แม้ Coding จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีในสายตาพ่อแม่ ก็ยังคิดไม่ออก ตามไม่ทันว่าลูกๆ เรียนไปแล้วจะได้ทักษะอย่างอื่นไหม เรียนจบไป จะทำงานอะไรได้บ้าง
ตั้งแต่ตอนนี้ไปจนถึงในอนาคต Coding จะไม่ได้เป็นแค่เรื่องของเนิร์ดคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ มาดูกันว่าเด็กๆ จะเติบโตในหน้าที่การงานจาก Coding ได้อย่างไรบ้าง
“หลายคนมีความเข้าใจผิดว่าการเรียน Coding เรียนไปเพื่อเป็นนักโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หรือว่าเรียนเพื่อไปเป็นคนทำงานด้านเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราเรียน Coding เพื่อจะเข้าใจทักษะ เข้าใจคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น คล้ายกับว่าเราเรียนวิชาชีวะ เราไม่ได้เรียนเพื่อจะจบไปเป็นนักชีววิทยาเท่านั้น แต่เราต้องการเรียนเพื่อให้รู้ว่าร่างกายเราทำงานยังไง เหมือนอย่างคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแท็บแล็ต มือถือ หรือระบบ cloud เราต้องการที่จะทราบว่าลึกๆ ข้างหลังบ้าน มันทำงานยังไง มันออกคำสั่งยังไง เพื่อที่เราจะได้เข้าใจมัน แล้วสามารถใช้งานมันได้อย่างเต็มที่
การเรียน Coding เราไม่ได้เรียนเพื่อให้มันกลายเป็นเป้าหมาย การเรียน Coding คือการเรียนเพื่อให้มันกลายเป็นสะพานที่จะพาเราไปสู่จุดหมายที่เราต้องการ ในอนาคตจะทำงานด้านไหน แม้แต่กระทั่งเป็นศิลปิน เป็นดารา เป็นนักการเมือง เป็นสื่อสารมวลชน กระทั่งถึงนักบัญชี นักกฎหมาย ทุกคนต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานทั้งสิ้น ดังนั้นการเรียน Coding คือการเสริมทักษะให้เราสามารถทำงานในอนาคตได้อย่างดียิ่งขึ้น”
รัฐศาสตร์ กรสูต
รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
แนวโน้มอาชีพใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต อาชีพที่มีโอกาสเติบโตขึ้นจาก Coding
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-02/94016
“การเรียน Coding ไม่ได้จบที่การคิดอย่างเป็นระบบ แต่หัวใจหลักสำคัญคือ ถ้าเรามีการคิดอย่างเป็นระบบที่ดีแล้ว จะสามารถลงมือทำเขียน Coding ได้ดี
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราต้องการเขียนโปรแกรมให้ตอบโจทย์ในสิ่งๆ หนึ่ง การที่เราจะไปถึงเป้าหมายได้ อาจจะมีอยู่หลายวิธีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการคิดอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายจึงเป็นหัวใจที่สำคัญ
ถ้าเรามองย้อนกลับไปในอดีตคนสมัยก่อนก็อาจจะคิดว่าทุกคนต้องขยัน อดทน ใครขยันและอดทนทำงาน แล้วก็เขาก็จะเหมือนกับว่าได้ทำงานที่ดี ได้เงินเยอะ แต่ว่าในสมัยนี้พอมันมีเรื่อง Coding และเทคโนโลยีเข้ามาแนวคิดนี้ก็อาจจะเปลี่ยนไป เพราะไม่ใช่ว่าคนที่ขยันหรือว่าอดทนจะทำงานได้เงินเยอะ แต่ว่าอาจจะเป็นคนที่สามารถปรับตัว เรียนรู้ แล้วก็เอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์กว่า”
ปาจรีย์ อัศวปยุกต์กุล
ผู้ก่อตั้งสถาบัน Code Genius
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
การรับมือและปรับตัว ในยุคของทักษะแห่งอนาคต
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-03/94983
“ในอนาคตบริบทของสังคม มันค่อนข้างจะน่าอึดอัด และเดินไปเร็ว เด็กในอนาคตต้องมีทักษะการจัดการอารมณ์ จัดการกับความรู้สึกของตนเอง มีทักษะที่จะเข้าอกเข้าใจผู้อื่น เพราะมันไม่สามารถใช้คุณคนเดียวได้อีกต่อไปแล้ว มันไม่ได้ใช้ทักษะแบบเดียวได้อีกต่อไป คุณต้องเอาทักษะมารวมกัน เอาทรัพยากรมารวมกันให้ได้เพื่อที่จะแก้ปัญหา
ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการอยู่ร่วมกัน เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน จะกลายเป็นทักษะที่สำคัญในอนาคต ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นมากๆ มานานแล้ว เพียงแต่ว่าเราเพิ่งเห็นความสำคัญของมันมากขึ้นในปัจจุบัน ที่เราจำเป็นต้องมาร่วมแรงร่วมใจกันทำอะไรบางอย่างมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
อนาคตคนหนึ่งอาจจะต้องมีทักษะไม่เฉพาะทางมากๆ ไปเลย ก็จะต้องเป็นทักษะที่หลากหลายมากพอ ตรงกลางอาจจะลำบากอยู่พอสมควร ในแง่ของทักษะมันจะมีความเป็นที่สุดมากขึ้น อนาคตเด็กอาจจะต้องเหนื่อยมากขึ้น เพราะว่าเขาจะต้องอยู่กับปัญหาที่มันเกิดขึ้นจากยุคก่อน และต้องแก้ พยายามแก้มันเพื่อการเอาตัวรอดของคนในยุคเขา พร้อมกับที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง”
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ
นักวิชาการอิสระ ด้านการศึกษา
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
Coding in Worldwide Education มุมมองการศึกษา Coding จากทั่วโลก
https://thematter.co/brandedcontent/coding-education-05/96656