เราทุกคนเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก เรียนรู้ว่าพื้นที่แต่ละส่วนของบ้านมีฟังก์ชันที่แตกต่างกัน ซึ่งพื้นที่ที่ว่านั้นต่างก็ปรับเปลี่ยนไปตามวัน เวลา และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเป็นเด็กน้อยนอนบนเตียงกว้างแสนอบอุ่นร่วมกับพ่อแม่ เมื่อเริ่มเป็นวัยรุ่นเราก็อยากมีห้องส่วนตัวเป็นของตัวเอง ยิ่งหลายคนก็ยิ่งมีหลายปัจจัยที่ต้องนำมาขบคิดร่วมกันว่า ‘เราจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร’
แนวโน้มของโลกในอีกไม่กี่ปีนั้นคาดกันว่าเราจะมีทรัพยากรน้อยลงเรื่อย ๆ และมีพื้นที่อยู่อาศัยใช้ชีวิตน้อยลง การแชร์พื้นที่ระหว่างกันจึงเป็นทางออกที่ทำให้ทุกคนมีพื้นที่มากขึ้นด้วยความกว้าง x ยาวเท่าเดิม ผลสำรวจของห้องแล็บ Space 10 ประเทศสวีเดน กล่าวถึงมุมมองการอยู่อาศัยร่วมกันในพื้นที่หนึ่งของคนไทยว่า เราหวงแหนความเป็นส่วนตัวก็จริง แต่เราก็เห็นตรงกันว่าการใช้พื้นที่บางส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแย่นัก ดีเสียอีกที่เราจะได้มีพื้นที่ส่วนกลางที่ตกแต่งอย่างมีสไตล์ สะดวกสบาย ตราบใดที่โลกส่วนตัวของเรายังไม่ถูกรุกล้ำ
เพราะทุกคนล้วนแต่ต้องมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง เป็นพื้นที่มีอิสระและได้เป็นตัวเองอย่างเต็มที่ แต่ด้วยข้อจำกัดของขนาดที่พักอาศัยกลับกลายเป็นปัญหาของหลายบ้านที่เป็นครอบครัวขยาย ซึ่งนอกจากจะหลายคนแล้วยังหลายวัย ทำให้กิจกรรมในชีวิตประจำวันและความต้องการแตกต่างกัน เรื่องนี้การแบ่งพื้นที่ของกันและกันให้ชัดเจนห้ามก้าวก่ายอาจไม่ใช่คำตอบเดียวเสมอไป แต่เป็นการขยับปรับพื้นที่ส่วนตัวและส่วนกลางให้ยืดหยุ่นเพื่อทุกคนต่างหาก
พื้นที่ว่างระหว่างวัย
เมื่อพูดถึงความแตกต่างระหว่างวัย เรามักโฟกัสไปที่ข้อเสียของมันมากกว่า ทั้งที่จริงแล้วการอยู่ร่วมกันของคนที่มีอายุแตกต่างก็ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องแย่เท่านั้น เพราะการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างคนชรากับเด็กเล็กก็ต่างส่งผลดีต่อกันและกันทั้งสองฝ่าย ด้วยความต้องการที่ไม่แตกต่างกันมากนักอย่างที่เคยมีคนกล่าวเปรียบกันไว้ว่า ‘คนแก่ก็เหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง’ ทั้งในเรื่องของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ความปลอดภัยในบ้าน และการมีเวลาเหลือเฟือในแต่ละวันที่จะใช้เวลาอยู่ด้วยกัน เรากังวลว่าความแตกต่างระหว่างวัยจะสร้างรอยแผลในใจให้แก่กันและกันอยู่เสมอ เพราะคนแต่ละช่วงวัย แต่ละยุคสมัย ต่างก็ให้คุณค่าต่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน จนอาจเกิดความกระทบกระทั่งทางความคิด ความเชื่อของกันและกันได้ ซึ่งสิ่งสำคัญคือการยอมรับคุณค่าที่แตกต่าง และเว้นช่องว่างระหว่างกันไว้บ้างก็ไม่เสียหาย ในเมื่อเราไม่จำเป็นจะต้องอยู่ด้วยกันตลอดเวลาและไม่ต้องเห็นพ้องต้องกันไปทุกสิ่ง ช่องว่างนี่แหละที่จะทำให้เราสามารถนำโลกของแต่ละคนมาแลกเปลี่ยนกันได้ คุณปู่คุณตาอาจมีเกมสนุก ๆ ที่เคยเล่นตอนเด็กมาสอนหลานตัวน้อย พ่อแม่วัยทำงานก็อาจเปลี่ยนบรรยากาศมาเล่นเกมร่วมกับลูกวัยรุ่น เพียงเปิดใจให้แก่กันก็มีอะไรสนุก ๆ เพิ่มขึ้นอีกเยอะ
แบ่งสรรปันส่วนตัว
หัวใจสำคัญของการอยู่ร่วมกันคือ การหาข้อตกลงร่วมให้ลงตัวกับทุกฝ่าย หากเราจะบอกว่าบ้านคือพื้นฐานของสังคม การกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการใช้ชีวิตก็ย่อมเป็นพื้นฐานที่ดีต่อความสะดวกกาย สบายใจของทุกคนตามไปด้วย พ่อแม่ย่อมไม่อยากให้ลูกกลับบ้านดึกไม่ว่ากรณีใด แทนที่จะห้ามลูกออกไปทำกิจกรรมกับเพื่อนนอกบ้าน ก็อาจเปลี่ยนเป็นการสร้างข้อตกลงร่วมกันว่าไม่เกินเวลาใดที่ถือว่าโอเค และเวลาที่ว่านั้นยืดหยุ่นได้แค่ไหนหากมีเหตุผลมากพอ หรือหากเป็นพี่น้องที่อยู่ร่วมห้องเดียวกัน ใครที่เคยมีประสบการณ์นี้น่าจะจินตนาการออกถึงความยุ่งเหยิงวุ่นวายจนหลายครั้งนำไปสู่การแบ่งเขต ‘นี่ของฉัน นั่นของเธอ’ อยู่บ่อยๆ แม้แต่ แต่ทุกปัญหาก็สามารถจัดการได้ด้วยการมีข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่ต้น เพื่อจัดสรรพื้นที่การอยู่ร่วมกันให้ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด
รักใครให้เวลา
การใช้เวลาร่วมกันด้วยความสมัครใจ ผ่านกิจกรรมที่ทุกคนมีส่วนร่วม ถือว่าเป็นไฮไลต์สำคัญที่ช่วยกระชับมิตรภาพ ความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นและยืนยาว เพราะเราจะได้เรียนรู้ธรรมชาติของกันและกัน แลกเปลี่ยนความคิด ความเชื่อบางอย่างที่กิจวัตรประจำวันอาจไม่เปิดโอกาสให้เราได้นำเสนอสิ่งเหล่านี้ออกมามากนัก ไม่ว่าจะเป็นมื้ออาหารง่าย ๆ ที่ทุกคนช่วยกันเลือกหาวัตถุดิบ เข้าครัวทำอาหารแล้วนั่งกินด้วยกันพร้อมหน้า หรือต่างคนต่างซื้อหาของชอบมาแบ่งปันกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกไปใช้เวลาท่องเที่ยวด้วยกันในสถานที่อันห่างไกล เล่นบอร์ดเกมด้วยกันในห้องนั่งเล่น หรือแม้แต่การช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดเก็บอุปกรณ์ รดน้ำต้นไม้ในวันหยุดสุดสัปดาห์ กิจกรรมเหล่านี้ต่างก็มีส่วนช่วยให้เราขยับเข้าใกล้กันทีละนิด และสร้างความทรงจำดี ๆ ร่วมกันไว้ได้
ใส่ใจรายละเอียด
บ้านมักเป็นภาพแรก ๆ ที่ผุดขึ้นมาเสมอเมื่อเรานึกถึงรูปธรรมของความสุข เพราะความรู้สึกที่ว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่นี้ และมีคนในครอบครัวที่เข้าใจตัวตนของเราอย่างลงลึกถึงรายละเอียดปลีกย่อยที่สุด รู้ว่าแต่ละคนชอบอะไร ไม่ชอบอะไร บ้านที่ดีจึงเป็นบ้านที่นอกจากเราจะใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจแล้ว ยังต้องเป็นพื้นที่ที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของทุกคนที่อยู่ร่วมกันด้วย เช่น ห้องของคุณปู่คุณย่ามีพื้นที่พอรองรับรถเข็น ตู้เก็บยาประจำตัว ของใช้ที่จำเป็น ใกล้กับห้องน้ำที่สุดเพื่อความสะดวกในการใช้งาน มีอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย เพราะสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักพลัดตกหกล้มในบ้านจนได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงขั้นรุนแรงเสียชีวิต รองจากอุบัติเหตุทางถนน ห้องของเด็ก อยู่ใกล้กับพ่อแม่ แต่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่เด็กอย่างมีชั้นเชิง ไม่ทำให้รู้สึกห่างไกล แต่ก็ไม่รบกวนการใช้ชีวิตของกันและกัน พื้นที่ตรงกลางเปิดโล่งกว้าง มีแสงธรรมชาติส่องถึง เชิญชวนให้ทุกคนมาใช้เวลาแห่งความสุขร่วมกัน
เช่นเดียวกับ Nirvana Beyond พระราม 2 ซึ่งตั้งอยู่ในทำเลดีที่สุดติดถนนใหญ่อยู่ใกล้เมืองที่สุดในย่าน พระราม 2 เป็นบ้านเดี่ยวมากฟังก์ชั่นที่คิดอย่างลงลึกถึงรายละเอียดสร้างสรรค์การสัดส่วนบ้านให้ใช้ชีวิตที่มีความสุขที่สุดของคนในบ้าน มอบให้ทั้งความเป็นส่วนตัวที่เชื่อมต่อกันได้ระหว่างคนในครอบครัว อย่างสะพานทางเชื่อมระหว่างห้องนอนกับห้องรับแขก หรือเปิดช่องกระจกใกล้กับโต๊ะทำงานในห้องนอนให้มองเห็นสวนด้านล่างได้ เชื่อมโยงความสะดวกสบายภายในบ้านเข้ากับความโปร่ง โล่งสบายของธรรมชาติภายนอก มีทางเข้า-ออก 2 ทาง ทำให้ผู้มาเยือนตรงมายังห้องรับแขกได้โดยไม่ต้องผ่านพื้นที่ส่วนอื่นของบ้าน ออกแบบพื้นที่ความสุข โดยให้ความสำคัญแก่พื้นที่ส่วนตัวผสมผสานกับการใช้พื้นที่ส่วนรวมอย่างลงตัว
เติมเต็มคำว่า “บ้าน” ให้สมดุลและสมบูรณ์แบบอย่างแท้จริงที่ Nirvana Beyond พระราม 2 ชมรายละเอียดที่ https://goo.gl/kXytX