เวลาที่เราเดินทางไปยังเมืองแห่งไหน หากเราอยู่ในฐานะนักท่องเที่ยว เราอาจได้สัมผัสความเป็นเมืองด้วยสิ่งแวดล้อมหรือข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกเลือกมาโปรโมต ซึ่งอาจเป็น perception ที่แสนจะเปลือกนอกไปสักหน่อย
แต่ถ้าหากลองลงลึกไปในฐานะของผู้อยู่อาศัย ความเป็นเมืองอาจมีดีเทลอะไรที่มากกว่านั้น ระยะเวลาของการอาศัยอยู่ทำให้เราได้ซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบข้างเข้ามาแบบเต็มๆ ก่อนจะหลอมรวมสิ่งเหล่านั้นเข้ามาอยู่ในตัวเรา จากคนนอกก็กลายเป็นคนพื้นที่ แม้ว่าความเป็นมนุษย์ ทั้งลักษณะนิสัย พฤติกรรม หรือไลฟ์สไตล์ต่างๆ จะมีความเป็นส่วนตัวอยู่สูง แต่ถ้าหากหลอมรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นค่าเฉลี่ยของผู้คนที่ทำให้เมืองๆ นั้นมีลักษณะที่เป็นไปตามไลฟ์สไตล์ของผู้คนส่วนมากก็เป็นได้
ในเมื่อความเป็นตัวตนได้ส่งผลต่อภาพรวมของการเป็นเมืองขนาดนี้ แล้วถ้าเป็นเมืองที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงล่ะ solution มากมายที่มาจากสมองของผู้บริหารอาจไม่มีพลังมากพอ หากผู้คนในเมืองยังคงใช้ชีวิตแบบเดิม แต่เป็นตัวตนของผู้คนในเมืองอย่างเราๆ นี่แหละ ที่อาจจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองได้
รสนิยมสร้างได้ ถ้าสภาพแวดล้อมคือแฟชั่น
ใครๆ ก็บอกว่าเรื่องของรสนิยมเป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ เพราะเชื่อว่าใครหลายคนก็ไม่ได้เกิดมามีรสนิยมด้านแฟชั่นที่ดีตั้งแต่แรก แต่ทำไมเครื่องแต่งกายที่สะท้อนถึงรสนิยมด้านแฟชั่นถึงได้แบ่งแยกผู้คนที่มาจากแต่ละเมืองได้อย่างชัดเจน เพราะรสนิยมก็อาจเป็นสิ่งที่สามารถซึมซับกันได้ จากคนที่แต่งตัวไม่เป็น แต่เมื่อมีโอกาสได้ไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมในเมืองที่เต็มไปด้วยดีไซเนอร์และแฟชั่นนิสต้า ก็สามารถเปลี่ยนให้เราเริ่มมีรสนิยมในการแต่งตัวที่เปลี่ยนแปลงไปตามผู้คนส่วนใหญ่ได้เช่นกัน อย่างเช่นเมืองแฟชั่นอย่างลอนดอนที่ใครไปอยู่ก็ต้องอดไม่ได้ที่จะต้องแต่งตัวตามแฟชั่นบ้าง หรืออย่างกระแสของรองเท้า Sneaker ที่กำลังมาแรงในบ้านเราช่วงไม่กี่ปีมานี้ บวกกับกระแสของ Hip-Hop ที่ทำให้เสื้อผ้าสตรีทแวร์มาแรง จนทำให้หลายคนเริ่มเกิดอาการ Sneaker Hype กันถ้วนหน้า ซึ่งถึงแม้จะเริ่มต้นจากการเป็นกระแส แต่นานเข้าจากความหลงใหลก็กลายเป็นสิ่งที่รัก ซึ่งความหลงใหลและความรักที่ว่าก็สามารถส่งต่อกันได้ แถมแบรนด์รองเท้าต่างๆ ก็พร้อมใจกันออกคอลเลคชั่นใหม่กันอยู่ตลอด จนเกิดร้านรองเท้าที่เจ้าของเป็น Sneakerhead ตัวจริง ทำให้เหล่า Sneakerhead ที่ว่ามีเยอะอยู่แล้ว ก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเยอะเข้าไปอีก เกิดเป็นคอมมูนิตี้แลกเปลี่ยนความชอบกัน ก่อนจะแพร่ระบาดไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นใคร รสนิยมแบบไหนก็พร้อมใจกันใส่ Sneaker กันถ้วนหน้า จนไม่แน่ว่าอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งแฟชั่นอย่างที่ลอนดอนทำมาแล้วก็เป็นได้
ไลฟ์สไตล์เป็นแบบไหน เสน่ห์ของเมืองก็เป็นตาม
ทันทีที่ศูนย์กลางความเจริญเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่เมือง ทำให้เกิดการกระจุกตัวของแรงงานต่างๆ ที่ทยอยเข้ามาทำงานในเมืองกันมากขึ้น ซึ่งพอมีคนอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตก็ต้องเปลี่ยนไป แต่จะดีหรือไม่ดีนั้น ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ อย่างคนในกรุงเทพฯ ด้วยไลฟ์สไตล์ที่ง่ายๆ ชอบความสะดวกสบาย ไม่พิถีพิถันมากนัก โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ที่หิวไหนกินนั่น จึงไม่แปลกที่ร้านอาหารแบบหาบเร่แผงลอยจะมีอยู่ทุกทั่วหัวมุมถนน ซึ่งตรงตามจริตไลฟ์สไตล์ของคนไทยแบบเป๊ะๆ บวกกับรสชาติของอาหารไทยที่อร่อยตั้งแต่ข้างถนนยันร้านอาหารหรู ส่งผลให้กรุงเทพฯ ติดอันดับเมือง street food ที่ดีสุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างไม่ต้องสงสัย แต่สิ่งที่เจ๋งไปกว่านั้น คือร้าน street food เก๋ๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากคนที่หลงใหลในรสชาติ จนเกิดแรงบันดาลใจที่จะเปิดร้านเองบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ร้านตาม street market หรืออีเวนท์ต่างๆ เจ้าของก็เป็นพนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ ที่เลือกใช้เวลาว่างทำในสิ่งที่รัก กลายเป็นเสน่ห์ที่คนทั่วโลกจดจำได้ว่า Bangkok’s street food is the best ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นจากตัวตนและไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพฯ อย่างแท้จริง
ปัญหาแบบไหนก็แก้ได้ ถ้าทุกคนร่วมมือกัน
หากว่ากันตามโครงการสร้างแล้ว เรื่องการแก้ปัญหาในเมืองเป็นเรื่องของผู้ว่าฯ หรือฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง facility ต่างๆ หรือความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิต ประชากรอย่างเราๆ อาจมีหน้าที่เพียงแค่เรียกร้องในสิ่งที่ต้องการ เพื่อให้ฝ่ายบริหารพิจารณาเอาไปปรับปรุงพัฒนา ไหนๆ ก็จ่ายภาษีเป็นค่าบริหารแล้วทั้งที ใครๆ ก็อยากได้สิทธิที่ควรได้เป็นธรรมดา แต่อย่างว่าปัญหาบางอย่างไม่อาจไม่สามารถแก้ได้จากฝ่ายบริหารแต่เพียงอย่างเดียว อย่างเช่นปัญหารถติดในกรุงเทพฯ ที่ใครๆ ก็บอกว่าไม่มีวันแก้ได้ง่ายๆ ถ้าอย่างนั้นก็มาเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน เกิดเป็นกระแส Bike to Work หรือการปั่นจักรยานมาทำงานก็มีให้เห็นกันมากขึ้น ซึ่งหลายเมืองในยุโรปทำได้ ทำไมกรุงเทพฯ จะทำไม่ได้ หรือเก๋กว่านั้น ตอนนี้ก็เกิดคอมมูนิตี้เล็กๆ อย่าง Run to Work ด้วยการชวนเพื่อนวิ่งแบบ City Run ไปทำงานกันแล้ว ซึ่งเกิดมาจากคนที่รักในการวิ่งมาราธอนเลือกที่จะหนีรถติดด้วยการวิ่งไปทำงานแทน แถมการแก้ปัญหาด้วยไลฟ์สไตล์แบบนี้ สุขภาพของคนกรุงเทพฯ ก็ยังดีขึ้นอีกด้วย เมื่อกระแสเกิดขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ ปัญหารถติดที่ว่าแก้กันยากๆ เพียงแค่เราให้ความสำคัญและจริงจังกับมันมากหน่อย ทางออกของปัญหาก็อาจอยู่ใกล้แค่เอื้อม
อยากให้เมืองเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตแบบนั้น
จากตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นถึงตัวตนและไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่ส่งผลต่อภาพรวมของความเป็นเมืองในแง่มุมต่างๆ เช่นเดียวกับแคมเปญ ‘URBAN SOUL อยากให้เมืองเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตแบบนั้น’ ของ Ananda Development ที่ต้องการให้คนกรุงเทพฯ ลุกขึ้นมาสร้างพลังบวกให้เกิดขึ้น และร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์เมืองนี้ในแบบที่เป็น เมืองที่มีสีสันน่าอยู่ ไม่ใช่เพราะสิ่งปลูกสร้างเพียงอย่างเดียว แต่มันคือชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่
อย่างที่ในเนื้อเพลง ‘Feel Your Soul’ โดย UrboyTJ X DABOYWAY มีท่อนที่ร้องไว้ว่า “หนึ่งชีวิตที่เราต่างใช้ สร้างเมืองนี้เป็นโลกใบใหม่” หรืออย่างใน MV ที่ถ่ายทำจะเห็นว่าไปถ่ายตามสถานที่ต่างๆ ที่สัมผัสได้ถึงความเป็นกรุงเทพฯ แท้ๆ ถ้าไม่มีผู้คนที่สร้างเอกลักษณ์ให้ที่แห่งนั้น เมืองก็อาจว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย สะท้อนถึงการใช้ชีวิตของผู้คนที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เมืองมีชีวิต จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของเราเช่นกัน ถ้าคนเมืองทำสิ่งต่างๆ ด้วย mind set ที่เป็นบวก เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เต็มไปด้วยจิตวิญญาณของคนเมืองที่ทุกคนมีส่วนร่วม เมืองก็อาจเปลี่ยนแปลงจนดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ
อยากให้เมืองเป็นอย่างไร ใช้ชีวิตแบบนั้น มาร่วมกันปลุกจิตวิญญาณของคนเมืองไปพร้อมๆ กัน