สมัยนี้การอ่านไม่ได้จำกัดแค่ว่าต้องอยู่ในเล่มอีกต่อไป ทำให้คนเราสามารถอ่านได้ทุกที่ทุกเวลา น่าสนใจเหมือนกันนะว่าคนไทยใช้เวลาไปกับการอ่านมากน้อยขนาดไหนต่อวัน
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกันจัดงานแถลงข่าว ‘ผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี พ.ศ. 2561’ โดยเก็บข้อมูลจากจำนวนครัวเรือนตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือน ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2561
การอ่านในที่นี้รวมการอ่านผ่านสื่อออนไลน์ด้วย แต่ไม่นับข้อความสนทนา และนับเฉพาะช่วงเวลาพักส่วนตัว พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปมีตัวเลขการอ่านอยู่ที่ 78.8% หรือ 49.7 ล้านคน
ผลสำรวจแสดงให้เห็นถึงข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของเวลาที่ใช้ไปกับการอ่าน ภาพรวมอยู่ที่ 80 นาทีต่อวัน แต่ถ้าลงลึกไปอีกตามช่วงวัยของคนไทยจะเฉลี่ยดังนี้
วัยรุ่น 109 นาที/วัน
เด็ก 83 นาที/วัน
วัยทำงาน 77 นาที/วัน
สูงอายุ 47 นาที/วัน
นอกจากนี้แล้วยังมีข้อมูลด้วย ว่าคนไทยนิยมอ่านจากอะไรบ้าง โดยมีดังนี้
สื่อสังคมออนไลน์ 69.2%
หนังสือพิมพ์ 60.5%
ความรู้ทั่วไป 48.9%
วารสาร 40.3%
ศาสนา 38.1%
นิตยสาร 31.1%
หนังสืออ่านเล่น 29.7%
แบบเรียน 26.1%
คนไทยอ่านเพราะอะไร
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ 46.0%
เพื่อให้ทราบข้อมูลข่าวสาร 36.8%
สนใจอยากรู้ 30.5%
เพื่อความบันเทิง 28.5%
เพื่อการศึกษา 17.5%
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 9.1%
เพื่อหน้าที่การงาน 4.9%
ชอบอ่าน 3.4%
ในขณะที่ตัวเลขของคนไทยที่อ่านอยู่ที่ 78.8% ก็ยังมีคนที่ไม่อ่านอีก 21.2% คิดเป็นประชากรแล้วมากถึง 13.7 ล้านคน โดยเหตุผลที่พวกเขาไม่อ่านมีดังนี้
ชอบดูโทรทัศน์ 30.3%
ไม่ชอบหรือไม่สนใจ 25.2%
อ่านหนังสือไม่ออก 25.0%
สายตาไม่ดี 22.1%
ไม่มีเวลาอ่าน 20.0%
อ่านไม่คล่อง 12.7%
สุขภาพไม่ดี 5.0%
ฟังวิทยุ 3.7%
พิการ 2.7%
ไม่มีหนังสือ 2.3%
ไม่มีเงินซื้อ 0.9%
เล่นเกม 0.8%
ราคาแพงเกินไป 0.7%
หาอ่านยาก 0.7%
ใช้คอมพิวเตอร์ 0.3%
ข้อมูลสถิติแสดงถึงการใช้เวลาในการอ่านของคนไทยในช่วงปีที่ผ่านมา อาจทำให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นว่ามีปัจจัยไหนบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเหล่านี้
อ้างอิงข้อมูลจาก
ข้อมูลจากผลสำรวจการอ่านของประชากร ประจำปี พ.ศ. 2561 เก็บข้อมูลจากจำนวนครัวเรือนตัวอย่าง 55,920 ครัวเรือน ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2561 โดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park และสำนักงานสถิติแห่งชาติ