เป็นที่รู้กันดีว่ายุคนี้คือยุคที่ทุกอย่างเชื่อมต่อกันถึงกันทั่วโลก ตั้งแต่เรื่องการสื่อสารไปจนถึงเรื่องการค้า และเมื่อมีพายุลูกใหญ่อย่างโควิด-19 เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว ก็ทำให้ทุกอย่างก็พากันล้มพับจนจับกันไม่ทัน ตัวเลข GDP ล่าสุดของบ้านเราก็ร่วงไปถึง -12.2%
ซ้ำหนักก็คือ ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติก็ระบุว่า คนไทยกว่า 80% ไม่มีเงินเก็บถึง 6 เดือน และถ้าปลายปีนี้ยังไม่ดีขึ้น นักวิเคราะห์ดังๆ หลายเจ้าต่างก็พากันทำนายวิกฤตครั้งนี้ว่าจะหนักกว่าครั้งไหนๆ
ดังนั้นทุกคนต้องตั้งรับในเรื่องการเงินให้ดี และรู้จักบริหารความเสี่ยง เพราะถึงแม้เราจะเจ็บหนัก แต่ก็จะยัง survive กันต่อได้ และนี่คือเหล่าข้อสำคัญที่เราต้องคิดก่อนวิกฤตครั้งถัดไป
จะวางแผนการเงินต้องมองไปให้ถึงระยะยาว
เริ่มต้นจากข้อง่ายๆ แต่หลายคนก็ยังทำได้ยากคือการทำ ‘บัญชีรายรับรายจ่าย’ จุดประสงค์ก็เพื่อให้เราได้เห็นตัวเลขรายจ่ายและเงินออมชัดเจน สมการทำบัญชีง่ายๆ คือ รายได้ – เงินออม = ค่าใช้จ่าย ถ้าเราใช้ก่อนแล้วมานั่งบันทึกทีหลัง เผลอแว๊บเดียวใช้หมด สุดท้ายเราก็จะไม่เหลือเงินให้ออมแล้ว และการวางแผนเรื่องการเงินให้เวิร์กควรเริ่มตามสเต็ปนี้ (อย่าข้ามขั้น)
1. ความต้องการพื้นฐานและสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
เราต้องแบ่งเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 3-6 เดือน ซึ่งจะเป็นเหมือนแอร์แบ็กสำคัญที่มาช่วยชีวิตยามเราโดนไล่ออก หรือยอดขายตก อย่าลืมว่าแม้วันที่รายได้ไม่มี แต่รายจ่ายมักจะสม่ำเสมอ สรุปง่ายๆ ก็คือ เงินส่วนนี้เราจะต้องเก็บไว้ให้พอเพียงกับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน
2. ออมเงินเพื่ออนาคต
เมื่อเคลียร์เรื่องความต้องการพื้นฐานจบไป เราก็จะต้องตั้งเป้าระยะยาวที่แน่นอนมากขึ้น นั่นก็คือ วางแผนเกษียณ เพราะถ้าไม่วางแผนเรื่องนี้ให้ดี เป้าหมายการเกษียณตั้งแต่อายุยังไม่เยอะก็คงจะทิ้งห่างไปอีกยาวๆ ดังนั้นเราอาจจะต้องวางเงินลงทุนแบบระยะยาว เช่น RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมตราสารทุน (หุ้น) ว่าเราจะใส่เงินลงไปเท่าไหร่ เพื่อให้พอกับช่วงเกษียณ อยากเกษียณเร็วเท่าไหร่ก็ต้องออมมากขึ้นเท่านั้น หรือถ้าออมเงินเพื่อผ่อนบ้านผ่อนคอนโด ถือเป็นการลงทุนระยะกลาง เราควรจะวางเงินใน LTF หุ้นกู้เอกชน กองทุนรวม แต่ต้องคิดคำนวณให้รอบเลยว่าเรารับความเสี่ยงได้ระดับไหน
3. ลงทุน
เมื่อเราวางแผนการเงินในระยะสำคัญและเร่งด่วนจบ ต่อมาก็คือ การลงทุนตามที่ใจเราอยากลง ซึ่งก็มีทั้งธุรกิจส่วนตัวหรือจะส่วนเพื่อน หุ้นรายตัว หรืออสังหาฯ แต่เงินก้อนนี้จะต้องถูกแบ่งออกมาไม่รวมกับข้อ 1 และ 2 เพื่อให้เราพร้อมชนกับความเสี่ยงได้ เป้าหมายสำคัญของเงินก้อนนี้ก็คือ Wealth! ทำให้เรามั่งคั่งหรือเป็นส่วนที่ทำให้เราเงินของเราผลิดอกออกผล
แล้วเราจะลงทุนอย่างไรให้ไม่เสี่ยงเกิน
ก่อนการลงทุนเราต้องประเมินความเสี่ยงตลอดเวลา มีกระแสเงินสดมากพอ ต้องบริหาร Cashflow ให้ได้ก่อน และถ้าจะให้ดีต้องเลือกลงทุนในเรทที่มีความเสี่ยงต่ำ ลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่น่าเชื่อถือ ซึ่งตัวเราทุกคนสามารถพิจารณาเรื่องเหล่านี้ได้
บลจ.พรินซิเพิล (Principal Asset Management) คือหนึ่งในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่น่าสนใจ เพราะเป็นหนึ่งในบริษัทบริหารสินทรัพย์ชั้นนำระดับโลกติดทำเนียบบริษัทชั้นนำ 500 อันดับในสหรัฐอเมริกาหรือ FORTUNE 500 (ที่มา www.principal.th ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2563) ได้เข้ามาให้บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย ผ่านการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ CIMB Group มาแล้วกว่า 15 ปี
สำหรับจุดเด่นของบลจ. พรินซิเพิลนั้นมี 3 ด้านคือ
1. ความเป็น Global brand การเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ที่ผู้ลงทุนสามารถเชื่อมั่นในความสามารถในการบริหารกองทุนได้ ได้รับรางวัลบริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยมจาก Morningstar Thailand Fund Awards ประเภทกองทุนตราสารหนี้ในประเทศ (Best Fund House – Domestic Fixed Income) ระหว่างปี 2561 ถึง 2563 เป็นระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน
2. Quality of Products ผลิตภัณฑ์กองทุนที่มีจุดเด่นทางด้าน Asset Allocation บริหารด้วยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ ตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการจัดพอร์ตการลงทุนเอง ยกตัวอย่างเช่น กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม Principal Balanced Income Fund (PRINCIPAL iBALANCED) การันตีคุณภาพด้วย Morningstar ratings 4 ดาว (ที่มา: Morningstar Thailand ข้อมูล ณ วันที่ 31 ก.ค. 2563)
3. Anywhere anytime ช่องทางดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถซื้อขายกองทุนได้ทุกที่ทุกเวลา กับแอปพลิเคชัน Principal TH สำหรับลูกค้ากองทุนรวม สามารถเปิดบัญชีลงทุน ติดตามข้อมูลและผลการดำเนินงาน รวมถึงการซื้อ ขาย สับเปลี่ยนกองทุนผ่านโทรศัทพ์มือถือ และแอปพลิเคชัน Principal Provident Fund สำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ. พรินซิเพิล ติดตามมูลค่าหน่วยลงทุน ดูอัตราผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี สับเปลี่ยนแผนการลงทุน ดูข้อบังคับกองทุนและรายละเอียดการลงทุนต่างๆ รวมถึงสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมที่เราเก็บเข้ากองทุนได้เอง
การมีผู้เชี่ยวชาญให้มือใหม่สามารถปรึกษาเรื่องการลงทุนก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพื่อให้นักลงทุนจะได้ไม่เจ็บกับคำว่า “เขาบอกมา” บลจ. พรินซิเพิล ก็มีที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้กับทุกการลงทุน เพื่อช่วยให้ไม่ว่าวิกฤตไหนๆ เราก็รู้สึกอุ่นใจมากขึ้น และในปีนี้ทางพรินซิเพิลก็ได้วาง Global theme ภายใต้คอนเซปต์ที่ชื่อว่า “By Your Side” เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ผันผวน โดยเฉพาะในช่วง Covid-19 ทำให้หลายคนได้รับผลกระทบหนัก ทางพรินซิเพิลจึงอยากที่จะอยู่เคียงข้าง ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเรื่องการลงทุน เพื่อให้ทุกคนก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน
ถ้าเราเริ่มวางแผนการเงินการลงทุนให้ดีตั้งแต่วันนี้ เราก็จะพร้อมรับกับวิกฤตครั้งหน้า หรือถ้าไม่มีวิกฤตใหญ่เกิดขึ้นมา เราก็จะได้ประโยชน์เต็มๆ กับสิ่งที่เราได้เริ่มทำในวันนี้
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Principal TH ได้ที่ App Store และ Google Play
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.principal.th หรือโทร 02 686 9595
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน/ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / กอง Principal iBALANCED โปรดศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลและการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ
Copyright @ 2020 บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช ประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ์ ข้อมูลที่ประกอบในเอกสารนี้ :
(1) เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทมอร์นิ่งสตาร์ และ/หรือ ผู้ให้บริการข้อมูล
(2) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการทำซ้ำ หรือเผยแพร่
(3) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้อง ครบถ้วน และความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกกรณีจากการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
https://marketeeronline.co/archives/60558