เมื่อถึงเทศกาลสำคัญทั้งทางโลกและทางศาสนา เช่น เข้าพรรษา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา ปีใหม่ ลอยกระทง ไปจนถึงสงกรานต์ เรามักจะได้พบกับแคมเปญโฆษณาใหม่ๆ ของ สสส. ที่ออกมารณรงค์ถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ทางสุขภาพ และเชื่อหรือไม่ว่า นับแต่ก่อตั้งมาในปี 2544 สสส. คิด keyword ต่างๆ มาสร้างเป็นแคมเปญรณรงค์ในเทศกาลสำคัญไปแล้ว มากกว่าหนึ่งร้อยคำ (หรือวลี) !
The MATTER ย้อนกลับไปรวบรวม keyword บางส่วนที่ สสส. ใช้ในการผลิตสื่อโฆษณาเพื่อรณรงค์ประเด็นต่างๆ ตั้งแต่ปี 2544 – 2561 เพื่อจัดกลุ่ม แบ่งหมวดหมู่ และพยายามวิเคราะห์ว่า ในการรณรงค์แคมเปญต่างๆ สสส. ใช้วิธีการใดเพื่อผลักดันประเด็นเหล่านั้น จนออกมาเป็นโฆษณาดังที่ทุกๆ คนได้เห็น
เตรียมตัวกันให้พร้อม สวมหมวกกันน็อค แกว่งแขนขยับร่างกาย งดดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ และตามเข้ามาดูกันเลย
2544
“เลิกเพราะลูก”
“งดเหล้าช่วงเข้าพรรษา”
“เทศกาลเมาไม่ขับ”
“เด็กไทยรู้ทัน”
2545
“โรงเรียนแสนสุข”
“เด็กไทยรู้ทัน”
“ชีวิตสาธารณะ-ท้องถิ่นน่าอยู่”
“แต้มสี เติมฝัน จากพี่แด่น้อง”
2546
“กีฬาปลอดบุหรี่”
“เพราะรักจึงจับ”
2547
“ไม่ดื่ม ไม่เมา ไม่ขาดสติ”
“งดเหล้า เข้าพรรษา”
“บุหรี่: ยิ่งสูบ ยิ่งจน”
“คำบุหรี่ของพ่อ หนูขอนะ”
“เลิกบุหรี่ เพื่อลูก”
“คนรุ่นใหม่สนุกได้ ไม่มีแอลกอฮอล์”
“งดเหล้าปีใหม่”
“ลดสุราเพื่อป้องกันอุบัติภัย”
“ทอดกฐินปลอดเหล้า”
2548
“จน เครียด กินเหล้า”
“เลิกเหล้า เลิกเครียด เลิกจน”
“งดเหล้าเข้าพรรษา”
“กฐินปลอดเหล้า”
“ปีใหม่ไร้แอลกอฮอล์”
“กระเช้าปีใหม่ไร้แอลกอฮอล์”
“รับน้องปลอดเหล้า”
“น้องพี่วัดใจ ไร้แอลกอฮอล์”
“เพิ่มพลังกาย ลดใช้พลังงาน”
“ตั้งสติ ก่อนสตาร์ท”
“เมาแล้วขับ ไม่ใช่แค่ปรับ จะถูกคุมประพฤติ”
“7 วันอันตราย”
“เมาไม่ขับ”
“วัยมันส์รู้ทันแอลกอฮอล์”
“เลิกเหล้ายุติความรุนแรง”
“วัดปลอดเหล้า”
2549
“รักน้องจริง อย่าชวนน้องดื่ม”
“รับน้องปลอดเหล้า”
“งดเหล้าเข้าพรรษา”
“บ้านปลอดบุหรี่”
“โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม”
“เด็กไทยไม่กินหวาน”
“ชุมชนเป็นสุข”
“ขจัดร้าย ขยายดี มีภูมิคุ้มกัน”
“ปีใหม่ สนุกได้ไร้แอลกอฮอล์”
“เลิกเหล้า เลิกจน เริ่มต้นเข้าพรรษานี้”
“จน เครียด กินเหล้า”
“เมาแล้วขับ ถูกจับแน่”
2550
“แค่ขยับ = ออกกำลังกาย”
“รักน้องจริง อย่าชวนน้องดื่ม”
“เลิกเหล้าเลิกจน”
“หยุดเหล้าหยอดกระปุก”
2551
“งดเหล้าเข้าพรรษา”
“กฐินปลอดเหล้า”
“วัดปลอดเหล้า”
“หยุดเหล้า หยอดกระปุก”
“สงกรานต์สนุกได้ ไร้แอลกอฮอล์”
“ไม่ซ้อนคนดื่ม”
“ดื่มไม่ขับ โทรไม่ขับ ขับไม่ซิ่ง”
“ทำดีง่ายๆ เริ่มต้นที่ร่างกายแข็งแรง”
“โอกาสออกกำลังกายมีเสมอ”
“แค่ขยับ = เริ่มออกกำลังกาย”
“คนไทยไร้พุง”
2552
“อย่าโทษซวย โทษตัวเอง”
“พรรษานี้ ชวนพ่อแม่เลิกเหล้า”
“สุขเลิกเหล้า”
“ไม่ดื่ม ไม่ขาย”
“ดื่มแล้วขับ ถูกจับแน่”
“เลี้ยงเหล้าในงานบุญ = บาป”
“อ้วนลงพุง”
“หนึ่งเสียงยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง”
“ดูแลตัวเอง ป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009”
“รวมพลังสู้หวัด”
“คนไทยไร้พุง”
2553
“กินเหล้า = กินแรง”
“หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่”
“รักดีไม่ดื่ม ไม่โดดเดี่ยว”
“ให้เหล้าเท่ากับแช่ง”
“สวดมนต์ปีใหม่ ชีวิตใหม่ ไร้แอลกอฮอล์”
“ไม่ขาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวันวิสาขบูชาโลก”
“ลอยกระทงปลอดเหล้า บุญจะส่งให้เราสุขใจ”
“อร่อยได้ ไร้แอลกอฮอล์”
“สงกรานต์ปลอดภัย สนุกสุขใจ ไร้แอลกอฮอล์”
“ดื่มแล้วขับ ถูกจับขึ้นศาล มีสิทธิ์ติดคุก”
“ไม่ใส่หมวกกันน็อค ไม่ได้น็อคคนเดียว”
“เท่ห์ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย 100%”
“เมาไม่ขับ”
“ชวนกันขยับทั้งประเทศ”
2554
“รักวัวให้ผูก รักลูกให้สวมหมวกกันน็อค”
“กันน็อค กันตาย”
“ไม่ได้สวมหมวกกันน็อค ไม่ได้น็อคคนเดียว”
“ปีใหม่ ไม่ให้เหล้า”
2555
“บุหรี่ติดง่าย แต่เลิกยาก”
“ให้เหล้าเท่ากับแช่ง”
“อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่เหล้า”
“ถึงไม่เมา เหล้าก็ทำร้ายคุณได้”
“รู้ทันเหล้า ก็เลิกทันการณ์”
“วันพระใหญ่ งดขาย งดดื่ม”
“สงกรานต์ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์”
“ดื่มแล้วขับ รับไม่ได้”
“ยาเส้น อันตรายเท่ากับบุหรี่”
“ยาเส้น มะเร็งทั้งบ้าน”
“จุดบุหรี่ จุดมะเร็ง”
“เรื่องเพศคุยได้”
“รักจริง รอได้”
“บอลจบหนี้พนันไม่จบตาม”
2556
“ลดพุง ลดโรค”
“งดเหล้าเข้าพรรษา”
“ให้เหล้า = แช่ง”
“ยาเส้น ที่มีอันตรายเท่าบุหรี่ซอง”
“การดื่มแล้วขับ รับไม่ได้”
“ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก”
2557
“เพิ่มการขยับ ลดพุง ลดโรค”
“ลุกขึ้นปกป้องตัวเอง ร่วมก้าวข้ามความรุนแรง”
“ช่วยชม ให้กำลังใจ งดเหล้าครบพรรษา”
“ของขวัญจริงใจ ไร้แอลกอฮอล์”
2558
“งดเหล้าครบพรรษา”
“ลดความเร็ว ลดความเสี่ยง-ความสูญเสีย”
“เป็นคนใหม่ได้ในพรรษาเดียว”
“ไม่เป่า = เมาแล้วขับ”
“เมา+ขับ = จับ+ขัง”
“ดื่มแล้วขับ นับเป็นฆาตกร”
2559
“ดื่มมาหนัก พักตับบ้าง”
“งดเหล้าครบพรรษา พักตับทั่วไทย”
“เด็กไทยคิดได้ ต้านภัยสังคม”
“ออกยาก ยึดง่าย”
“ลดบุหรี่ ความสูญเสีย”
“ลดพุง ลดโรค ชีวิตใหม่ใน 60 วัน”
“เลิกบุหรี่เพื่อแม่”
“โอกาสทอง คุยเรื่องเพศ”
2560
“ให้เหล้า = แช่ง”
“ปอดปลอดโปร่ง”
“ปีใหม่ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์”
2561
“ลดเร็ว ลดเสี่ยง”
ข้อสังเกต
- ประเด็นหลักที่ สสส. รณรงค์มี 5 เรื่อง เริ่มจาก 1.) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2.) การขับขี่ และ 3.) บุหรี่ และภายหลังเริ่ม มีประเด็น 4.) สุขภาพและ 5.) เพศ
- หลายครั้ง การนำเสนอประเด็นจะนำ ‘ศาสนา’ และ ‘ครอบครัว’ เข้ามาเชื่อมโยงด้วย เช่น ‘ทอดกฐินปลอดเหล้า’ ‘เลิกบุหรี่ เพื่อลูก’ ‘ไม่ขาย ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวันวิสาขบูชาโลก’ และพูดถึง ‘บุญ-บาป’ ประกอบด้วย
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักนำเสนอคู่กับ การรับน้อง การขับขี่ และศาสนา และมักพูดร่วมกับเทศกาล ‘เข้าพรรษา’
- นอกจากนี้ สสส. ยังนิยมใช้เทศกาลมาเชื่อมโยงกับแคมเปญด้วย เช่น ‘ลอยกระทงปลอดเหล้า บุญจะส่งให้เราสุขใจ’ ‘สงกรานต์ปลอดภัย สนุกสุขใจ ไร้แอลกอฮอล์’ ‘ปีใหม่ ไม่ให้เหล้า’
- ช่วงสิบปีหลัง สสส. เริ่มสนใจประเด็นของผู้หญิง เห็นได้จากแคมเปญต่างๆ ที่พูดถึงผู้หญิงมากขึ้น เช่น ‘หนึ่งเสียงยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง’ ‘หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่’
- ประโยคที่ สสส. เลือกใช้ มักจะเป็นคำที่สั้น กระชับ ตรงไปตรงมา และใช้คำซ้ำ เช่น ‘กันน็อค กันตาย’ ‘ไม่ขาย ไม่ดื่ม’ ‘เลิกเหล้า เลิกจน’ หรือ ‘ดื่มแล้วขับ ถูกจับแน่’
- จากการสังเกตจะพบว่า มีบางแคมเปญที่ให้เหตุผลกับผู้อ่าน เช่น ‘ลดสุราเพื่อป้องกันอุบัติภัย’ ‘เมาแล้วขับ ไม่ใช่แค่ปรับ จะถูกคุมประพฤติ’ ‘ลดพุด ลดโรค’ ‘จุดบุหรี่ จุดมะเร็ง’ ‘กันน็อค กันตาย’
นี่คือสิ่งที่เราพบเห็น จากการสังเกตแคมเปญรณรงค์ของ สสส. ย้อนหลัง 17 ปี แล้วทุกๆ คนล่ะ คิดเห็นเป็นอย่างไรกันบ้าง ?