แม้เราจะรู้จักที่มาที่ไป รวมถึงสาเหตุของ ‘ภาวะโลกร้อน’ มาไม่ต่ำกว่าสิบปี ทว่ากระแส ‘Climate Strike’ หรือการเดินขบวนรณรงค์เรียกร้องให้ทุกคนหันมาใส่ใจกับปัญหาที่เกิด ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ตั้งแต่ในระดับบุคคลเพิ่งจะโหมจุดติดเมื่อไม่กี่ปีมานี้
โดยเฉพาะเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้าที่คนทั้งโลกได้รับรู้เรื่องราวของ เกรต้า ธันเบิร์ก หญิงสาวชาวสวีเดนวัย 16 ปีซึ่งพยายามลงมือแก้ปัญหาด้วยตัวเองมาตั้งแต่เด็ก เช่น ปลูกผักไว้กินเองที่บ้าน ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อลดการใช้พลังงาน ทว่าหลังจากเธอศึกษาถึงสาเหตุที่สภาพอากาศเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแล้วก็ตระหนักได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นหนักหนาเกินกว่าที่เธอจะอยู่เฉยๆ
สิงหาคมปี 2018 กลายเป็นซัมเมอร์ที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ 262 ปี ของประเทศสวีเดน เกรต้าจึงเลือกที่จะประท้วงโดยการไม่เข้าเรียน แม้ว่าเพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ ที่เธอชักชวนให้เข้าร่วมจะไม่มีใครสนใจเลยก็ตาม แต่เธอก็ตัดสินใจที่จะทำเพียงคนเดียว โดยเธอไปนั่งอยู่ด้านหน้ารัฐสภาสวีเดน พร้อมกับชูป้ายแผ่นไม้ที่เขียนข้อความว่า “ไม่ไปเรียนหนังสือเพื่อประท้วงโลกร้อน”
อาจนับได้ว่าการกระทำที่กล้าหาญของเธอนั้น คือจุดเริ่มต้นที่ผลักดันให้ภาครัฐ-เอกชนทั่วโลกลงมือทำในสิ่งที่ตนเองถนัดเพื่อยับยั้งไม่ให้ปัญหาเลวร้ายไปมากกว่านี้
ย้อนกลับมาที่ไทย เชื่อได้ว่านอกจากการเรียกร้องของเกรต้า และ ‘Climate Strike Thailand’ กลุ่มเยาวชนไทยที่เดินหน้ารณรงค์เรื่องปัญหาโลกร้อนเช่นกันนั้น อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทุกคนตื่นกลัวและตื่นตัวกับการหาทางออกมากขึ้นกว่าแต่ก่อนก็คือ สภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวระดับที่คนเกิดในเขตร้อนอย่างเราๆ ไม่อาจทนไหว โดยเฉพาะภายในเขตเมืองที่โอบล้อมไปด้วยบ้าน ตึกสูงระฟ้า คอนโดมิเนียม และห้างสรรพสินค้า จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ความร้อนสะสม หรือที่เรียกกันว่า โดมความร้อน (Urban Heat Island) ซึ่งเกิดจากวัสดุก่อสร้างที่ใช้สร้างอาคารส่วนใหญ่นั้นมีคุณสมบัติคายความร้อนได้ช้า แล้วสะสมจนกลายเป็นโดมความร้อนครอบพวกเราไว้นั่นเองนั่นเอง
การปลูกต้นไม้ ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ลดการใช้ไฟฟ้าล้วนเป็นวิธีที่ดีในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนในระดับบุคคล แต่หากที่อยู่อาศัยของเราเป็นตัวการที่ทำให้ความร้อนปกคลุมไม่ถ่ายเทไปไหนด้วยล่ะ เราจะทำอย่างไรได้บ้าง?
หากจะอธิบายถึงสาเหตุของปรากฏการณ์โดมความร้อนให้ละเอียดขึ้นอีกนิด ก็คงต้องเริ่มจากการบอกว่าแทบทุกกิจกรรมในชุมชนนั้นใช้พลังงานทางใดทางหนึ่ง เพื่อขับเคลื่อนยานยนต์ เพื่อสร้างความเย็นภายในอาคาร หรือเพื่อประกอบอาหาร และเรายังมีแหล่งพลังงานอย่างดวงอาทิตย์ซึ่งให้ความร้อนมหาศาลเช่นกัน
หากกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีต้นไม้ ดิน แหล่งน้ำ อากาศถ่ายเท ความร้อนก็จะถูกดูดซับไว้ใช้ในการสังเคราะห์แสง บ้างสะท้อนแผ่กระจายออกไปทั่วบริเวณ และลอยขึ้นสู่ที่สูง ทำให้อุณหภูมิบริเวณเหนือพื้นดินอยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือถ้าดูจากสถิติแล้ว ย่านชานเมืองหรือต่างจังหวัดนั้นจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าในเมือง 3-10 องศา
ในทางกลับกัน ในเมืองที่มีประชากรมากๆ ปริมาณกิจกรรมก็จะมากขึ้นหลายเท่าตัว ประกอบกับพื้นที่ในเมืองนั้นห้อมล้อมไปด้วยบ้าน ตึกอาคาร ถนน ซึ่งวัสดุที่ใช้ก่อสร้างมีคุณสมบัติในการคายความร้อนที่ด้อยกว่าพื้นดิน ใบหญ้า หรือแหล่งน้ำอย่างเทียบไม่ติด แล้วยังไม่นับว่าวัสดุอย่างยางมะตอยที่นิยมทำถนนนั้นมีสีดำเข้ม ซึ่งสีเข้มมีคุณสมบัติในการดูดซับความร้อนมากกว่าสีอ่อนอย่างที่เรารู้กันดีอีกด้วย
ผลลัพธ์ก็คือ ความร้อนไม่สามารถระบายออกไปได้ จนก่อตัวเป็นโดมที่ครอบผู้คนในเมืองเอาไว้
อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า ในทางหนึ่ง เราสามารถแก้ไขปัญหาโลกร้อนได้ด้วยการลดหรือเลือกบริโภคมากขึ้น เช่น ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า หรือเลือกใช้ขนส่งมวลชนในการเดินทาง ซึ่งก็มีแคมเปญมากมาย รวมทั้งผลประโยชน์แลกเปลี่ยนที่ภาครัฐและเอกชนช่วยกระตุ้นให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม
แต่เมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของเรานั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิภายในเมืองสูงขึ้น เราจะทำอย่างไรได้บ้าง เพราะจะให้ทุบบ้านทิ้งก็คงไม่ใช่เรื่อง
บางคนก็เลือกใช้วิธีปลูกต้นไม้รอบบ้านให้เยอะขึ้น แต่สำหรับคนที่อยู่ในคอนโด ไม่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ บ้างก็อยู่ติดริมถนน ไม่สามารถทำอะไรได้มากนั้น ขอให้ฟังทางนี้ เพราะ BegerCool มีแคมเปญ ‘One Wall One World หนึ่งผนังรวมพลังลดโลกร้อนกับสี BegerCool’ ซึ่งเชื่อว่ามันจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าร่วมได้
ก่อนจะเล่าถึงแคมเปญ ต้องแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับเทคโนโลยีในสี ‘BegerCool’ ที่มีชื่อว่า ‘ไมโครสเฟียร์เซรามิก’ ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีพิเศษที่ใช้ทำฉนวนกันความร้อนให้กับชุดนักผจญเพลิง เบรกสําหรับรถแข่ง ฟอร์มูล่า-1 และยังเป็นเทคโนโลยีแบบเดียวกับที่องค์การนาซ่าใช้ป้องกันความร้อนให้กับ กระสวยอวกาศอีกด้วย โดยปัจจุบันมีผู้นำ BegerCool ไปทาผนังอาคารที่พักอาศัยแล้วกว่า 300 ล้านตารางเมตร ซึ่งเทียบเท่ากับสวนลุมพินี 521 แห่ง อุณหภูมิในเมืองคงจะเย็นขึ้นอีกไม่น้อยเลย ถ้าตึกและอาคารหันมาเลือกใช้สีเบเยอร์คูลมากขึ้น
นั่นจึงเป็นที่มาของแคมเปญ ‘One Wall One World’ ที่ชวนให้คุณทาผนังบ้านหรือตึกอาคารด้วยสี BegerCool ซึ่งนอกจากจะทำให้บ้านของคุณเย็นสบาย ช่วยให้คุณประหยัดพลังงานและค่าไฟกว่า 30% แล้ว เพียงคุณถ่ายรูปใบเสร็จการซื้อสี BegerCool มาที่ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ Begerpaint หรือ ทางเว็บไซต์ ทางเบเยอร์จะบริจาคเงิน 100 บาทต่อหนึ่งใบเสร็จให้กับมูลนิธิโลกสีเขียวที่ทำงานขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในไทยมาอย่างยาวนาน เพื่อนำไปใช้รณรงค์และทำงานเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนต่อไป
แค่เริ่มจากตัวเราเอง เริ่มจากที่พักอาศัยของเรา เพื่อโลกที่เราอาศัยอยู่