เมื่อไม่กี่เดือนก่อน AIS ได้รับรางวัล 2018 Frost & Sullivan Thailand Excellence Award ด้านผู้นำเทคโนโลยี IoT และ นวัตกรรม Cloud Services ก็ทำให้คนทั่วไปแบบผม (ผู้เขียน) แปลกใจ เพราะเข้าใจมาตลอดว่าเขาทำโครงข่ายโทรศัพท์และเน็ตบ้านเท่านั้น
ในวันที่เทคโนโลยี AI, IoT, Cloud และ Big data กลายเป็นเรื่องปกติของทุกภาคส่วนธุรกิจ ใครที่ไม่ขยับตัวตามก็อาจการเป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง ที่อาจต้องวิ่งตามเจ้าอื่นอีกหลายปี หรืออาจพ่ายแพ้และหายไปจากสนามธุรกิจได้ในพริบตาเดียว
AIS ที่เพิ่งคว้ารางวัลจากงาน 2018 Frost & Sullivan Thailand Excellence Awards ด้าน IoT และ Cloud มาหมาดๆ ได้พัฒนาเครือข่าย NB-IoT เพื่อการใช้งานนวัตกรรม และเทคโนโลยี IoT อย่างจริงจัง จนในวันนี้เครือข่าย NB-IoT ได้ขยายไปครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด และยังสร้าง IoT Ecosystems ผ่าน AIS IoT Alliance Program (AIAP) ที่เชื่อมโยงนักพัฒนา Solution Provider และองค์กรต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรม IoT ขึ้นในหลายๆ ภาคส่วน
มาดูตัวอย่างโครงการที่เกิดขึ้นและมีการใช้งานจริงกัน อย่างเช่นโปรเจ็คที่ AIS ร่วมกับ บริษัท ปตท. AIS ก็เข้าไปช่วยวางระบบ IoT มาช่วยลดขั้นตอน และเพิ่มความสามารถระบบ Cathodic Protection ในท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้ดีขึ้น และมีเซ็นเซอร์คอยตรวจสอบสภาพของท่อส่งก๊าซได้ตลอดเวลา พร้อมส่งข้อมูลเข้าแอพพลิเคชั่นมือถือของวิศวะกรผู้ดูแลได้ทันที
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ AIS ร่วมมือกับบริษัทโครตรอนกรุ๊ป คือ ‘เครื่องช่างน้ำหนักหยอดเหรียญ’ ที่แก้ปัญหาการจัดการเรื่องเหรียญเต็มเครื่องด้วย เซ็นเซอร์วัดปริมาณเหรียญภายในเครื่อง เชื่อมต่อกับเครื่อข่าย AIS NB-IoT ที่จะคอยส่งข้อมูลแจ้งเตือนเมื่อเหรียญเต็มเข้าสู่ระบบ จากทุกเครื่องในประเทศไทยทั้ง 77 จังหวัด
ให้ใกล้ตัวเข้ามาอีกคือโครงการ “Perfect Smart City” ของ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟ็ค ที่นำเครื่อข่าย NB-IoT มาใช้งานในโครงการที่อยู่อาศัยของเขา ไม่ว่าจะเป็นระบบความปลอดภัย โดยการตรวจสอบการเข้า-ออกของรถยนต์ที่ได้รับอนุญาตในหมู่บ้าน จักรยานอัจฉริยะ mobike การจัดแสงสว่างฝนหมู่บ้าน ความปลอดภัยในบ้าน ระบบติดตามสัตว์เลี้ยง และบริการอื่นๆ ของโครงการ ปัจจุบันเริ่มนำร่องให้บริการแล้ว 15 โครงการในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ในภาคการศึกษา ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็มีการทำ Smart Trash Bin ที่เข้ามาจัดการปัญหาขยะล้นถังในจุดต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ผ่านเครือข่าย NB-IoT ที่ช่วยในการตรวจสอบปริมาณขยะ และกลิ่นภายในถังได้ตลอดเวลา ช่วยในการจัดเก็บขยะได้ก่อนที่ถังขยะเต็ม และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการได้อีกด้วย
ส่วนทางด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้พัฒนาการดูแลคุณภาพยาและเวชภัณฑ์ในคลังยาด้วย เครือข่าย NB-Iot มาช่วยตรวจสอบและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม ซึ่งใช้จริงภายในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสุรนารี และยังสามารถดูได้ผ่าน chat application ภายของโรงพยาบาลได้ตลอดเวลา
ที่ยกมานั้นเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้ AIS ได้รับรางวัล F&S ปีล่าสุด เพราะการมาเป็นผู้ช่วยในการหาโซลูชั่นใหม่ๆ ในการพัฒนาระบบโดยใช้ IoT solution มาประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ที่ใช้บนเครือข่าย NB-IoT อีกทั้งมุ่งเน้นสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ การให้บริการแอพพลิเคชั่นที่ซับซ้อนแต่เชื่อมโยงกันในหลายอุตสาหกรรม มากกว่าไปใช้งานแค่ Asset tracking เพียงอย่างเดียว
และในตอนนี้ AIS ได้ขยายเครือข่าย NB-IoT ไปทั่วประเทศ เพื่อรองรับบริการด้าน IoT เชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรมครอบคลุม 77 จังหวัด จึงทำให้คนที่สนใจจะพัฒนาโครงการ IoT ใช้ในหน่วยงานของตัวเองก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งถ้าสนใจสามารถติดต่อ AIS ได้โดยตรงที่ AIS Corporate Call Center หรือที่หน้าเว็บไซต์ http://business.ais.co.th/iot/