขืนในเรือนจำบางขวางรวม 100 คน ได้ระบุว่า “87% ของผู้ข่มขืนมักเลือกเหยื่อ จากคนที่เสื้อผ้าถอดได้ง่าย ” จากการตรวจสอบย้อนหลัง ปรากฎว่า ทั้งงานวิจัยนี้รวมถึงตัวอลิสาเอง ‘ไม่มีอยู่จริง’ เป็นเพียงข้อมูลในฟอร์เวิร์ดเมล์ที่มีการแชร์ต่อๆ กันโดยไม่รู้ที่มานับสิบปี (หากใครไม่เชื่อไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลกับหอสมุด ม.ธรรมศาสตร์ได้ เพราะถ้างานวิจัยนี้มีจริงจะต้องอยู่เก็บไว้ในหอสมุดดังกล่าว)
(3) คำถาม: ใครมีโอกาสเป็นผู้ก่อเหตุข่มขืนมากที่สุด
บางคนอาจจะนึกถึงชายฉกรรจ์ หนวดเฟิ้ม ฐานะยากจน ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง เหมือนที่ละครหลังข่าวพยายามสร้างภาพนักข่มขืนว่าต้องเ ป็นคนแบบนี้ – ซึ่งเป็นคำตอบที่ผิด! เพราะคนที่มีโอกาสจะเป็นผู้ ข่มขืนที่สุด ก็คือ ‘คนใกล้ตัว’ หรือ ‘คนรู้จัก’ นี่เอง
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เก็บสถิติการข่มขืนในปี 2554 ของไทย จำนวน 158 ข่าว พบว่า 50% ผู้ก่อเหตุเป็นคนในครอบครัว (พ่อ พ่อเลี้ยง ตา พี่ชาย) หรือคนรู้จัก (เพื่อนบ้าน เพื่อน ครู พระภิกษุ) และมีเพียง 33% ที่กระทำโดยคนไม่รู้จัก
เช่นเดียวกับข้อมูลจาก TDRI ที่ระบุว่า เหตุข่มขืนในสหรัฐฯ เกิดขึ้นโดยสมาชิกในครอบครั วหรือคู่รักถึง 87% สำหรับอังกฤษและเวลส์ ผลสำรวจยังระบุว่า มีเพียง 10% เท่านั้นที่เกิดขึ้นโดยคนไม่รู้จัก
(4) คำถาม: สื่อมีผลต่อพฤติกรรมการข่มขืนมากน้อยแค่ไหน
มีผลศึกษาและงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่า สื่อมวลชน โดยเฉพาะละครที่ฉายทางทีวี มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ คน แม้กระทั่งพฤติกรรมด้านลบอย่างการข่มขืน เช่นในปี 2551 เอแบคโพลล์ เคยสำรวจพบว่า เด็กอายุระหว่าง 2 – 19 ปี จำนวนมากชอบดูฉากข่มขืนในที วี และโตขึ้นอยากเป็นพระเอกจะได้ข่มขืนนางเอกได้
ในปี 2556 มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เคยระบุว่า ละครไทยช่วยส่งเสริมการข่มขืนให้เห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา กลายเป็นการสร้าง rape culture ขึ้นมา
ที่ผ่านมา เคยมีหลายฝ่ายรณรงค์ให้ตัดฉ ากพระเอกข่มขืนนางเอกออกจาก ละครที่ฉายทางทีวี เพราะคนเข้าถึงได้ง่ายที่สุด แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่พบกับความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
(5) คำถาม: หากแก้กฎหมายให้โทษแรงขึ้น จะช่วยให้การข่มขืนหมดไปไหม
หลังเกิดเหตุฆ่าข่มขืนเด็กห ญิงบนรถไฟ เมื่อปี 2557 มีดารา นักแสดง และคนมีชื่อเสียงหลายคนร่วม กันรณรงค์ให้มีการแก้ไขประม วลกฎหมายอาญา ให้ผู้ที่ก่อเหตุข่มขืนต้อง ได้รับโทษ ‘ประหารชีวิต’ โดยไม่มีการลดโทษ แม้ว่าการข่มขืนในบางกรณีจะ มีโทษประหารชีวิตอยู่แล้ว (เช่น การข่มขืนแล้วฆ่า)
อิสร์กุล อุณหเกตุ นักวิจัยจาก TDRI ระบุว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายไ ม่ได้อยู่ที่บทลงโทษที่รุนแ รง แต่ขึ้นอยู่กับการบังคับใช้ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า โดยระหว่างปี 2552 – 2556 มีคดีข่มขืนกว่า 4 พันคดี ปรากฎว่าจับกุมผู้กระทำความ ผิดได้ 60% เท่านั้น ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงกรณีที่ผู้เสีย หายไม่แจ้งความ (อิสร์กุลคำนวณว่ามีผู้ก่อเ หตุข่มขืนที่ถูกจับกุมเพียง 8%)
ขณะที่ ธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ก็ออกมาเสนอแนะให้มองมุมกลั บด้วยว่า หากเพิ่มโทษข่มขืนต้องประหารในทุกกรณี จะส่งผลให้การข่นขืนทุกรายต้องฆ่าปิดปากเพื่อปกปิดการกระทำผิดของตน
เหล่านี้คืองานวิชาการเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะข่มขืน (กระทำชำเรา) หรืออนาจาร ซึ่งมีคนทำวิจัยไว้ทั่วโลกเ ป็นจำนวนมาก บางชิ้นก็ให้ผลที่แย้งกับสิ่งที่เราเคยคิด-เคยเชื่อ The MATTER เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยอยากให้ปัญหานี้หมดไป
แต่การแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศที่ดีที่สุดน่าจะอยู่บนพื้นฐานของ ‘ข้อมูล ‘เป็นหลัก มากกว่าความเชื่อผิดๆ มายาคติ หรืออาศัยเพียงสัญชาตญาณ
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://deka.in.th/ view-7365.html
http://www.matichon.co.th/ readnews.php?newsid=1411388 533
http://www.manager.co.th/ QOL/ ViewNews.aspx?NewsID=951000 0050150
https:// mediainsideout.net/cafe/ 2014/07/205
https://tdri.or.th/2014/ 07/rape-and-execute/
http:// www.bangkokbiznews.com/ news/detail/705599