ถ้าเรื่องราวในอินเทอร์เน็ตไทยกลายเป็นเปเปอร์จะหน้าตาเป็นยังไง?
ในขณะที่เราอาจจะหยิบยกหัวข้องานวิจัยมาจากเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ แนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญในอดีต กรณีศึกษาที่อาจอธิบายอะไรเกี่ยวกับโลกปัจจุบันของเราได้ ฯลฯ แต่บางครั้งเหตุที่เรามองเห็นถึงความสำคัญของหัวข้อเหล่านั้นมาจากระยะห่างของเราจากเหตุการณ์ ผู้คน และแนวคิดเหล่านั้น ห่างพอที่เราจะได้เห็นผลกระทบของมันต่อโลกปัจจุบันของเรา
แต่ถ้าอย่างนั้นเราลองมาออกกำลังกายความคิดของเราเล่นๆ ว่า ถ้าเรื่องเล็กๆ ที่เราเห็นผ่านตาบนอินเทอร์เน็ตจะสามารถกลายไปเป็นหัวข้องานวิจัยได้หรือเปล่า?
*งานวิจัยต่อไปนี้เป็นเรื่องแต่งและไม่เคยถูกจัดทำขึ้นจริง อาจมีการใช้ภาษาที่ไม่ทางการ หรือรูปแบบการเขียนที่ไม่ถูกต้อง*
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการกินกับประวัติศาสตร์อาหารและวัฒนธรรมการกิน กรณีศึกษาผัดกะเพราใส่ถั่วฝักยาว
สูตรดั้งเดิมกับความถูกปากเกี่ยวกันมากขนาดไหน? พาสต้าใส่ครีมสด พิซซ่าใส่สัปปะรด ผัดกะเพราใส่ถั่วฝักยาว สูตรไหนคือสูตรดั้งเดิม สูตรไหนคือสูตรยอดนิยม?
‘สิ่งที่ควรทำก่อนอายุ 30 ปี’ สำรวจอายุคาดเฉลี่ยของประชากรไทยใน พ.ศ.2565
ช่วงวัย พ.ศ.2565 : วัยเด็กเริ่มที่ 2 ขวบ วัยรุ่นเมื่อ 10 ขวบ เป็นผู้ใหญ่เมื่อ 20 วัยกลางคนที่ 30 ปี ทำไมต้อง 30? และทำไมเราต้องมีจังหวะชีวิตเหมือนกันทุกคน?
ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยหลังปี พ.ศ.2550 ผ่านตำนานหอแต๋วแตกโดยกวีเอก พชร์ อานนท์
ถ้าพูดถึงหอแต๋วแตกจริงๆ ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปก็เป็นตำนานไปแล้วจาก ‘พยูนไม่ได้ฆ่า’ แต่น่าคิดว่าผู้คนในอนาคตจะหันมามองหนังของพชร์ อานนท์แบบเดียวกันกับที่เรามองโรบินฮูด หรือคิงอาเธอร์หรือเปล่า?
การทดสอบปรากฏการณ์ ‘ทัวร์ 4 โมง’ ในประเทศไทยด้วยวิธีโพสต์ล่อเป้า
เอนเกจเมนต์พุ่งสูงหลัง 4 โมงเย็น ต้องเป็นเพราะคนส่วนมากเคลียร์งานเสร็จแล้วรึเปล่านะ?
การวิจัยเพื่อศึกษากิจกรรมที่คนเลือดกรุ๊ปบีสามารถทำได้
ดูก่อนแปลว่าไม่ไป เดี๋ยวบอกแปลว่าเงียบจนถึงวันนัด เช็กตารางก่อนแปลว่าขอเวลาไปภาวนาให้มีงานชนวันนั้นพอดี ส่วนฉันไปกินหมูกระทะด้วยไม่ได้หรอก เพราะฉันเลือดกรุ๊ปบีแปลว่าอะไร?