คอนเทนต์นี้รีวิวเองหรือแบรนด์จ้างกันนะ? เชื่อว่านี่คงเป็นคำถามที่หลายคนนึกสงสัยเวลาเลื่อนไปเจอโพสต์บางโพสต์ของคนดังที่เราติดตาม เราอยากเห็นคอนเทนต์ของคนดังที่กดฟอลไว้ขึ้นมาที่หน้าฟีดส์อยู่แล้วในฐานะฟอลโลเวอร์ ในขณะเดียวกัน หากพูดในมุมของผู้บริโภคก็อดคิดไม่ได้ว่า คอนเทนต์จากคนที่เราชื่นชอบและติดตามนั้นแฝงโฆษณาและการขายมารึเปล่า
แม้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียจะมีเครื่องมือหรือฟังก์ชั่นที่ให้ผู้โพสต์ระบุได้ว่าคอนเทนต์ที่โพสต์นั้นได้สปอนเซอร์มาหรือใช้ในเชิงพาณิชย์หรือไม่ แต่ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่าการลงโพสต์ที่มีแบรนด์จ้างนั้นก็อาจไม่ได้รับการระบุอย่างชัดเจน จนทำให้คนติดตามสงสัยอยู่บ่อยๆ ว่า จริงๆ แล้วโพสต์ดังกล่าวเป็นเรื่องราวที่อินฟลูเอนเซอร์อยากเล่าเอง หรือได้รับการว่าจ้างให้ออกมาพูดกันแน่
Disclosure หรือการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาจึงอาจเป็น ‘คำตอบ’ ที่ช่วยให้คนเสพสื่อกรองคอนเทนต์ที่มีแบรนด์จ้างได้ระดับหนึ่ง ตลอดจนตัดสินใจว่าจะเสพหรือไม่เสพคอนเทนต์นั้น หากพูดถึงแวดวงนักการตลาดและโฆษณาในหลายประเทศ นี่ถือเป็นเรื่องจริงจังจนถึงขั้นทำออกมาเป็นกฎระเบียบหรือข้อบังคับที่มีลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ยึดเป็นมาตรฐานการทำงานของวงการสื่อและโฆษณาออนไลน์กันเลยทีเดียว
The MATTER ได้รวบรวมและสรุปข้อบังคับที่นำไปใช้เป็นมาตรฐานทั่วไปในแวดวงคนทำงานการตลาด โฆษณา และอินฟลูเอนเซอร์ของแต่ละประเทศโดยเฉพาะ ว่าด้วยเรื่องการการโพสต์คอนเทนต์โฆษณาหรือสปอนเซอร์ว่าอินฟลูเอนเซอร์ควรทำอย่างไร เมื่อไหร่ที่ต้องเปิดเผยและระบุว่าแบรนด์จ้างมา รวมทั้งแนวทางปฏิบัติที่เสริมขึ้นมาในบางประเทศ
นอกจากนี้ อาจสรุปรายละเอียดย่อยของข้อบังคับสำคัญในการลงโพสต์โฆษณาและสปอนเซอร์ของอินฟลูเอนเซอร์ในแต่ละประเทศ ดังนี้
นิวซีแลนด์
Influencers AdHelp Information on Identifying Ad Content
– บอกชัดเจนว่า เป็นโฆษณา/สปอนเซอร์ ตั้งแต่แรก
– ใช้ว่า Branded Content/Paid Partnership
– แปะป้ายว่าเป็นโฆษณา/สปอนเซอร์ลงไปในตัวคอนเทนต์
– ปฏิบัติตามกฎโฆษณาตามประเภทธุรกิจเพิ่มเติม (แอลกอฮอล์ การพนัน การเงิน การรักษาทางการแพทย์และสาธารณสุข เกี่ยวเนื่องกับเด็กและเยาวชน อื่นๆ)
แคนาดา
AD Standard Influencer Marketing Steering Committee Disclosure Guidelines
– แฮชแท็กชัดเจน เป็นที่ยอมรับ
– ระบุว่าเป็นโฆษณาไว้ตั้งแต่ต้นโพสต์หรือต้นคลิปวิดีโอ
– ห้ามใช้คำหรือแฮชแท็กที่คลุมเครือหรือไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโฆษณาหรือไม่
– ห้ามแท็กแอกเคานต์แบรนด์เปล่าๆ โดยไม่ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นคอนเทนต์โฆษณาหรือได้สปอนเซอร์มา เพราะทำให้คนแยกไม่ได้ว่าเป็นแบรนด์จ้างหรือไม่
อังกฤษ
Influencers’ guide to making clear that ads are ads
– ระบุเมื่อถูกจ้างในรูปของเงิน ของขวัญ หรือใช้บริการฟรี
– ระบุเมื่อโพสต์สินค้าหรือบริการที่ตนเป็นเจ้าของ
– ระบุว่า Ad, Advert, Advertising, Advertisement, Advertisement Feature ไว้ต้นโพสต์
– ห้ามใช้คำย่อ เช่น Affiliate/aff, Spon/sp
– เลี่ยง Supported by/Funded by, Thanks to, Just@ [brand] อื่นๆ
– ปฏิบัติตามข้อบังคับเมื่อโพสต์เรื่องพนัน แอลกอฮอล์ อาหารเสริม อื่นๆ
สหรัฐอเมริกา
“Disclosures 101 for Social Media Influencers” (the “Guide”)
– ระบุเมื่อมีความสัมพันธ์กับแบรนด์ (ครอบครัว, เพื่อน, จ้างงาน อื่นๆ)
– ระบุเมื่อถูกจ้างในรูปของของขวัญ ของลดราคา หรือของฟรี
– เขียนไว้ต้นโพสต์ก่อนคลิกเข้ามา
– ควรบอกว่าเป็นคอนเทนต์แบรนด์จ้างหรือโฆษณาตลอดในกรณีที่เป็นสตรีมมิง
– ระบุว่า [brand] Partner หรือ [brand] Ambassador ก็ได้ในกรณีที่โพสต์ลงแพลตฟอร์มที่จำกัดตัวอักษร เช่น ทวิตเตอร์
– ห้ามใช้คำย่อหรือคำคลุมเครือ เช่น spon, sp, collab
– ห้ามรีวิวถ้าไม่เคยใช้จริง
– ห้ามเคลมว่าดีถ้าไม่มีหลักฐานรองรับอย่างเป็นทางการ
UAE
A Guide to Influencer Marketing in the United Arab Emirates Best Practices Charter
– ระบุว่า Ad/Advertisement, Paid/Paid Partnership, Sponsorship/Sponsored วางไว้ในตำแหน่งชัดเจน ไม่ต้องคลิกเข้าไปอ่าน
– ห้ามใช้คำย่อหรือคำคลุมเครือ เช่น Gift or Gifted In Collaboration/Collab In Cooperation with In Partnership Influencer Marketing Thanks to/Supported by
– ติดแฮชแท็กเพื่อการโฆษณาในแพลตฟอร์มนั้นๆ
– ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ
– โฆษณายา สุขภาพ การศึกษา อสังหาฯ หรือแคมเปญที่เกี่ยวข้องกับฮัจย์-อุมเราะห์ ต้องได้รับการอนุญาตก่อนลง
– อินฟลูเอนเซอร์ต้องมีใบอนุญาต เว้นแต่โปรโมตกิจกรรมอาสาสมัคร การกุศล หรือไม่แสวงหากำไร
อินเดีย
Guidelines for Influencer Advertising in Digital Media
– ระบุว่าเป็นโฆษณาหรือได้สปอนเซอร์อย่างชัดเจน วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ทันที เช่น Advertisement Ad Sponsored Collaboration Partnership Employee Free gift
– ควรระบุว่าเป็นโฆษณาให้มีความยาวอย่างต่ำ 3 วินาที ในกรณีที่เป็นคอนเทนต์วิดีโอความยาว 15 วินาที ส่วนวิดีโอที่มีความยาวกว่า 2 นาที ควรระบุว่าเป็นโฆษณาตลอดช่วงที่สื่อสารเรื่องการขายและสปอนเซอร์
– ระบุว่าเป็นโฆษณาตอนเปิดและจบในกรณีที่เป็นไฟล์เสียงและสตรีมมิ่ง
อ้างอิงข้อมูลจาก