ถ้าใครได้ติดตามข่าววงการเทคโนโลยีโลกอยู่สักหน่อย ก็คงพอจะได้เห็นศึกฟาดปากระหว่างสองขั้วตัวพ่อแห่งโลกไอทีอย่าง มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก CEO สุดอัจฉริยะแห่งค่ายเฟซบุ๊ก และ อีลอน มัสก์ CEO หนุ่มหล่อจากค่าย Tesla และ SpaceX ว่าด้วยมุมมองในประเด็นความน่ากลัวของ AI หรือสมองกลอัจฉริยะ อย่างดุเดือดชนิดใส่คะแนนแทบไม่ถูกกันมาบ้าง
แต่ใช่ว่ากรณีถกเถียงถึงประโยชน์และโทษของการพัฒนา AI อย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีมานี้จะเพิ่งถูกพูดถึงเสียเมื่อไหร่ มีหลายเสียงที่ให้ความเห็นในเชิงรอหยั่งท่าทีไม่ฟันธงลงไปข้างใดข้างหนึ่ง ขณะที่เสียงอีกไม่น้อยเลยทีเดียวเลือกจะฝากความหวังเอาไว้กับ AI ในฐานะตัวช่วยชั้นดีที่จะมาช่วยแบ่งเบางาน routine อันแสนน่าเบื่อ (เพื่อหนีไปรับฝิ่นเพิ่มขึ้น/ เดี๋ยววว) ซึ่งตรงข้ามกับคนอีกขั้วที่กำลังวิตกกังวลว่า ถ้าเจ้าสมองกลสังเคราะห์นี้ สามารถเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ได้มากจนเกินไป จะไม่เป็นสาเหตุให้เจ้านายไล่แจกซองขาวรัวๆ ยิ่งกว่าซองอั่งเปาหรอกเหรอ
แต่ก็นั่นล่ะ ท่ามกลางข้อถกเถียงถึงการมีอยู่ของ AI ที่หาข้อสรุปยากยิ่งกว่าปัญหารัฐบาลกับประชาธิปไตยอะไรควรเกิดก่อน เรากลับพบผลสำรวจชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจจาก Deloitte ว่า ในมุมมองของฝั่งมนุษย์ Gen Y ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเจเนอเรชั่นที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุด (เพราะมีช่วงอายุตรงกับวัยทำงานพอดี) กลับไม่ได้มองว่า AI เป็นศัตรูที่จะเข้ามาพรากงาน (และเงิน) ไปจากอก กลับกันพวกเขามองว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์แสนอัจฉริยะนี้แหละที่จะกลายมาเป็นผู้ช่วยคนสำคัญ สำหรับช่วยจัดการงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์มากมาย อาทิ การคำนวณ การประมวลผล หรือการตอบโต้บทสนทนาในรูปแบบที่ชัดเจน เพื่อให้พวกเขาสามารถนำเวลาที่เหลือไปใช้ในการพัฒนาตัวเองหรือทุ่มเทให้กับงานส่วนที่ต้องการศักยภาพเฉพาะของมนุษย์ได้มากกว่าเดิม
“ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่กว่า 50% มองว่าประโยชน์สำคัญอันยิ่งยวดของเจ้าปัญญาประดิษฐ์ คือการคืนเวลามหาศาล ให้พวกเขาสามารถเอาไปใช้กับงานหรือกิจกรรมที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น ขณะที่อีก 46% เชื่อว่านี่คือโอกาสที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน”
ลองคิดภาพดูว่าถ้าในยุคแรกเริ่ม อาจารย์อาโอยามะ โกโช มีผู้ช่วยวาดฉากหลังเป็น AI ป่านนี้ยอดนักสืบจิ๋วโคนันอาจทะลุเล่มที่ 300 (แต่ยังซ้ำประถมฯ ชั้นเดิม) ไปแล้วก็ได้
แม้ทุกวันนี้ประเภทความสามารถของ AI จะหลากหลาย และล้ำหน้ามนุษย์ไปในหลายๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรม Alpha Go ที่สามารถโค่นนักหมากล้อมระดับโลกลงได้จนเป็นข่าวที่สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งโลก ทว่าเมื่อมองในแง่ของการนำความสามารถที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในการทำงานแล้ว ก็ต้องยอมรับว่า AI มีคุณสมบัติในฐานะสายซัพพอร์ตที่ยอดเยี่ยม ลองนึกภาพดูง่ายๆ หากมีนักเขียนการ์ตูนหน้าใหม่คนหนึ่งที่มีพรสวรรค์ด้านการวางโครงเรื่องระดับเทพ สามารถออกแบบคาแรกเตอร์ได้โดนทุกตัว แต่ต้องมาเสียเวลานั่งวาดฉาก ถมดำ ทำช่องคำพูด กว่าจะวาดจบหนึ่งเล่มต้นทุนทั้งเวลาและเงินที่ใช้ไปอาจไม่พอยาไส้ให้ยึดงานนี้เป็นอาชีพได้ ในทางกลับกันหากมี AI มาช่วยทำหน้าที่ตรงนั้นแทน เขาก็จะสามารถทุ่มเทเวลาไปกับการคิดพล็อตให้ระทึกใจ หรือสนุกกับการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ด้วยสกิลใหม่ๆ ออกมาได้มากขึ้น โดยเจ้าโปรแกรมผู้ช่วยสังเคราะห์ไม่มีทางแย่งงานในส่วนที่ต้องใช้พรสวรรค์ของเขาในฐานะนักเขียนได้เลย
เทคโนโลยี สื่อ และการสื่อสาร คือส่วนที่ AI จะเข้ามามีบทบาทมากที่สุด
เช่นเดียวกันกับในสาขาอาชีพอื่นๆ ที่ AI เข้าไปมีบทบาทมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของธุรกิจ ว่ากันว่า เทคโนโลยี สื่อ และการสื่อสาร คือส่วนที่ AI จะเข้าไปมีบทบาทด้วยมากที่สุด รองลงมาคือ งานด้านการผลิต, บริการทางการเงิน, พลังงานและทรัพยากร, การขนส่งและจัดจำหน่าย และอื่นๆ อีกตามลำดับ ซึ่งเราขอยกตัวอย่างงานที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของเจ้าปัญญาประดิษฐ์ตัวนี้ ในการเข้ามาช่วยแบ่งเบางานด้านการสื่อสารพื้นฐานของมนุษย์ได้อย่างชัดเจนที่สุด นั่นก็คือ AI Chatbot หรือโปรแกรมตอบโต้อัตโนมัตินั่นเอง ในปัจจุบัน AI Chatbot ถูกพัฒนาให้มีความก้าวหน้าและฉลาดล้ำกว่ายุค 4.0 เอ้ย ยุคอดีตไปไกล มันสามารถสื่อสารและตอบสนองคำสั่งซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นแทนมนุษย์ได้ ชนิดว่าอีกหน่อยแม่ค้าพ่อค้าบนแพล็ตฟอร์มโซเชียลมีเดียอาจไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าเพจคอยตอบคำถามลูกค้าอีกต่อไป ปล่อยให้ AI ทำหน้าที่พูดคุยกับลูกค้า เก็บข้อมูล หรือกระทั่งรับออเดอร์แทนได้ แล้วเอาเวลาที่เหลือไปใช้วางแผนการตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตลอดจนให้เวลากับชีวิตส่วนตัวได้มากขึ้น
สร้างงานสร้างอาชีพเร็วกว่าใคร ก็พี่ AI นี่ล่ะ
จากการสำรวจพบว่าแม้จะน่าแปลกใจ แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่ว่าคนจำนวนมาก
“โดยตัวเลขจากการสำรวจระบุว่าคน
อาจเป็นเพราะเมื่อ AI เข้ามารั
เห็นได้ชัดเจนว่าแม้เจ้าปัญญาปร
อ่านผลสำรวจ Deloitte Millennial Survey ฉบับเต็มได้ที่ www.deloitte.com/MillennialSurvey