ถ้าให้เรายกคุณสมบัติหนึ่งที่จำเป็นต่อวิวัฒนาการของมนุษย์มากที่สุด คุณไม่ต้องมองไปที่ไหนไกลเลย! ขอเพียงแค่ก้มลงมอง “เท้า” สองข้างของคุณเท่านั้น อวัยวะเบื้องล่างที่มักสัมผัสกับสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลาตราบใดที่โลกนี้ยังมีแรงโน้มถ่วง
เท้าเป็นอาสาสมัครรายแรกที่ยอมคลุกโคลนคลุกฝุ่น ลุยน้ำขังเปียกแฉะหน้าปากซอย พาคุณวิ่งไล่ตามรถเมล์ที่ไม่ค่อยจะจอดตรงป้าย หรือพากระโดดข้ามสายไฟระเกะระกะบนฟุตบาท ถ้าไม่ได้เท้าอะไรๆ ในชีวิตก็คงยากขึ้นอีกเยอะ
เท้าสำคัญอย่างไรใน ‘วิวัฒนาการ’
มนุษย์ไม่ได้จู่ๆ ก็กระโดดดึ๋งมาพร้อมความสมบูรณ์แบบหรอก (และเราก็ยังไม่ได้ใกล้เคียงนัก) พวกเราล้วนถูกเสริมเติมแต่งด้วยชิ้นส่วนแห่งวัฒนาการจากสิ่งละอันพันละน้อยตลอดเวลานับล้านๆ ปี ตั้งแต่คุณแยกสายจากบรรพบุรุษลิงเมื่อ 8 ล้านปีก่อน ซึ่งพัฒนาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนสร้างปัจจัยร่วมที่ทำให้เราปลดล็อกความสามารถหลัก อันทำให้มนุษย์มีความพิศวงกว่าเผ่าพันธุ์อื่นๆ คือ ‘การยืนได้ตรง’ (upright posture) ที่เราทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การพัฒนาทักษะอื่นๆ ตามมา
การยืนและเดินได้ตรงด้วย 2 ขา (Bipedalism) เป็นการเปลี่ยนแปลงอันน่าประทับใจ มันแยกพวกเราออกจากกลุ่มโฮมินิดอื่นๆ ที่ยังนิยมเดิน 4 ขาหรือปีนป่ายห้อยโหน การทรงตัวได้มั่นคงเป็นเรื่องง่ายขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูกเชิงกราน เข่าที่รับน้ำหนักได้ดีขึ้น และ “ฝ่าเท้า” จากน้ำหนักที่เคยอยู่บนขาคู่หน้า ถูกโอนถ่ายมาอยู่ขาหลัง ทำให้อุ้งเท้ามีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจนโค้งงอกว่ากลุ่มลิงอื่นๆ และนิ้วเท้าที่สั้นลงเปลี่ยนเราให้เป็นยอดนักวิ่งลมกรด ทำให้บรรพบุรุษของคุณรอดพ้นจากภัยต่างๆ มาเป็นล้านๆ ปี
นักชีววิทยาสายวิวัฒนาการจากมหาวิทยาลัย Harvard นาม Daniel E. Lieberman เคยตีพิมพ์งานวิจัยในวารสาร Nature เมื่อปี 2004 (1) เพื่อนำเสนอข้อสันนิฐานว่า มนุษย์ยืนเหยียดตรง เดิน วิ่ง โดยใช้สองขาทรงตัวบนพื้น ตั้งแต่บรรพบุรุษมนุษย์รุ่นบุกเบิกอย่าง โฮโมอิเร็คตัส Homo erectus เริ่มมีปรับวิถีชีวิตโดยใช้การวิ่งเป็นหลัก ซึ่งไม่มีสายพันธุ์ใดเลยที่เคลื่อนไหวได้ซับซ้อนและท้าทายได้เท่ากับมนุษย์
แม้เราจะสาธยายคุณงามความดีของเท้าในกรอบของวิวัฒนาการ แต่เท้ากลับเป็นอวัยวะที่ “ตกสำรวจ” และไม่ค่อยได้รับการเหลียวแลจากคุณเท่าไหร่ เพราะไม่ค่อยมีใครก้มมองพื้นกันหรอก ไม่มีใครมองรอยเท้าที่คุณทิ้งไว้เบื้องหลัง ทุกคนเชื่อมั่นว่าการมองข้างหน้า คือการเดินไปสู่โอกาสใหม่ แต่เท้าที่ไม่ได้รับการเหลียวแลนี่เอง อาจทำให้ความตั้งใจของคุณหยุดชะงักลง
เมื่อ ‘เท้า’ ไม่ยอมไปกับคุณด้วย
แม้คุณจะวิ่งมาเป็นล้านๆปีแล้ว แต่ก็ใช่ว่าวิวัฒนาการนำเสนอทุกอย่างแบบไร้ที่ติ มันยังมีความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนฝ่าเท้าของคุณอยู่ จำได้ไหมว่าฝ่าเท้ามีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจนโค้ง (Arch) แต่สำหรับหลายคน บริเวณที่สมควรจะโค้งดันไม่โค้งจนมีคำคุ้นหูว่า “ภาวะเท้าแบน” (Flat Feet) คือ ลักษณะของเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืนฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมด หรือ มีความโค้งเพียงเล็กน้อย ซึ่งลักษณะของภาวะเท้าแบนนี้มีทั้งเป็นภาวะที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด หรือ จากการใช้ชีวิตปกติของคุณ รู้หรือไม่ คนเราเดินเฉลี่ยวันละ 7,000 – 10,000 ก้าวต่อวัน โดย เท้าจะต้องรับน้ำหนักตัวมากขึ้นเมื่อลงแรงก้าวเดิน และต้องรับน้ำหนักมากขึ้น 2-3 เท่าตัวเมื่อเรากระโดด และเมื่อน้ำหนักตัวเรามากขึ้นจะยิ่งกดทับลงไปที่โครงสร้างเท้า ทำให้เข้าสู่ภาวะเท้าแบนได้ นอกจากนั้นการเดินบนพื้นเรียบแข็ง หรือแม้กระทั่ง อายุที่มากขึ้น ก็ส่งเสริมให้เป็นภาวะเท้าแบนได้เช่นกัน การเดินด้วยรองเท้าที่ไม่มีการรองรับอุ้งเท้าตามหลักสรีระศาสตร์ จึงเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้อุ้งเท้าของเราค่อย ๆ แบนราบลงไป
อาการเท้าแบนแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ เท้าแบนแบบยืดหยุ่น (Flexible Flat Feet) เมื่อยืนลงน้ำหนัก อุ้งเท้าจะหายไป แต่เมื่อยกเท้าขึ้นจะเห็นว่ามีอุ้งเท้าปกติ และเท้าแบนแบบยึดติด (Rigid Flat Feet) ลักษณะเท้าจะไม่มีอุ้งเลย ไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม
ภาวะเท้าแบน มีความพิเศษอยู่อย่าง คือคนที่เป็น มักไม่รู้ว่าตัวเองเป็น เพราะในคนส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏสัญญาณหรืออาการใดๆ จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่ผู้ป่วยบางรายรู้สึกเจ็บเท้าขึ้นมา โดยเฉพาะส้นเท้าหรืออุ้งเท้า แต่มันจะเริ่มทำให้ชีวิตคุณลำบากขึ้น เมื่อกิจกรรมต่างๆที่คุณชื่นชอบอย่าง การวิ่งจ๊อกกิ้ง เดินช็อปปิ้ง หรือจูงสุนัขตัวโปรดเดินปากซอยกลายเป็นความทรมานที่คุณไม่อยากจะเคลื่อนไหวไปไหน มันจะแย่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อยิ่งทนฝืน มักเกิดอาการบวมที่ข้อเท้า สูญเสียความสามารถในการทรงตัวและดีดตัวของเท้า ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และอาการอักเสบของเส้นเอ็น
มีงานวิจัยของทีมญี่ปุ่น(2) ที่ศึกษาเท้าของเด็กจำนวน 619 ราย พบเด็กที่มีลักษณะเท้าแบนมักมีแรงนิ้วเท้าในการยึดพื้นน้อยกว่าเด็กที่มีฝ่าเท้าโค้งปกติ ทำให้ลักษณะการเดินผิดปกติ เสียบุคลิกภาพ และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเท้าในอนาคต
ปัญหาเท้าแบนส่งผลต่อบุคลิกภาพของคุณและบ่อนทำลายความมั่นใจของคุณอยู่เงียบๆ จากลักษณะการเดินและรูปเท้าผิดปกติ หนังหนาด้าน ข้อนิ้วเท้างอและติดกันแน่น หรือเกิดปุ่มกระดูกปูดโปนขึ้นมา ทุกกิจกรรมที่ทำจะไม่สามารถลงแรงไปที่เท้าได้เต็มที่ แรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวจึงตกไปเป็นภาระของหน้าขา ส่งผลให้กล้ามเนื้อหน้าขาอักเสบ มันเป็นเรื่องที่เจ็บปวดใจไม่น้อย ที่เห็นกิจกรรมที่คุณเคยสนุกค่อยๆหายไปจากลิสต์ทีละอย่างสองอย่าง
สัญญาณสุขภาพบน ‘รอยเท้าคุณ’
นักบรรพชีวินและนักโบราณคดีสามารถมองเห็นรูปแบบของชีวิตจากรอยเท้าเพียงไม่กี่ก้าว พวกเขาศึกษารอยเท้าไดโนเสาร์ รอยเท้ามนุษย์โบราณบนดินเหนียวก็สามารถคาดคะเนได้ว่า สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีลักษณะทางกายภาพอย่างไรในอดีต
แต่คุณไม่จำเป็นต้องมีอาชีพนักวิทยาศาสตร์ ก็สามารถศึกษา “รอยเท้าของตัวเอง” ได้เช่นกัน เนื่องจากรอยเท้าแอบซ่อนสัญญาณบางอย่างไว้ ภาวะเท้าแบนสามารถสังเกตอย่างเบื้องต้นได้เอง จากรอยเท้าที่เปียกน้ำ ว่าบนพื้นปรากฏรอยเต็มฝ่าเท้าหรือไม่ ถ้ารอยเท้าเต็มชัดไม่มีส่วนเว้า อาจคาดได้ว่าเป็นเท้าแบน แต่หากมีส่วนโค้งเว้า อาจคาดได้ว่าเท้ายังคงปกติ แต่อาจมีแนวโน้มก็ได้ หรือเมื่อคุณเดินไปตามหาดทรายแล้วกลับมาย้อนดูรอยเท้าว่ามีรอยกดสม่ำเสมอทั้งฝ่าเท้าหรือมีส่วนโค้งรับพอดีหรือไม่ หรือวิธีสังเกตด้วยตัวเองง่ายๆ คือ การใช้นิ้วมือสอดไปที่อุ้งเท้าขณะที่ยืนเหยียบพื้นอยู่ ถ้าไม่สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปใต้อุ้งเท้าได้ หรือ เข้าไปได้ไม่ถึง 1 ข้อนิ้ว อาจสามารถสันนิษฐานได้ว่า คุณมีแนวโน้มเป็นเท้าแบน
โอกาสใหม่ของคนเท้าแบน
ยังเป็นข้อถกเถียงเสมอว่า ภาวะเท้าแบนควรมีการรักษาทางการแพทย์อย่างจริงจังหรือไม่ และงานวิจัยส่วนใหญ่มุ่งตรงไปที่ภาวะเท้าแบนในเด็ก (3) โดยเบื้องต้นภาวะเท้าแบนไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ แต่หากรู้สึกเจ็บปวดจนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิต การได้รับวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด การรักษาจะพิจารณาจากสาเหตุและระดับความรุนแรงเป็นหลัก ซึ่งมีทั้งการรักษาด้วยการบำบัดทางกายภาพ รักษาด้วยยา หรือผ่าตัด
แต่สิ่งที่ง่ายที่สุดคุณควรใส่ใจคือ “รองเท้า” ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องใส่เดินไปไหนต่อไหนตลอดทั้งวัน และรองเท้าจำนวนมากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อหลักสรีระศาสตร์หรือใช้ความเข้าใจสุขภาพของฝ่าเท้าเลย การเลือกรองเท้าให้เหมาะกับคุณจริงๆ อาจจะไม่ได้มีแค่สีสันหรือหน้าตา แต่ต้องมั่นใจได้ว่ามีการออกแบบอย่างแม่นยำโดยมีจุดประสงค์เพื่อสุขภาพของคุณเป็นสำคัญ
สกอลล์ (Scholl) แบรนด์รองเท้าที่คนไทยคุ้นชินกันดี ให้ความสำคัญกับการออกแบบรองเท้าโดยร่วมมือกับแพทย์เฉพาะทาง (Phillip Vasyli, ดร. ฟิลลิป เจ วาสสิลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเท้าจากประเทศออสเตรเลีย) เพื่อปรับโครงสร้างเท้าที่ผิดปกติให้คืนรูปตรงตามธรรมชาติ โดยมีชื่อว่า “สกอลล์ ไบโอเมคคานิกส์” (Scholl Biomechanics) เพื่อล็อคองศาเท้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตลอดการสวมใส่ หลักการทำงานเสมือนการจัดฟัน คือจัดระเบียบโครงสร้างเท้าที่ผิดให้กลับมาถูกต้อง ดังนั้นอาจเป็นไปได้ในช่วงเริ่มใส่ก็จะเจ็บๆหน่อย ให้ใส่ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง สลับกับรองเท้าเดิม ซัก 2-3 สัปดาห์ เมื่อเท้าเริ่มเข้าที่ จะใส่สบายมาก เดินได้นานขึ้น ไม่ปวดเมื่อยเหมือนเดิม เพราะ สกอลล์ ไบโอเมคคานิกส์ เข้าแก้ที่ต้นเหตุ เพื่อให้ทุกย่างก้าวของคุณมั่นใจยิ่งขึ้นจากเทคโนโลยีที่ดีที่สุดสำหรับเท้า
เท้าอยู่ร่วมกับวิวัฒนาการเรามาแสนนาน การเริ่มใส่ใจเท้าของคุณมีอิทธิพลต่อสุขภาพองค์รวม อย่าเลือกที่จะใส่อะไรก็ได้ เพราะเท้าของคุณออกแบบผ่านกาลเวลาเพื่อคุณคนเดียว พบรายละเอียดเทคโนโลยีของสกอลล์ได้ที่ http://www.schollshoesthailand.com/technology
อ้างอิงข้อมูลจาก
(1) Distance running ‘shaped human evolution’
http://www.nature.com/news/2004/041115/full/news041115-9.html
(2) Children with flat feet have weaker toe grip strength than those having a normal arch
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4681939/
(3) What are ‘flat feet’ in children and are they something to worry about?