ลึกๆ ข้างในนั้นมนุษย์หวาดกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกันก็ตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นไปพร้อมกันด้วย
เราต่างรู้ดีว่าความเปลี่ยนแปลงมาพร้อมกับโอกาส ยิ่งผู้คนในยุคสมัยปัจจุบันยิ่งได้พบกับโอกาสในรูปแบบที่แตกต่างและท้าทายขึ้นเรื่อยๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เร่งอัตราเร็วเป็นหลักมิลลิวินาที เทคโนโลยีอัปเดตกันเป็นรายวินาที วิถีชีวิตของเราทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือได้เป็นรายไตรมาส จนทำให้การคาดการณ์ต่างๆ ไม่เคยแม่นยำแบบ 100% ด้วยไม่อาจคาดเดาสิ่งต่างๆ ล่วงหน้าเป็นหลัก 5 ปี หรือ 10 ปีได้อีกต่อไป
เพื่อให้อยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างฉันมิตร เราจึงต้องเรียนรู้แนวโน้มความเป็นไปได้และหาวิธีอยู่กับมันอย่างเท่าทันและเข้าใจ เริ่มต้นที่อนาคตใกล้ๆ อย่างปี ค.ศ. 2020 ซึ่งคาดกันว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนหลายประการอันจะทำให้ชีวิตของเราไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ทุกที่คือที่ทำงาน ทุกเวลาคือการทำงาน
ในอีก 2 ปีข้างหน้า การทำงานของผู้คนทั่วโลกจะพึ่งพาระบบที่อิงกับศูนย์กลางน้อยลง ปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงานไปตามเมืองต่างๆ ได้อย่างอิสระและยืดหยุ่นกว่าที่เคย แนวโน้มการทำงานที่บ้านจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ จากที่เราทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ผ่านโปรแกรม Google Doc ทวงงานผ่านไลน์ ต่อไปการเข้ามาของระบบความจริงเสมือน (Virtual Reality) ที่จำลองภาพบรรยากาศ สร้างสัมผัสต่างๆ ได้เสมือนนั่งอยู่ตรงนั้นจริงๆ ก็จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากกว่าแค่ในวงการเกม การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสมจริง ไร้ข้อจำกัดแม้ต่างอยู่ไกลกันเกินครึ่งฟ้า
ทุกธุรกิจจะนำ internet of things (IoT) เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของมนุษย์มากขึ้น โลกดิจิทัลและโลกแห่งความเป็นจริงจะไม่อาจแยกออกจากกันได้อีกต่อไป เพราะแบรนด์ต่างๆ จะต้องเปิดรับข้อมูลการใช้งานตลอดเวลา เป็นความธรรมดาใหม่ที่ทุกธุรกิจต้องก้าวไปให้ถึง นั่นคือการเปลี่ยนมาเน้นการให้บริการ สร้างประสบการณ์แก่ลูกค้าเป็นหลักแทน จากแนวโน้มในหลายปีที่ผ่านมา Gartner บริษัทแถวหน้าเรื่องการวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี คาดว่า Smart Device ทั่วโลกจะเพิ่มจำนวนมากถึง 2 หมื่นล้านชิ้นในปี 2020 ซึ่งเทรนด์นี้ก็สอดคล้องกับแนวโน้มที่ว่าฟรีแลนซ์จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนตลาดแรงงานมากถึง 50% ทั้งงานที่ต้องอาศัยทักษะเฉพาะและทักษะทั่วไป อาศัยการเฟ้นหาคนที่เหมาะกับแต่ละงานแบบเป๊ะๆ ออฟฟิศยุคใหม่จะไซส์เล็ก คล่องตัวขึ้น เนื่องมาจากวิธีการทำงานซึ่งถูกกำหนดด้วยไลฟ์สไตล์ของมิลเลนเนียลและเจน Z (คนที่เกิดในช่วงปี ค.ศ. 1980-2009) ซึ่งปัจจุบันอายุระหว่าง 9-38 ปี ซึ่งให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นและอิสระ ไม่แพ้เงินเดือนและสวัสดิการเลยทีเดียว
ปัญญาประดิษฐ์และขีดจำกัดของมนุษย์
คนทำงานในปี 2020 จะไม่ต้องกังวลเรื่องจบไม่ตรงสาย ทำงานไม่ตรงวุฒิอีกต่อไป เพราะสุดท้ายแล้ววัดกันที่ความสามารถและความยืดหยุ่นในการทำงานล้วนๆ ทำให้เราทุกคนต้องหาวิธีเพิ่มทักษะให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน โดยมีเพื่อนแท้อย่างคอร์สเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาสร้างวิธีการเรียนแบบใหม่ ที่ทำให้เราเหมือนได้เรียนรู้กับครูชั้นนำของโลกจริงๆ ในราคาที่พอจ่ายไหวและเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา เป็นการตอบสนองตลาดแรงงานที่มีความต้องการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ได้อย่างเต็มที่ Alexis Ringwald ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ LearnUp แพลตฟอร์มสอนทักษะในการทำงาน กล่าวว่า เทคโนโลยีได้เข้ามาแย่งงานที่มีอยู่เดิมและสร้างงานใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือการเข้ามาของ Fintech ที่เปลี่ยนแปลงโลกทางการเงินไปอย่างสิ้นเชิง ทำให้คนเรากล้าเปลี่ยนมาทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์แทนการดั้นด้นไปธนาคารได้ภายในเวลาไม่กี่ปี ทำให้มีการประกาศปิดตัวสาขาธนาคารต่างๆ กันเป็นเวลาเล่น เพราะ AI ที่ล้ำเข้าไปทุกวัน อัปเดทความสามารถกันตลอดเวลา นั่นหมายความว่า หุ่นยนต์แต่ละตัวที่ถูกนำเข้ามาในระบบจะเพิ่มแรงงานเท่ากับคนงาน 1,000 คน
เพราะร่างกายของคนเราจะยังเป็นรองหุ่นยนต์ต่างๆ ที่ไม่ต้องกิน ไม่ต้องพักเหนื่อย แต่มนุษย์เราก็ไม่เคยหยุดที่จะต่อกรกับธรรมชาติของร่างกายที่เสื่อมถอยด้วยกาลเวลาหรือชำรุดทรุดโทรมเพราะว่าต้องมาเจอกับโรคอันตรายที่ไร้ทางรักษา แต่วงการแพทย์และสาธารณสุขได้กาปฏิทินไว้แล้วว่าปี 2020 จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของบรรดาโรคร้ายเหล่านี้ ด้วยเทคโนโลยีการติดตามข้อมูลของร่างกายแบบเรียลไทม์ ค่าตัวเลขต่างๆ ของร่างกายเราจะถูกนำมาใช้ออกแบบวิธีการดูแลรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับแต่ละคนเพื่อผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด นอกจากนี้ยังใช้การสร้างอวัยวะเทียมขึ้นใหม่จากเทคโนโลยี 3D Bioprint ที่สร้างเนื้อเยื่อใหม่ หรืออวัยวะใหม่ที่ทำงานเลียนแบบเซลล์จริงๆ ขึ้นมาทดแทนของเดิม ด้วยชั้นเซลล์ที่ซ้อนทับกันหนาถึง 20 ชั้น หนาราวครึ่งมิลลิเมตรเท่านั้น โดยปัจจุบันสามารถสร้างปอดขึ้นได้แล้ว และกำลังจะทดลองเพาะตับมนุษย์ได้สำเร็จในปี 2020
มนุษย์จึงต้องพัฒนาทักษะของตัวเองให้ล้ำไปอีกขั้นทั้งในด้านขีดความสามารถในการทำงานและขีดจำกัดของร่างกาย เป็นการแข่งขันที่ไม่มีวันสิ้นสุด ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์
เคลื่อนไหวในเมืองใหญ่
องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2020 ประชากรของคนที่อาศัยอยู่ในเมืองทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% เช่นเดียวกับในกรุงเทพฯ ซึ่งเกิดศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่แตกต่างหลากหลาย ไม่กระจุกอยู่ในจุดเดียวอีกต่อไป ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยขนาดเล็กแต่มีสาธารณูปโภคครบครัน ใกล้กับระบบขนส่งสาธารณะได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะตามแนวระบบรถไฟฟ้าที่จะครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพฯ กว้างขึ้น นำคนจากชานเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว ตามแผนแล้วปี 2020 รถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จพร้อมกันหลายสาย จากปัจจุบันที่มีเพียง 5 สาย เพิ่มเป็น 10 สาย ระยะทางรวม 284 กิโลเมตร
เหตุเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนและมลภาวะทางอากาศ ที่เป็นปัญหาหนักของแทบทุกเมืองใหญ่บนโลกอย่างที่เรารู้กันดีในปัจจุบัน นอกจากการผลักดันการพัฒนาด้านขนส่งสาธารณะที่มีความตื่นตัวอย่างต่อเนื่องทั่วโลกแล้ว ยังมีการสนับสนุนพลังงานสะอาด โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คาดการณ์กันว่าในอีก 2 ปีข้างหน้าจะมียานพาหนะไฟฟ้าวางจำหน่ายกว่า 40 ล้านคันทั่วโลก แทนที่ยานพาหนะที่ใช้น้ำมันซึ่งมีข้อเสียมากกว่าข้อดี และในประเทศไทยจะมีสถานีชาร์จไฟฟ้ามากกว่า 1,000 สถานี เท่ากับจำนวนสถานีแบบ Ultra-Fast ของทั้งยุโรปรวมกัน
สังคมไร้คู่ โตไปไม่มีแฟน
ในยุคนี้มองไปทางไหนก็เจอแต่คนโสด เพราะไลฟต์สไตล์ของคนเมืองที่เอื้อให้เราแต่งงานได้ช้าลง และในอนาคตก็มีแนวโน้มว่าจะครองตัวเป็นโสดมากขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ จากผลสำรวจของ MeetNLunch บริษัทจัดหาคู่ของไทยซึ่งวิจัยเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างกว่า 3,000 คนจาก ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง พบว่าคนโสดในประเทศไทยใช้เวลา ‘คบหาดูใจ’ ก่อนตัดสินใจคบกันเป็นแฟนอย่างจริงจังนานที่สุด ผู้หญิงไทยกว่า 43% เดทมากกว่า 7 ครั้ง ก่อนจะตกลงปลงใจยอมเป็นแฟนกับอีกฝ่าย แถมยังมีแนวโน้มตัดสินใจแต่งงานช้าลงถึง 45%
แฮชแท็ก #คนโสด2020 จะถูกใช้โดยผู้หญิงมากกว่าเพศอื่นๆ เพราะคาดกันว่าในปีดังกล่าวจะมีสาวโสดในประเทศไทยที่ต้องใช้ชีวิตอยู่คนเดียวมากถึงราว 5.6 ล้านคน นั่นหมายความว่า อีกสองปีข้างหน้าเราอาจจะกลายเป็นสังคมคนเหงามากกว่าที่คิด
สัตว์เลี้ยงจึงเข้ามาตอบโจทย์ทั้งคนโสด (หรือคนมีคู่ที่ตัดสินใจไม่มีลูก) ในด้านการเป็นเพื่อนคลายเหงา ส่งผลให้มูลค่าของตลาดสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งด้านบริการ อาหาร และการรักษาพยาบาลรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตคนเดียวในเมืองและรายได้ที่สูงขึ้นมีส่วนสำคัญต่อตัวเลขสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้นทุกปี และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่ไต่ระดับสูงขึ้นตามความรักความเอาใจใส่ซึ่งเจ้าของต่างพยายามเลือกสรรสิ่งดีๆ ให้เพื่อนรักสัตว์โลกที่เปรียบได้กับสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว แนวโน้มมูลค่าธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงจะยิ่งเติบโตขึ้นไปจนแตะ 1,412.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2020 โดยประเทศไทยมีส่วนแบ่งสูงถึง 46.3% เราจึงได้เห็นเทรนด์พื้นที่สาธารณะที่เป็นมิตรต่อสัตว์เลี้ยงมากขึ้น รวมถึงที่พักอาศัยซึ่งออกแบบให้ทุกคนอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงได้อย่างไร้กังวล
ไม่ว่าอนาคตจะเข้ามาในรูปแบบใด คนที่ปรับเปลี่ยนตัวเองเข้ากับสิ่งใหม่ๆ ได้ก่อนถือว่าได้เปรียบเสมอ พื้นที่ส่วนตัวที่รองรับความต้องการในการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนไปกับการเปลี่ยนแปลง และคิดเผื่ออนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะมาเป็นพื้นฐานของความสุขของทุกวันในชีวิต อย่างที่คอนโด METRIS by Major Development ทั้งสองโครงการที่ ลาดพร้าว และ พระราม9-รามคำแหง ซึ่งจะสร้างเสร็จพร้อมเข้าอยู่ในปี 2020 ได้สร้างสรรค์พื้นที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคนที่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงและพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ตั้งอยู่ในย่านที่มอบให้ทั้งความสงบเป็นส่วนตัวแต่ยังเข้าถึงการเดินทางที่สะดวกสบายหลากหลายตัวเลือก และพิเศษกว่านั้นคือสามารถเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเพื่อนรักสี่ขาในคอนโดได้ เรียกได้ว่าเป็นคอนโดที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ของคนเมืองอย่างแท้จริง
ชมห้องตัวอย่างได้แล้ววันนี้
METRIS ลาดพร้าว คลิก https://goo.gl/AC31iC
METRIS พระราม9-รามคำแหง คลิก https://goo.gl/JKEKKG
ข้อมูลอ้างอิง
– https://www2.deloitte.com/global/en/pages/life-sciences-and-healthcare/articles/healthcare-and-life-sciences-predictions-2020.html
– https://thenextweb.com/insider/2014/01/27/20-visions-life-year-2020/
– https://www.weforum.org/agenda/2014/08/14-technology-predictions-2020/
– https://www.talentlms.com/blog/2020-workplace-trends-hr/
– https://www.futuremarketinsights.com/reports/southeast-asia-pet-care-market