ในห้วงเวลาที่โลกเรา อยู่ๆ ก็เริ่มมีคำว่าสงครามผุดขึ้นมาอยู่ในความสนใจ อะไรคือความหมาย อะไรคือหน้าตา อะไรคือความรู้สึกของการยืนอยู่กลางสนามรบ
เมื่อพูดถึงคำว่าสงคราม ในโลกที่สงบสุขมาอย่างยาวนาน คนเมืองอย่างเราๆ อาจจะจินตนาการไม่ออก สงครามครั้งที่ 1 ที่ 2 เป็นคำที่ผ่านหูมาตั้งแต่สมัยเรียน เรารู้ดีว่าสงครามอบอวลไปด้วยการสูญเสียและความตาย แต่อะไรคือภาพที่แจ่มชัดของสงคราม นอกจากที่เราเห็นในภาพยนตร์ กระนั้นเอง บทกวีนี่แหละจึงเป็นอีกหนึ่งการถ่ายทอด และเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะพาเรากลับไปยืนอยู่ที่สนามเพลาะ ไปรับรู้ถึงเขม่าควัน และความรู้สึกอันหนักอึ้งของเหล่าชายหนุ่มอายุน้อยที่ยืนอยู่การทุ่งสังหาร
‘กวีนิพนธ์สงคราม’ (war poetry) ถือเป็นอีกหนึ่งประเภทบทกวี ที่แน่ล่ะว่าสงครามเป็นสิ่งอยู่คู่กับเรามาตลอด แต่กวีนิพนธ์ว่าด้วยสงครามนั้นเพิ่งจะมาเฟื่องฟูในขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่เด็กหนุ่มถูกดึงออกจากบ้าน จากการงาน ไปจับอาวุธ และเผชิญหน้าความตาย มุมมองของครามจึงเริ่มถูกเล่าใหม่ จากแต่เดิมเรื่องเล่าว่าด้วยสงครามมักเล่าผ่านสายตาชนชั้นปกครอง เป็นเรื่องของความสง่างามและความจำเป็น แต่ภาพและมุมมองที่มีต่อสงครามในยุคหลังมักเป็นของความโหดร้าย ความเจ็บปวด การดิ้นรน เป็นการประหัดประหารกันโดยที่ไม่มีแก่นสารอะไร
ความพิเศษของบทกวีจากสนามรบเหล่านี้คือส่วนใหญ่แล้ว ‘กวี’ ก็คือหนุ่มน้อยที่เข้าไปร่วมรบ เป็นคนที่ใช้การประพันธ์ทั้งเพื่อปลดปล่อยและบันทึกเรื่องรวมความรู้สึกที่ตัวเองต้องเผชิญ สิ่งที่ถูกวาดผ่านตัวอักษรและความสามารถทางการประพันธ์นั้นจึงเป็นเหมือนบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ความน่าเสียดายคือเหล่าทหารหนุ่มที่มีการศึกษา มีความรู้ด้านวรรณศิลป์และเคยจับปากกาก่อนจะต้องจับปืนมักมีอายุเพียง 20 ต้นๆ เท่านั้น และมีโอกาสเขียนบทกวีจากแนวหน้าขึ้นไม่กี่บท ก่อนที่จะจากโลกนี้บท บทกวีหลายชิ้นถูกรวบรวมและตีพิมพ์ขึ้นหลังจากี่คนๆ นั้นตายลง
The Soldier (1914)
‘The Soldier’ เป็นบทกวีที่เขียนขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดย Rupert Brooke ตัวบทกวีที่ชื่อ The Soldier นี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ขึ้นหลังจากที่กวีเสียชีวิตลงได้เพียงปีเดียว ในแง่ของคำประพันธ์บรูคใช้คำประพันธ์แบบ sonnet หรือบทกวี 14 บรรทัด โดยตัวคำประพันธ์แต่งขึ้นตามมาตราฐานซอนเนตทั้งจำนวนบรรทัด และจังหวะคำลงท้ายแบบเชกสเปียร์ สรุปความว่า ในแง่ความสามารถและความรู้ทางวรรณศิลป์คือตั้งใจใช้ฉันทลักษณ์กลอนอังกฤษแบบคลาสสิก ในแง่เนื้อหาก็เป็นเหมือนการคร่ำครวญ หรือกระทั่งเป็นจดหมายลาตายถึงคนที่อยู่เบื้องหลัง แค่วรรคแรกขึ้นมาก็บอกว่า “ถ้าต้องตายไป โปรดนึกถึงฉันแบบนี้” โดยรวมแล้วกวีค่อนข้างพรรณนาถึงการสละชีพเพื่อชาติ ให้ภาพของทหารอังกฤษ ที่ถูกฝังร่างลงในต่างแดน
“If I should die, think only this of me:
That there’s some corner of a foreign field
That is for ever England. There shall be
In that rich earth a richer dust concealed;
A dust whom England bore, shaped, made aware,
Gave, once, her flowers to love, her ways to roam;
A body of England’s, breathing English air,
Washed by the rivers, blest by suns of home.
And think, this heart, all evil shed away,
A pulse in the eternal mind, no less
Gives somewhere back the thoughts by England given;
Her sights and sounds; dreams happy as her day;
And laughter, learnt of friends; and gentleness,
In hearts at peace, under an English heaven.”
– Rupert Brooke
When You See Millions of the Mouthless Dead (1916)
‘When You See Millions of the Mouthless Dead’ เป็นบทกวีสงครามที่ค่อนข้างโด่งดังแต่งโดย Charles Hamilton Sorley กวีชาวสกอตฯ โดย Sorley ถือเป็นกวีที่อายุน้อย และมีอายุแสนสั้นเพราะตายลงในสนามรบด้วยอายุเพียง 20 ปี ในการรบที่ Loos บทกวีชิ้นนี้ตัวกวีไม่ได้ตั้งชื่อไว้ แต่แค่เอาบรรทัดแรกและความโดยรวมทั้งหมด ที่ให้ภาพและพูดถึงภาพสนามรบอย่างดุดันและรุนแรงมาใช้ Sorley พาเราไปยืนอยู่กลางสนามรบ ท่ามกลางศพไร้เสียงนับล้านร่าง โดยตัวเขาชี้ให้เห็นว่าความตายเหล่านี้มันแสนจะไร้ค่า ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะสรรเสริญ ไม่จำเป็นหลั่งน้ำตาให้ ไม่มีคำว่าเกียรติยศใดๆ เพราะคนเหล่านี้ก็ตายลงไป เป็นศพ ที่ไม่รับรู้อะไรอีกต่อไป บทกวีชิ้นนี้จึงเป็นปะทะกับภาวะสงครามและเสียสละชีวิตอย่างตรงไปตรงมา ความตายก็คือความตาย ไม่มีการกลบเกลื่อน เยินยอ หรือข้อดีอะไรนอกจากร่างเละเทะไร้วิญญาณที่ไม่มีเสียงลอดจากริมฝีปากอีกต่อไป
“When you see millions of the mouthless dead
Across your dreams in pale battalions go,
Say not soft things as other men have said,
That you’ll remember. For you need not so.
Give them not praise. For, deaf, how should they know
It is not curses heaped on each gashed head?
Nor tears. Their blind eyes see not your tears flow.
Nor honour. It is easy to be dead.
Say only this, ‘They are dead.’ Then add thereto,
‘Yet many a better one has died before.’
Then, scanning all the o’ercrowded mass, should you
Perceive one face that you loved heretofore,
It is a spook. None wears the face you knew.
Great death has made all his for evermore.”
– Charles Sorley
A Dead Boche (1918)
Robert Graves เป็นหนึ่งในนักคิด นักเขียนคนสำคัญของอังกฤษ ตัวแกเองเป็นทั้งนักวิจารณ์ นักเขียนนวนิยายอิงประวัติศาสตร์และเป็นนักเขียนแนวชีวประวัติ เมื่อสมัยหนุ่มๆ แกเองก็ถูกเกณฑ์ไปอยู่แนวหน้าด้วย ตัวแกเองเลยเป็นหนึ่งในทหารที่เขียนบทกวีและบันทึกทั้งในระหว่างและหลังสงคราม บทกวีชื่อ ‘A Dead Boche’ ชิ้นนี้ถือเป็นอีกหนึ่งบทกวีกลางสนามรบ ผู้เขียนเล่นกับมุมมองต่อสงคราม พูดกับคนที่ไม่เคยร่วมสงครามว่าถ้าเคยมองว่าสงครามเป็นเรื่องของการหลั่งเลือดและเกียรติยศ สิ่งที่เคยได้ยินนั้นผิดถนัด แกบอกตรงๆ เลยว่า สงครามมันคือนรกดีๆ นี่เอง (“War’s Hell!”) ก่อนจะบรรยายภาพของสนามรบ เป็นภาพของร่างทหารเยอรมัน (Boche) อันเป็นความตายที่ไม่สวยงามแต่อย่างใด
“To you who’d read my songs of War
And only hear of blood and fame,
I’ll say (you’ve heard it said before)
“War’s Hell! ” and if you doubt the same,
Today I found in Mametz Wood
A certain cure for lust of blood:
Where, propped against a shattered trunk,
In a great mess of things unclean,
Sat a dead Boche; he scowled and stunk
With clothes and face a sodden green,
Big-bellied, spectacled, crop-haired,
Dribbling black blood from nose and beard.”
– Robert Graves
My Boy Jack (1916)
‘My Boy Jack’ เป็นบทกวีของ Rudyard Kipling นักเขียนคนสำคัญของโลกวรรณคดีอังกฤษ โดยบทกวีชิ้นนี้ค่อนข้างสะเทือนและซับซ้อนในหลายระดับ คืองี้ คิปลิงแกเองก็เคยร่วมรบในสงคราม และบทกวีชิ้นนี้เขียนถึง Jack พลทหารอายุ 16 ปีที่อยู่หน่วยเดียวกันและตายลงในการรบนั้นๆ ซึ่งในขณะเดียวกัน คิปลิงเองก็เสีย John Kipling ลูกชายที่หายตัวไปในการสู้รบที่ Loos เหมือนกัน บทกวีชิ้นนี้จึงเป็นเสมือนเสียงเพรียก และความโศกเศร้าของพ่อแม่ที่เสียลูกชายไปจากผลของสงคราม ตัวบทกวีจึงเป็นการใช้เสียงของพ่อแม่ ที่เพรียกถามถึงแจ็ก ที่ในยุคนั้นการถามข่าวคราวและการกลับมาคงเป็นสิ่งที่ถูกถามกันทุกที่และทุกเมื่อเชื่อวัน ที่สุดแล้วแจ็กนั้น ย่อมไม่มีวันกลับมา
“‘Have you news of my boy Jack?’
Not this tide.
‘When d’you think that he’ll come back?’
Not with this wind blowing, and this tide.
‘Has any one else had word of him?’
Not this tide.
For what is sunk will hardly swim,
Not with this wind blowing, and this tide.
‘Oh, dear, what comfort can I find?’
None this tide,
Nor any tide,
Except he did not shame his kind —
Not even with that wind blowing, and that tide.
Then hold your head up all the more,
This tide,
And every tide;
Because he was the son you bore,
And gave to that wind blowing and that tide!”
– Rudyard Kipling
Dulce et Decorum Est (1920)
‘Dulce et Decorum Est’ เป็นวลีภาษาละตินจากบทกวีโรมันโบราณของฮอร์เรซ เป็นวลีที่เชิดชูการตายในสนามรบในฐานะการทำเพื่อแผ่นดิน (“It is sweet and fitting to die for one’s country”) แต่สำหรับ Wilfred Owen กวีหนุ่มผู้เขียนที่แม้จะใช้ชื่อราวกับเป็นบันทึกวีรชน กลับไม่ได้ให้ภาพของสงครามที่เกรียงไกร แต่กลับเป็นภาพความโกลาหลและความตายอันน่าอดสู ตัวบทกวีชิ้นนี้โอเวนเขียนขึ้นขณะพักฟื้น ส่งเป็นจดหมายกลับมาหาแม่โดยนำว่า “นี่เป็นบทกวี ที่เขียนเสร็จเมื่อวานนี้” ตอนนั้นโอเวนอายุได้เพียง 24 ปี โดยหนึ่งปีหลังจากนั้นเขาก็ถูกสังหาร โดยตายก่อนการหยุดยิงเพียงหนึ่งสัปดาห์
“Bent double, like old beggars under sacks,
Knock-kneed, coughing like hags, we cursed through sludge,
Till on the haunting flares we turned our backs,
And towards our distant rest began to trudge.
Men marched asleep. Many had lost their boots,
But limped on, blood-shod. All went lame; all blind;
Drunk with fatigue; deaf even to the hoots
Of gas-shells dropping softly behind.
Gas! GAS! Quick, boys!—An ecstasy of fumbling
Fitting the clumsy helmets just in time,
But someone still was yelling out and stumbling
And flound’ring like a man in fire or lime.—
Dim through the misty panes and thick green light,
As under a green sea, I saw him drowning.
…”
– Wilfred Owen
For the Fallen (1941)
‘For the Fallen’ เป็นบทกวีที่เขียนขึ้นเพื่อรำลึกถึงและแสดงความอาลัยของทหารอังกฤษ แต่งโดย Laurence Binyon ตามชื่อคือเป็นการอุทิศให้กับเหล่าทหารที่เสียชีวิตไปในการปะทะของอังกฤษในช่วงต้นของสงคราม ตัวบทกวีนี้ให้ภาพจากมุมของผู้ที่รออยู่เบื้องหลัง ช่วงต้นของบทกวีให้ภาพของประเทศอังกฤษในฐานะแผ่นดินแม่ที่คร่ำครวญถึงการเสียลูกไป ก่อนจะค่อยๆ ให้ภาพของเหล่าทหาร ที่เคยเข้มแข็งและแข็งแรงที่บัดนี้ทิ้งไว้แต่เพียงคนที่รออยู่ พลังของบทกวีอยู่ที่การเล่นกับแก่ตัวลง ที่สุดท้ายเหล่าผู้จากไปนั้นไม่ได้แก่ตัวลง คงเหลือแต่พ่อแม่นี่แหละที่ถูกทิ้งให้แก่ตัวโดยลำพัง
“With proud thanksgiving, a mother for her children,
England mourns for her dead across the sea.
Flesh of her flesh they were, spirit of her spirit,
Fallen in the cause of the free.
…
They went with songs to the battle, they were young,
Straight of limb, true of eye, steady and aglow.
They were staunch to the end against odds uncounted;
They fell with their faces to the foe.
They shall grow not old, as we that are left grow old:
Age shall not weary them, nor the years condemn.
At the going down of the sun and in the morning
We will remember them.
…”
– Laurence Binyon
MCMXIV (1960)
บทกวีชิ้นนี้ให้นึกภาพการที่เรายืนอยู่ที่ลาน และมองกลับไปยังภาพถ่ายเก่าๆ ที่มีภาพทหารเรียงราย เป็นการรำลึกถึงคนหนุ่มที่จากไป MCMXIV เป็นระบบเลขโรมัน หมายถึงปี ค.ศ.1914 ปีสำคัญที่คนหนุ่มตบเท้าออกจากบ้านสู่สนามรบ และการใช้ระบบเลขโรมันนี้เป็นแบบเดียวกับการจารึกบนหลุมศพ ตัวบทกวีพูดถึงภาพถ่ายเก่าที่มักเป็นการถ่ายกองกำลังก่อนออกเดินทาง เป็นภาพของเด็กหนุ่มที่มายืนเข้าแถวอย่างเป็นระเบียบก่อนที่จะเคลื่อนพลออกจากลานนั้นๆ กวีบรรยายคนในภาพ ว่าเป็นเหมือนเด็กหนุ่มธรรมดาๆ แต่เมื่อคนเหล่านั้นตบเท้าออกจากลานแล้ว กวีจึงหักมุมว่า จากนี้คนที่เคยไร้เดียงสา—เคยบริสุทธิ์ (innocent) ก็จะไม่มีอีกต่อไป สงครามย่อมเปลี่ยนสามี เปลี่ยนลูก เปลี่ยนพี่น้องไปตลอดกาล
“Those long uneven lines
Standing as patiently
As if they were stretched outside
The Oval or Villa Park,
The crowns of hats, the sun
On moustached archaic faces
Grinning as if it were all
An August Bank Holiday lark;
And the shut shops, the bleached
Established names on the sunblinds,
The farthings and sovereigns,
And dark-clothed children at play
Called after kings and queens,
The tin advertisements
For cocoa and twist, and the pubs
Wide open all day;
…
Never such innocence,
Never before or since,
As changed itself to past
Without a word – the men
Leaving the gardens tidy,
The thousands of marriages,
Lasting a little while longer:
Never such innocence again.”
– Philip Larkin
The Men He Killed (1909)
‘The Men He Killed’ ถือเป็นบทกวีอันดับต้นๆ ที่เราจะนึกถึงเมื่อพูดถึงภาพและผลของสงคราม แต่งโดยThomas Hardy กวีคนสำคัญ ตัวเรื่องก็แสนจะเรียบง่าย แต่ย้อนตั้งคำถามถึงความหมายและการกระทำเมื่อครั้งกวีต้องลงมือฆ่าคนอีกคนหนึ่ง ตัวเรื่องเริ่มพูดถึงศัตรู ว่าจริงๆ ก็เป็นแค่ชายหนุ่มอีกคน ถ้าเราเจอกันร้านเหล้าก็คงได้กินดื่มด้วยกัน แต่ด้วยสงคราม กวีเองก็พยายามหาเหตุผลว่าทำไมถึงต้องลงมือฆ่าคนอีกคน ในการวิเคราะห์คือ จริงๆ ผู้เล่าเรื่องเองก็ใช่ว่าจะรับได้กับการฆ่าคนอีกคน เพราะมีการใช้สรรพนามว่า A Man He Killed เหมือนเป็นคนอื่นที่ลงมือฆ่า ทั้งๆ ที่อนุมานได้ว่าผู้เล่าเรื่องนั่นแหละที่ยิงศัตรู
“Had he and I but met
By some old ancient inn,
We should have sat us down to wet
Right many a nipperkin!
But ranged as infantry,
And staring face to face,
I shot at him as he at me,
And killed him in his place.
I shot him dead because —
Because he was my foe,
Just so: my foe of course he was;
That’s clear enough; although
He thought he’d ‘list, perhaps,
Off-hand like — just as I —
Was out of work — had sold his traps —
No other reason why.
Yes; quaint and curious war is!
You shoot a fellow down
Y ou’d treat if met where any bar is,
Or help to half-a-crown.”
– Thomas Hardy