ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อาจเป็นธุรกิจที่ไม่ได้ถูก Disrupt จากเทคโนโลยีโดยตรงเหมือนธุรกิจบันเทิงหรือธุรกิจอื่นๆ
แต่ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี กลับทำให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปด้วย ถึงแม้ว่า AP Thailand จะเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจกว่า 30% ขึ้นแท่นอันดับ 2 ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ในประเทศ ในปี 2561 การให้บริการแบบ Physical product คือ ตัวบ้าน คอนโด ทาวน์โฮม อาจจะไม่ตอบโจทย์คลอบคลุมต่อความต้องการของลูกค้าได้ทั้งหมด
ด้วยเหตุนี้ AP ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายสำคัญของไทย จึงเลือกที่จะ Disrupt ตนเองด้วยการบุกเบิกธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาตอบโจทย์ทุกความต้องการในทุกช่วงชีวิตของผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์และครบวงจรที่สุด ภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ ‘AP World, A New Vision of Quality of Life’ ที่มาพร้อมกับ Passion ในการสร้างโลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการใช้นวัตกรรมยกระดับมากกว่าการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว
ลองไปดูกันว่าภายใต้ Eco System ใหม่ที่ AP พัฒนาขึ้นมา ผ่าน 3 ธุรกิจใหม่หรือ Disruptive Business ที่เกิดขึ้น จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และจะสามารถตอบโจทย์เป้าหมายในการสร้างโลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีของเราได้มากน้อยขนาดไหน
VAARI พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
แม้ว่าเทคโนโลยีทุกๆ วันนั้นจะพัฒนาไปมาก แต่ปัญหาและความท้าทายสำคัญของแบรนด์อสังหาฯ ต่างๆ คือการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อลูกค้าจริงๆ อย่างเช่นเรื่องของดีไซน์ที่อยู่อาศัย เพราะความต้องการของลูกค้านั้นมีหลากหลาย แตกต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์และรสนิยมที่ไม่เหมือนกัน การจะนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้จึงต้องเลือกสรรอย่างเหมาะสมและลงตัว
วาริ จึงเป็นบริษัทที่เกิดขึ้นมาเพื่อสร้างแพลตฟอร์มในการนำเทคโนโลยีมาสร้าง Life Management Ecosystem ที่จะมาสร้างคุณภาพชีวิตของลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต โดยลดทอนความซ้ำซ้อนที่เป็นปัญหาของผู้อยู่อาศัยในวันนี้ แล้วใช้นวัตกรรมดีไซน์ที่เข้าถึงทุกไลฟ์สไตล์มาตอบโจทย์ความต้องการ สร้างสรรค์สังคมแห่งการอยู่อาศัยในอุดมคติให้เกิดขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
CLAYMORE สร้างนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการได้ครบ
โดยปกติแล้ว ในการพัฒนาโปรดักต์แบบเดิมๆ สิ่งที่นักการตลาดส่วนใหญ่ทำคือการหาความต้องการของลูกค้าจากการ Survey หรือสอบถามสำรวจความต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโปรดักต์อย่างที่ลูกค้าต้องการ แต่สิ่งที่ขาดหายไปคือความต้องการของลูกค้าที่ไม่ได้แสดงออกมาผ่านการสัมภาษณ์ หรือที่เรียกว่า Unmet Need ซึ่งโดยมากมักจะเป็นความต้องการในเชิงความรู้สึก ซึ่งความท้าทายสำคัญของ AP คือกระบวนการค้นหา Unmet Need ของลูกค้าให้เจอและพัฒนาออกมาเป็นโปรดักต์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง
เคลย์มอร์ คือ Innovation Lab ที่เกิดขึ้นมาเพื่อค้นหา Unmet Need ของลูกค้าที่ยังไม่เคยถูกค้นพบ เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นโปรดักต์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้จริงๆ โดยวิธีคิดจะตั้งอยู่บนกระบวนการจาก Stanford Design Thinking ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้การยอมรับในระดับโลกของมหาวิทยาลัย Stanford ความน่าสนใจคือการใช้ทีมงานที่เป็นคนรุ่นใหม่ทั้งหมด และมีจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ มีเป้าหมายคือนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาต้องจับต้องได้และใช้งานได้จริง อย่างเช่น Personal guard ที่สร้างความปลอดภัยให้กับลูกบ้าน
SEAC หลักสูตรการเรียนรู้ที่เหมาะกับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาใหญ่ของระบบการศึกษาทุกวันนี้ คือในบางวิชาชีพ ความรู้ที่ได้มาหลังจากจบการศึกษา อาจล้าสมัยไปแล้วเมื่อเข้าสู่โลกการทำงานจริง ทำให้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยทุกวันนี้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเพื่อให้สอดคล้องกับโลก และความต้องการของตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นงานในตำแหน่ง Data Scientist ที่ถือว่าเป็นแรงงานที่ตลาดต้องการเป็นอย่างมาก แต่แรงงานกลับยังมีน้อยและไม่เพียงพอ
เอสอีเอซี หรือ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน ดำเนินธุรกิจในการสร้างวิธีการเรียนรู้ของคนในองค์กร และคนในสังคมด้วยกระบวนการใหม่ๆ ภายใต้แนวคิดสังคมแห่งการเรียนรู้ในทุกช่วงอายุ Lifelong Learning Ecosystem โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันระดับโลกอย่างมหาวิทยาลัย Stanford ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ AP ก้าวเข้าสู่ธุรกิจของการศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการ Reskill ทักษะต่างๆ ให้เหมาะสมกับตลาดแรงงาน เพื่อสร้างคนทำงานที่มีทักษะพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
ทั้ง 3 ธุรกิจใหม่นี้ เรียกได้ว่าเป็นวิสัยทัศน์สำคัญของ AP ในการต้านกระแส Disrupt พร้อมเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่งมากขึ้น และที่สำคัญคือการสร้างโลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้าอย่างเราๆ ได้เป็นผลสำเร็จ