สำหรับคุณแม่ชาวไทย ความญี่ปุ่น กลายเป็นคำอธิบายความหมายของ “ความเรียบง่ายที่มาพร้อมกับคุณภาพ” ที่แทรกตัวอยู่ในทุกๆด้านของการใช้ชีวิต แม้บรรดาแม่ๆในการ์ตูน อย่างแม่ของชินจัง หรือ แม่ของโนบิตะ จะดูเป็นแม่ธรรมดาที่อาจจะสร้างความปั่นป่วนให้ในบางครั้ง แต่เบื้องหลังวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกของคุณแม่ชาวญี่ปุ่นที่ดูไม่มีอะไรพิเศษนั้น กลับมีเทคนิกที่น่าสนใจซ่อนอยู่
วิถีการเลี้ยงดูแบบคุณแม่ชาวญี่ปุ่นเน้นการสัมผัสร่างกายกับลูก โดยมีช่วงระยะเวลาที่นานกว่าแม่ตะวันตก ซึ่งเรียกว่า Proximal parenting แม่และเด็กจะมีช่วงเวลาใกล้ชิดด้วยกันที่นานกว่าผ่านกิจกรรมต่างๆ ระหว่างนั้นจะมีการสัมผัสเนื้อต้องตัว สื่อสารผ่านแววตา และการแสดงออกทางใบหน้าร่วมด้วย
ทำให้บรรดาแม่ๆชาวญี่ปุ่นมักนอนด้วยกันกับลูก หรืออาบน้ำด้วยกันจนเป็นเรื่องปกติในสังคมญี่ปุ่น โดยเฉพาะเด็กในวัยแรกเกิดถึง 2 ขวบ มีการสำรวจพบว่า แม่ญี่ปุ่นห่างจากลูกๆเพียงสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเทียบกับแม่ชาวตะวันตกที่ห่างลูกถึง 24 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เนื่องจากครอบครัวชาวญี่ปุ่นไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยการจ้างพี่เลี้ยง
ความสัมพันธ์อันแนบชิดอันเป็นเอกลักษณ์นี้มีปรัชญาอะไรเรียบง่ายซ่อนอยู่บ้าง ถ้าคุณแม่ชาวไทยจะปรับใช้บ้างก็น่าสนใจไม่น้อย
FUTON – กอดแม่อุ่นที่สุด
สำหรับโลกตะวันตก เมื่อรู้ตัวว่ามีลูก พ่อแม่ป้ายแดงก็จะเตรียมตกแต่งห้องนอนสีหวานไว้รอต้อนรับสมาชิกใหม่ คุณแม่ชาวเอเชียเห็นแล้วก็คงงงว่าแล้วถ้าลูกเป็นอะไรขึ้นมาจะวิ่งมาดูทันได้ยังไง ในขณะที่แม่ชาวตะวันตกก็บอกว่า เธอนอนกับลูกไม่กลัวทับลูกแบนหรือ?
คุณแม่ชาวญี่ปุ่นรู้ข้อดีของการนอนด้วยกันกับลูกน้อยมาตั้งนานแล้ว อันดับแรกคือประหยัด อันนี้ก็ต้องยอมรับกันตรงๆว่าบ้านคนญี่ปุ่นไม่ได้ใหญ่พอจะแบ่งห้องได้มากมาย การนอนด้วยฟูกที่สามารถม้วนเก็บใส่ตู้ได้ช่วยประหยัดพื้นที่ และทำให้ครอบครัวใกล้ชิดและอบอุ่นอีกด้วย
ข้อดีของการที่เด็กได้นอนกับแม่คือการช่วยให้ลูกกินนมง่ายขึ้น แม่สามารถกอดลูกเข้าเต้าได้เลยโดยไม่ต้องลุกจากที่นอนและไม่ต้องอุ้มลูกขึ้นจากเตียง ทำให้ทั้งคู่มีช่วงเวลานอนได้นานขึ้น เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่เด็กจะต้องร้องไห้กลางดึกจากสาเหตุต่างๆ เช่น หิว ผ้าอ้อมเปียก หรือโดนแมลงกัดต่อย แต่หลายๆครั้งการร้องไห้ของเด็กๆก็เกิดขึ้นเพียงเพราะเรียกร้องหาแม่เท่านั้น เมื่อแม่กับลูกอยู่ข้างกันตลอดเวลา ก็จะทำให้ช่วยลดช่วงเวลาเสียน้ำตาลงไปได้อีกเยอะ และเมื่อไม่ต้องร้องไห้กลางดึก ความเครียดยามค่ำคืนของลูกและแม่ก็จะลดลง
การนอนด้วยกันยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยจังหวะการหายใจ การหลับฝัน การตื่นของแม่และลูกมีแนวโน้มที่จะผสานเป็นจังหวะเดียวกัน เด็กที่นอนกับพ่อแม่มีแนวโน้มที่จะมีความมั่นคงทางอารมณ์และติดผ้าห่มหรือตุ๊กตาน้อยกว่า หากแม่กับลูกนอนด้วยกันต่อเนื่องนานหลายปี สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นสายสัมพันธ์ที่แข็งแรง ที่จะเป็นเป็นประโยชน์ต่อลูกในอนาคต จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนญี่ปุ่นนอนกับพ่อแม่ตั้งแต่ทารกไปจนถึงวัยรุ่นเลยก็มี (ถ้าเจ้าตัวไม่ขอแยกห้องไปซะก่อน)
OFURO – เกิดทีหลัง ก็อาบน้ำร้อนด้วยกันได้
ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น การอาบน้ำไม่ใช่เพียงแค่การทำความสะอาดร่างกาย แต่ยังหมายถึงการพูดคุยและสานสัมพันธ์ เช่นเดียวกับที่บ้านคนไทยชอบคุยกันตอนกินข้าวเย็นพร้อมหน้าพร้อมตา สำหรับบ้านคนญี่ปุ่นช่วงเวลาอาบน้ำที่กล้ามเนื้อทุกส่วนจะได้ผ่อนคลายในอ่างน้ำร้อนเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาพูดคุยสารทุกข์สุกดิบได้ดีเช่นกัน
มันอาจจะฟังดูพิลึกหน่อยสำหรับคนต่างวัฒนธรรม ที่พ่อแม่ลูกจะมาแช่น้ำในอ่างเดียวกัน แต่ที่เรารู้สึกอย่างนั้นก็เพราะว่าหลายวัฒนธรรมยังไม่เคยชินกับแนวคิดการอาบน้ำร่วมกันของคนญี่ปุ่น การสื่อสานความสัมพันธ์ผ่านการสัมผัส หรือที่เรียกว่า Skinship ช่วยสร้างความสนิทสนมระหว่างสมาชิกครอบครัวได้เป็นอย่างดี และมีเด็กญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่แม้จะโตเป็นหนุ่มเป็นสาวแล้ว แต่ก็ยังคงอาบน้ำกับพ่อแม่อยู่
การแช่น้ำรวมกันข้อดีคือ ประหยัด! (อีกแล้ว) เพราะไม่ต้องต้มน้ำหลายรอบให้เปลืองแก๊ส ก่อนจะแช่น้ำทุกคนต้องขัดถูฟอกสบู่ให้สะอาดเสียก่อนจึงจะลงน้ำได้ การแช่น้ำร้อนจึงไม่ใช่การทำให้ตัวสะอาด แต่เป็นการแช่ให้ผ่อนคลายสบายตัว สำหรับเด็กๆ เวลาอาบน้ำคือช่วงเวลาสนุกที่จะได้เล่นกับพ่อแม่ ที่ญี่ปุ่นมีสินค้าที่ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้เล่นตอนอาบน้ำมากมาย เช่น ผงอาบน้ำกลิ่นต่างๆ ตัวหนังสือลอยน้ำได้ หรือหนังสือนิทานเปียกน้ำได้ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้เหนียวแน่นและอบอุ่นได้อีกทาง
ใส่ใจกับการสัมผัสให้มากขึ้น
ประสาทสัมผัส (Touch Sense) สร้างจังหวะชีวิตที่สำคัญมากมายระหว่างแม่และลูกน้อยจนเป็นกรุยทางสู่การเติบโตที่สมบูรณ์ เด็กทารกสามารถรับรู้การสัมผัสที่ซับซ้อนได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่แล้ว เพราะมนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่โหยหาการสัมผัสที่อบอุ่นอยู่ตลอดเวลา มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การสัมผัสของแม่ช่วยในการพัฒนาด้านอารมณ์ของทารกให้ดีขึ้น โดยใยประสาท (Nerve Fiber) ของเด็กได้รับการกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาผ่านกิจกรรมที่ทำร่วมกัน ใยประสาทเหล่านี้ช่วยในการสร้างสมองที่ซับซ้อนและยืดหยุ่นต่อการเรียนรู้ จนเป็นรากฐานสำคัญของการกำหนดพฤติกรรมมนุษย์เมื่อเติบโตขึ้น
จนอาจกล่าวได้ว่า ปัญหาบางประการที่ติดค้างในจิตใจเมื่อเราเติบโตขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของการสัมผัสที่ไม่ได้รับการเติมเต็มในช่วงที่เราเป็นเด็กนั้นเอง
อย่างไรก็ตามแม้เด็กๆจะโหยหาการสัมผัสแค่ไหนก็ตาม แต่ธรรมชาติของผิวเด็กทารกนั้นมีลักษณะที่บอบบาง ละเอียดอ่อน มีขนอ่อนและมีเซลล์ผิวหนังที่มีความเหนียวแน่นน้อยกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า ผิวหนังของเด็กทารกในช่วง 1 ขวบปีแรกจะมีการสูญเสียน้ำได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เนื่องจากเซลล์ผิวหนังชั้นนอกยังอุ้มน้ำได้ไม่ดีพอ ถึงแม้จะดูดซึมน้ำได้ดีมาก แต่ก็สูญเสียน้ำออกจากผิวได้รวดเร็วมากเช่นกัน ดังนั้นผิวเด็กทารกจึงแห้งง่าย บอบบางต่อการสัมผัสกับสารระคายเคือง ทำให้เกิดการผดผื่นรอยแดงอักเสบได้ง่ายมาก การดูแลผิวพรรณของลูกจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อลูกน้อยเท่านั้น
เพราะผิวบอบบางจนเป็นเอกลักษณ์ ผลิตภัณฑ์จึงต้องออกแบบด้วยความพิถีพิถันสูง kira kira ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากประเทศญี่ปุ่น มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ ไม่ทำให้เกิดสารตกค้าง และเหมาะกับผิวแพ้ง่ายของลูกน้อย ให้ช่วงเวลาระหว่างแม่และลูกอ่อนโยน นุ่มนวลได้ทุกวัน
kira kira Top to Toe Wash สบู่เหลวและสระผมเด็ก เกรดพรีเมี่ยมพัฒนาด้วยนวัตกรรมจากญี่ปุ่น โดยใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ ล้างออกง่าย ปราศจากสารระคายเคือง และ Baby Lotion เกรดพรีเมี่ยมสูตรน้ำ เนื้อบางเบา ซึมซาบเร็ว ด้วยสารสกัดน้ำนมฮอกไกโด และ Baobub Oil ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ปราศจากสารอันตรายที่ทำให้ระคายเคือง อย่าง Parabens Sulphate Lanoline จึงทำให้คุณแม่มั่นใจได้ว่า ลูกน้อยจะได้รับการดูแลอย่างนุ่มนวลที่สุดจากผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจธรรมชาติของการสัมผัส ดูรายละเอียดเพิ่มเติมต่อได้ที่ kirakira-baby.com