หากลองเทียบจำนวนเวลาในชีวิตประจำวันสำหรับคนยุคนี้แล้ว แน่นอนว่างานเข้าถึงตัวเราได้เรียกว่าตลอดทั้งวัน บางทีแทบต้องอัปเดตแบบเรียลไทม์ด้วยซ้ำ พอต้องใช้พลังไปกับงานมากๆ รู้ตัวอีกทีก็หมดแรงเรียบร้อย แล้วยิ่งสะสมความล้านานเข้าก็ยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ ต่อเนื่องกันเป็นห่วงโซ่ไม่รู้จบ
สุขภาพของพนักงานในองค์กร และสวัสดิการที่ครอบคลุมทุกรูปแบบ (Inclusive Workforce) จึงกลายมาเป็นหนึ่งในหัวเรื่องสำคัญที่ผู้คนคิดถึงก่อนเป็นอันดับต้นๆ เมื่อถึงวัยทำงาน อ้างอิงจากการสำรวจของ Mercer ปี 2021 Health on Demand: delivering the benefits employees want now ในหัวเรื่อง ‘การสนับสนุนจากนายจ้างมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและความยืดหยุ่นของพนักงาน’ พบว่า พนักงานเกือบครึ่ง ที่ 46% กล่าวว่า พวกเขาไว้ใจนายจ้างในการจัดหาโซลูชั่นด้านสุขภาพคุณภาพสูง สะดวก ปลอดภัย และราคาเข้าถึงได้สำหรับแต่ละบุคคล
เมื่อกลับมามองในความเป็นจริง นายจ้างเองจำเป็นต้องเป็นที่พึ่งพาที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจให้กับลูกจ้าง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเลย
เหล่านี้จึงเป็นโจทย์สำคัญที่ทำให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพออกตามหาโซลูชั่นเพื่อการมอบการบริการทางสุขภาพอย่างเท่าเทียมให้กับผู้คน หรือ Health Equity แล้วเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักนิยามของคำนี้ และเครื่องมือที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสุขภาพไปด้วยกัน
นิยามของ Health Equity
Health Equity ความหมายตรงตัวคือ ความเสมอภาค ความเท่าเทียม และความเป็นธรรมในการเข้าถึงการรับบริการสุขภาพสำหรับทุกคน โดยไม่มีความแตกต่างในด้านสังคม ชนชั้น เชื้อชาติ สถานะทางเศรษฐกิจ หรือถิ่นที่อยู่มาเกี่ยวข้อง
สวัสดิการที่ครอบคลุมทุกรูปแบบ (Inclusive Workforce) และการที่มีความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงศักยภาพด้านการทำงานได้เต็มที่ หากแต่ยังมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคอีก 3 ประการ ที่ทำให้ความเสมอภาคของสวัสดิการภายในองค์กรยังคงเป็นไปได้ยาก
ปัจจัย 3 ประการเหล่านี้ ได้แก่ ต้นทุน (Cost) การจัดสรรงบประมาณและสวัสดิการที่ต่างกันตามลำดับความสำคัญของตำแหน่งงาน, สถานที่ตั้ง (Physical Location) ระยะทางไปยังสถานพยาบาลที่อาจสร้างปัญหาในการเดินทาง หรือแม้แต่สาขาที่แตกต่างก็เข้าถึงการรักษาที่พยาบาลที่แตกต่างกัน และการจัดลำดับในการดูแล (Prioritization on Acute Sick Care) บางแห่งถึงจะมีสวัสดิการแล้ว แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันก่อนอาการเจ็บป่วยจะเกิดขึ้น
ต้นทุน (Cost)
สวัสดิการเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ดึงดูดให้ผู้คนอยากร่วมงานกับองค์กร แน่นอนว่าพนักงานย่อมต้องการความใส่ใจและการรักษาพยาบาลเหมือนกับเป็นคนในครอบครัว สวัสดิการรักษาพยาบาลแบบเก่าจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก รวมทั้งมีคนบางกลุ่มที่หลุดออกจากระบบ หรือได้รับสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมกัน อย่างพนักงานพาร์ทไทม์หรือสัญญาจ้าง ซึ่งความสำคัญของตำแหน่งงานนับว่าเป็นปัจจัยที่เห็นได้ชัดว่ามีความแตกต่างทางด้านสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่ชัดเจน
Telemedicine จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ HR สร้างมาตรฐานให้พนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมในงบประมาณที่วางแผนเอาไว้ได้ จากเดิมที่งบประมาณในด้านสวัสดิการสุขภาพจะถูกจัดสรรเพื่อดึงดูดใจกลุ่มพนักงานเฉพาะทางหรือระดับสูงมากกว่า
สถานที่ตั้ง (Physical Location)
ปัจจุบัน การกระจายตัวของสถานพยาบาลยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาหลักของแวดวงสาธารณสุขในประเทศไทย
แพทย์เฉพาะทางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านการรักษายังคงกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ทำให้ผู้ที่อยู่นอกเขตเมืองใหญ่จึงห่างไกลจากการแพทย์ สาธารณสุขที่ดี และร้านขายยาที่ดี ยกตัวอย่างสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรในกรุงเทพมหานครคิดเป็นสัดส่วน 1:1,502 คน ในขณะที่จังหวัดบึงกาฬมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรที่ 1:5,021 คน (ข้อมูลจากรายงานข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี 2560) ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภูมิภาคจึงเห็นภาพชัดเจนผ่านสถิติตัวเลขเหล่านี้
จากช่องว่างในเรื่องของการรักษาพยาบาลและจ่ายยา เมื่อร่วมกับการต้องเสียเวลาเดินทางไปยังสถานพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย และอาจใช้เวลายาวนาน จนต้องลางานและเสียรายได้ในที่สุด แต่ขณะเดียวกัน ความเจ็บป่วยเหล่านี้ยังคงจำเป็นต้องได้รับการบรรเทา และเป็นโจทย์สำคัญว่า ทำอย่างไรจึงจะคุ้มค่ากับเวลาด้วยนวัตกรรมที่มีในยุคนี้? จะดีกว่าไหม? หากมีตัวช่วยที่สามารถรักษาจากที่ไหนก็ได้ ในช่วงเวลาที่เขาต้องการมันมากที่สุด
การจัดลำดับในการดูแล (Prioritization on Acute Sick Care)
จากสภาวการณ์โรคระบาดทำให้ผู้คนใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น และมองว่าการป้องกันก่อนเกิดอาการป่วยเป็นสิ่งที่ทุกคนควรใส่ใจ จากการสำรวจ The Future of Workplace 2021 โดย HR Sentiment พบว่า HR มองว่าการที่พนักงานมีสุขภาพกายและใจที่ดีเป็นเรื่องที่องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญ เพราะเมื่อพนักงานสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างครบครัน ก็จะมีพลังในการทำงาน ส่งผลให้งานปรากฏผลอย่างมีประสิทธิภาพ และ 68% ของผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล ให้ความสำคัญด้านสุขภาพจิตและสุขภาวะที่ดีของพนักงานมาเป็นลำดับต้นๆ
หลายองค์กรในปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับการจัดสรรเครื่องมือให้พนักงานแต่ละคนสามารถดูแลสุขภาพประจำวัน พร้อมกับการซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพกายและใจ อ้างอิงจากผลสำรวจ Mercer ในหัวเรื่อง ‘พนักงานต้องการสิทธิ์ส่วนบุคคลที่หลากหลาย’ พบว่า กว่า 75% ของพนักงานองค์กรที่สามารถเข้าถึงเครื่องมือ บริการ หรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ 10 แหล่งขึ้นไป จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและมีแรงใจในการทำงานมากกว่า
สวัสดิการสุขภาพในส่วนของ Telemedicine จึงได้รับความสนใจจาก HR และองค์กรหลากหลาย เพราะเป็นเครื่องมือในการดึงดูดและรักษาพนักงานให้ยังคงอยู่กับองค์กร นอกจากนี้จากผลสำรวจของ Mercer ปี 2021 Health on Demand: delivering the benefits employees want now กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์โควิด-19 พนักงานองค์กรในเอเชียกว่า 86% เปิดรับการใช้เครื่องมือประเภทนี้ในอัตราส่วนมากกว่าชนชาติอื่นๆ
Good Doctor Technology ตัวช่วยของ HR
Good Doctor Technology คือเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์ที่เข้ามาช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ของกลุ่มพนักงานที่มีความแตกต่าง หลากหลาย และเฉพาะสำหรับแต่ละบุคคล โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเชื้อชาติ อายุ หรือเงื่อนไขอื่นใด จึงเหมาะกับเป็นเครื่องมือในยุคดิจิทัลของ HR ในการจัดการสวัสดิการสุขภาพของพนักงานในองค์กรทุกคน
ด้วยแนวคิดของนวัตกรรมที่ทุกคนเข้าถึงได้ผ่านแอปพลิเคชัน นั่นทำให้สามารถช่วยลดช่องว่างของการรับบริการทางการแพทย์อย่างที่เคยพบในแบบเดิมๆ และช่วยส่งมอบสวัสดิการสุขภาพของพนักงานในองค์กรอย่างเสมอภาคมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นในส่วนของกระบวนการทำงาน ตัวเทคโนโลยีเองจะช่วยให้แผนก HR ทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น เพราะพนักงานแต่ละคนสามารถจัดการสุขภาพของตัวเองในช่วงเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด
ความแตกต่างที่เหนือกว่า Telemedicine ทั่วไป
หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วการดูแลสุขภาพพนักงานโดย Good Doctor Technology แตกต่างจาก Telemedicine ทั่วไปอย่างไร? เห็นได้ชัดจากช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้การเดินทางไปพบแพทย์ทำได้ยากขึ้นกว่าเดิม หลายองค์กรจึงหันมามองหาบริการสุขภาพในรูปแบบดิจิทัล เพื่อดูแลสุขภาพพนักงาน
ในมุมมองขององค์กร ต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องคิดถึง แม้จะหันมาใช้บริการทางด้านดิจิทัล แต่อาจไม่ได้ช่วยลดต้นทุนด้านการบริหารจัดการสุขภาพพนักงานได้มากเท่าที่คิด หรืออาจเพิ่มสูงขึ้นด้วยซ้ำ ตามจำนวนครั้งที่พนักงานเข้าใช้บริการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์
แต่สำหรับ Good Doctor Technology ด้วยรูปแบบ Subscription ความพิเศษจึงเป็นการที่พนักงานสามารถเข้าพบแพทย์คือการรับคำปรึกษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และความสะดวกที่มากกว่าเพราะช่วยลดเวลาการเดินทางไปพบแพทย์ หรือสำหรับพนักงานที่ค่าแรงขึ้นกับชั่วโมงทำงาน เมื่อใช้บริการนี้ผ่านช่องทางออนไลน์ ก็ไม่จำเป็นต้องลางานเพื่อไปพบแพทย์ พร้อมกับตอบโจทย์องค์กรในเรื่องการควบคุมและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสุขภาพ
พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จบครบวงจร
เพราะเป็นแพลตฟอร์มทางด้านการแพทย์โดยเฉพาะ ที่นี่จึงมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ ซึ่งได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษสำหรับรองรับการให้บริการการแพทย์ทางไกลในมาตรฐานระดับสากล จึงสามารถเจาะลึกเข้าถึงประเด็นทางด้านสุขภาพที่ต้องการปรึกษา ตั้งแต่เรื่องสุขภาพทั่วไป ออฟฟิศซินโดรม สุขภาพจิต และโรคเรื้อรังอื่นๆ
ข้อดีอีกประการคือ ด้วยความง่ายของการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ จึงให้การปรึกษาทางการแพทย์ทำได้อย่างต่อเนื่อง และข้อมูลทางสุขภาพที่ถูกบันทึกจะถูกบริหารจัดการร่วมกันอย่างแนบเนียนระหว่าง Good Doctor Technology กับเครือข่ายโรงพยาบาล เพื่อทำการอ้างอิงและส่งต่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป
การรักษาครอบคลุมการสั่งจ่ายยา ด้วยเครือข่ายของงานบริการทางการแพทย์ที่ครบวงจรและเข้าถึงกับทุกคน ตั้งแต่ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไปจนถึงความร่วมมือกับร้านขายยาคุณภาพมากกว่า 506 แห่ง ครอบคลุม 45 จังหวัดทั่วประเทศ และพันธมิตรแบรนด์สุขภาพ การสั่งยาและบริการใบสั่งยาแบบออนไลน์จึงทั่วถึง รวดเร็ว และเดินหน้าไปพร้อมกันกับ Good Doctor Technology ที่ต้องการขยายเครือข่ายพันธมิตรให้ครอบคลุมบริการสุขภาพที่หลากหลายขึ้น
ผลตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งานจริง
Good Doctor Technology เปิดให้บริการสำหรับพนักงานไปแล้วกว่า 30,000 นาที และจากการสำรวจผู้ใช้งานจริงพบว่า 97% ของพนักงานผู้ใช้งานให้คะแนน Rate 5 Star และไม่มีการชาร์จค่าธรรมเนียมเพิ่ม รวมทั้ง 60%ของพนักงานผู้ใช้งาน ใช้บริการแพลตฟอร์มมากกว่าหนึ่งครั้ง โดยที่ 10% เข้ารับบริการให้คำปรึกษามากกว่า 5 ครั้ง
เพราะความสะดวกกายและสบายใจในการเข้ารับคำปรึกษาได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา เรื่องที่พนักงานเข้ามาปรึกษาจึงไม่จำกัดแค่เฉพาะอาการป่วยที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีการปรึกษาในเรื่องสุขภาวะส่วนบุคคล โภชนาการ การนอนหลับ และบริการสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการในชีวิตประจำวันของพนักงาน รวมทั้งกับพนักงานเฉพาะกลุ่ม อาทิ สุขภาพผู้หญิง หรือแม่และเด็ก พนักงานจึงสามารถจัดการสุขภาพกายและใจของตนเองได้ดีกว่าเดิม และเพิ่มสุขภาวะให้ดียิ่งขึ้นด้วย
Holistic Healthcare Solution
เพราะคงไม่มีใครอยากจะป่วยแล้วต้องมาตามรักษาทีหลัง การดูแลรักษาตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกสำหรับทุกคน นี่คือความสำคัญของ Holistic Healthcare Solution
Good Doctor Technology จึงมีเคล็ดลับสุขภาพที่จะทำให้ทุกวันเป็นวันของการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพที่ดีทั้งทางกายและทางใจ โดยทีมแพทย์ที่ให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพ หรือเลือกโฟกัสในหัวเรื่องที่ให้ความสนใจ นอกเหนือจากการเป็นส่วนสำคัญของสวัสดิการสุขภาพพนักงานแล้ว ยังเป็นเครื่องมือทางสุขภาพที่อยู่ใกล้ตัวทุกคน ใช้งานง่าย และทำได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
ทีมงานของ Good Doctor Technology ประกอบด้วยทีมแพทย์ ผู้ให้คำปรึกษาทั้งในกรณีเจ็บป่วยผ่าน Telemedicine วิเคราะห์การรักษา การสั่งยาส่งตรงถึงบ้าน และส่งตัวผู้ป่วยต่อเพื่อรักษาในโรงพยาบาลเครือข่าย รวมทั้งการให้คำปรึกษาเพื่อสุขภาวะที่ดีได้แบบไม่จำกัดทุกวัน รวมทั้งการเข้าถึงบทความข้อมูลสุขภาพได้ตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ อย่างวิตามิน หน้ากากอนามัย หรือปรอทวัดไข้ ได้เช่นกัน
ในฟากฝั่งของทีม HR ที่รับผิดชอบในเรื่องสวัสดิการและข้อมูลเอง จากข้อดีของระบบดิจิทัลนี้เอง ทำให้ข้อมูลการรักษาถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการทำงานที่สะดวกสบายทั้งกับทางทีมแพทย์และทีม HR ไปจนถึงการจัดกิจกรรมหรือแคมเปญโดยความร่วมมือระหว่างทีม HR และทีมงาน Good Doctor Technology ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ให้กับพนักงาน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดการทำงาน
เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพของทุกคน
คำว่า ‘ทุกคน’ ในที่นี้จึงเป็นทุกคนที่เท่าเทียม เสมอภาค ด้วยเครื่องมือดิจิทัลที่เข้าถึงทุกคนผ่านทาง Good Doctor Technology ตัวพนักงานเองก็แฮปปี้กับสุขภาพดี การรับการปรึกษาที่ทันท่วงที ความสบายใจและความสุขใจจากสวัสดิการที่ดี ในยุคที่การแข่งขันเพื่อดึงดูดพนักงานให้เข้ามาทำงานกับบริษัทกลายเป็นโจทย์สำคัญสำหรับหลายองค์กร การส่งเสริมสุขภาวะที่ดีจึงเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานต้องการ เช่นเดียวกันกับที่องค์กรต้องสร้างความมั่นใจในเรื่องนี้ให้กับพนักงาน
และเมื่อมองภาพใหญ่ในมุมมองขององค์กร Good Doctor Technology นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่น่าสนใจ ซึ่งช่วยให้แผนก HR สามารถบริหารจัดการงานด้านสวัสดิภาพของทุกคนได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งในเรื่องความรวดเร็ว สร้างความมั่นใจให้กับพนักงานทุกครั้งที่ใช้งาน และตอบความต้องการของพนักงาน ‘ทุกคน’ ได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค
หากองค์กรหรือ HR ใดที่สนใจ Good Doctor Technology สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3PH4dGR