“เรายังจำเป็นอยู่ไหม?”
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกันชีวิตประจำวันของเรามาก ในการให้ความสะดวกสบาย หรือความรวดเร็วติดต่อสื่อสาร ทำธุรกรรมทางการเงิน ฯลฯ เพราะไม่ใช่แค่งานบัญชี หรือตัวเลข แต่เทคโนโลยีก็ได้สร้าง AI หรือปัญญาประดิษฐ์เขามาเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ หรือสร้างอะไรบางอย่างให้กับเรา คำถามที่ตามมาคือ เมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาอำนวยความสะดวกให้เรามากยิ่งขึ้นทุกวันๆ แล้วแรงงานอย่างเราๆ ยังจำเป็นไหม
เรามาดูคำตอบของเหล่าบุคลากรในวงการของการเรียนการสอน Coding ว่าพวกเขามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นนี้
“มีการคาดการณ์ว่า ปี 2025 กระบวนการงานต่างๆ ของเราจะถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือว่าพวก AI ประมาณ 50% แต่ในขณะเดียวกันมันจะสามารถสร้างงานใหม่ๆ ที่เราไม่เคยมีมาก่อนเลย ประมาณ 133 ล้าน งานทั่วโลก แปลว่าในอนาคตมันจะเกิดขึ้นกับงานใหม่ๆ มหาศาลเลย เราพบว่างานที่คาดว่าจะหายไป ลักษณะงานเหล่านี้เป็นงานที่มีกฎเกณฑ์ ชัดเจน ตายตัว เป็นงานที่ทำซ้ำเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์ทำเก่งมาก และทำได้เร็วกว่า หนักกว่าเราอีก เพราะคอมพิวเตอร์ไม่เคยหยุดทำงาน
ในส่วนงานที่จะไม่ถูกแทนที่คือความเป็นไปได้ต่ำกว่า 1% คืองานเกี่ยวกับการบำบัดความเครียด ลักษณะคล้ายๆ กับหมอนวดแผนโบราณ เพราะ AI เก่งแค่ไหน มันคงไม่สามารถมาจับเส้นดัดตัวได้เหมือนคนเราแน่นอน
อีกส่วนก็คืองานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ บางรายงานผลวิจัยบอกว่าในอนาคตเราจะเกิดศิลปินมากขึ้น ศิลปินในการสร้างงานศิลปะ ในการเขียนหนังสือต่างๆ พวกนี้จะมีมากขึ้น เพราะคนเราจะถูกทำให้เป็นอิสระออกจากงานที่ต้องทำประจำ และใช้อิสรภาพตรงนั้นมาสร้างผลงานของตัวเอง ตราบใดที่มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใช้มนุษย์ก็ยังจะต้องการอยู่ในโลกใบนี้ ในอนาคตนั้นเทคโนโลยีต่างหากที่จะมาเป็นส่วนที่ทำให้เป็นเครื่องมือให้มนุษย์เรานั้นสามารถที่จะสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่ ปลดปล่อยจินตนาการได้อย่างไร้รูปแบบ”
รัฐศาสตร์ กรสูต
รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : แนวโน้มอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต อาชีพที่มีโอกาสเติบโตขึ้นจาก Coding
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-02/94016
“เรื่องของ Coding มีบทบาทมากทุกวันนี้ถ้ามองไปรอบตัว แทบไม่มีอะไรที่ไม่เกี่ยวกับ Code แล้ว สิ่งของที่ใกล้ตัวสุดอย่างมือถือ แอปพลิเคชัน หรือตัวฮาร์ดแวร์ที่มันทำงานได้ พื้นฐานก็มาจาก Code หรือแม้กระทั่งการเข้าตึก แล้วก็แตะบัตร อันนั้นก็เกี่ยวแล้ว
อาม่าก็เล่นเฟซบุ๊กได้นะ จะได้คุยกับหลานๆ ผ่านไลน์อย่างนี้มีเหมือนกัน แต่ถ้าถามว่าคนนอกมองว่ามันยากไหม มันยากเพราะมันเป็นครั้งแรก ลองคิดว่าถ้าเราไม่เคยเต้นเลย เต้นครั้งแรกยาก ไม่เคยทำอาหารเลย ทำอาหารครั้งแรกยาก เพราะฉะนั้นยากมันคือครั้งแรก พอเราเคยทำแล้วเราทำเป็นแล้ว คำว่ายากมันก็หายไป แต่ถ้าจะถามว่าใครจะมองว่าเทคโนโลยีมันง่ายก็อาจจะต้องเป็นคนที่โอเคมีพื้นฐาน มีความรู้เรื่องพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมาสักหน่อย หรือว่ารู้จัก logic มาก่อนแล้วมาเรียน Code มันก็จะง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่มีพื้นฐานอะไรเลย มันต้องยากอยู่แล้ว
แต่ใครที่สนใจ เติ้ลว่าไม่ลองก็ไม่รู้ ก็ต้องลองดู ลองทำดูว่ามันใช่ทางของเราจริงๆ หรือเปล่า สำหรับคนเริ่มใหม่ค่ะ เติ้ลว่าลองไปเล่นเกมอัลกอริทึมดูก่อนก็ได้ ว่าเอาบล็อกไปลากวาง ถ้าเขียนโปรแกรมต้องคิดแบบนี้นะ แล้วลองเล่นในลักษณะของเกมดูก่อนว่าเราชอบการคิดแบบนี้หรือเปล่า”
เตอเติ้ล ปริยธิดา
นักพัฒนาซอร์ฟแวร์
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : เพราะใครๆ ก็เรียน Coding ได้ แม้ไม่ใช่เนิร์ดไอที
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-12/103664
“Coding เป็นทักษะในศตวรรษที่ 21 เพราะว่าการเรียนไม่ได้เรียนเพื่อเป็นอาชีพ Programmer เท่านั้น แต่ว่าการเรียน Coding จะทำให้เด็กคิดอย่างเป็นระบบ แล้วก็แก้ไขปัญหาได้ สิ่งเหล่านี้สามารถไปต่อยอดได้ในทุกวิชาหรือแม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เราจะทำอาหาร เขาก็จะต้องคิดเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกันว่าจะต้องทำอะไรก่อน หรือทำอะไรหลัง ถ้าสมมติว่าบางคนที่เขาคิดไม่เป็นระบบหรือว่าไม่เป็นขั้นเป็นตอน ก็อาจจะเกิดปัญหาระหว่างทำหรือทำได้ไม่ดี
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มันมีข้อดีคือ ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น ในช่วงที่เรากำลังเริ่มจะมี Coding เข้ามาโดยเฉพาะเรื่องของการศึกษาจะทำให้เหมือนเด็กมีพื้นฐานในการคิดอย่างเป็นระบบ แล้วก็เข้าใจ แล้วก็สามารถแก้ปัญหาได้ดีขึ้น รวมถึงพร้อมที่จะปรับตัวอยู่กับในโลกของเทคโนโลยี เขาก็จะกล้าที่จะลงมือทำ กล้าที่จะสร้างสรรค์เทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ
คนที่คิดว่าเทคโนโลยีเข้ามาแล้วอาจจะกลัวว่าเราจะตกงาน จะมาแทนที่เราต่างๆอาจจะต้องเปิดใจ แล้วก็ปรับตัว อย่างแรกคือเทคโนโลยีไม่ได้ยากเกินไปสำหรับทุกคน เขามาช่วยเรา เพราะฉะนั้นเราต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้ ในเมื่อเขาช่วยเราในสิ่งที่เขาทำได้ เราก็จะสบายขึ้น เราก็จะไปทำอะไรใหม่ๆ มากขึ้น ทุกอย่างมันก็จะไปได้ดีขึ้น”
ปาจรีย์ อัศวปยุกต์กุล
ผู้ก่อตั้งสถาบัน Code Genius
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : การรับมือและปรับตัว ในยุคของทักษะแห่งอนาคต
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-03/94983