กัญชาไม่ใช่พืชสารพัดนึก ยังคงต้องย้ำประโยคนี้อยู่เสมอๆ เพราะเช่นเดียวกับทุเรียนที่อุดมไปด้วยน้ำตาลหวานอร่อย แต่กินมากไปก็ร้อนรุ่ม เห็ดมีสารพัดชนิด แต่บางชนิดกินเข้าไปก็ทำร้ายร่างกายได้ กัญชาเองก็เช่นกัน
เกือบศตวรรษที่ว่างเปล่าที่องค์ความรู้ของกัญชาถูกหยุดแช่แข็งเอาไว้ให้อยู่ในความมืดมิด แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนทุกอย่างก็เปลี่ยน ในปัจจุบัน ประเทศหลายแห่งทั่วโลกเริ่มหันมาศึกษากัญชาในฐานะการแพทย์ทางเลือกอย่างจริงจัง และมีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้ผลิตออกมาแทบจะเรียกได้ว่าทุกสัปดาห์
ด้วยความที่กัญชาเป็นของใหม่มากสำหรับทุกคน ผู้ที่ตัดสินใจใช้กัญชาจึงควรได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชาอย่างใกล้ชิด The MATTER พูดคุยกับ พท.ป. ณัฐภัสสร พุทธปอง แพทย์แผนไทยประจำ KANA Wellness Clinic ศูนย์ดูแลการใช้กัญชาแบบครบวงจรถึงโอกาสของผู้ป่วยในการใช้กัญชาทางการแพทย์ มายาคติต่อกัญชาทั้งหลาย และมุมมองต่อภาวะสุญญากาศทางกฎหมายในปัจจุบัน
ทำไมต้องกัญชาทางการแพทย์?
ทำไมต้องกัญชาทางการแพทย์? คำตอบคือ ไม่ต้อง เพราะกัญชาทางการแพทย์คล้ายทางเลือกของผู้ป่วยมากกว่าเป็นทางตรงบังคับ ที่มีปลายทางเหมือนกันคือการทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น
แต่อย่างที่กล่าวไปว่ากัญชาไม่ใช่พืชสารพัดนึก ดังนั้น การได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะเริ่มใช้กัญชาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
“ในร่างกายของแต่ละคนจะมีระบบที่เรียกว่า เอนโดแคนนาบินอยด์ (endocannabinoids) ซึ่งเป็นระบบที่แล้วแต่บุคคลมาก เช่น ถ้าหมอใช้น้ำมันกัญชาอาจจะใช้เริ่มต้นที่ 4 หยดถึงจะมีประสิทธิภาพ แต่บางคนอาจจะเริ่มต้นที่ 1 – 2 หยดก็มีประสิทธิภาพแล้ว ฉะนั้น หน้าที่ของเราคือการหาปริมาณที่เหมาะสมกับคนไข้คนนั้น” พท.ป. ณัฐภัสสร เริ่มอธิบาย
ขยายความข้อความของคุณหมอเล็กน้อย เมื่อปี 2016 ในที่ประชุม New York Academy of Science นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ชั้นนำของโลกได้หยิบยกเรื่องกัญชากับผลข้างเคียงต่อจิตประสาทขึ้นมาถกเถียงกันอย่างจริงจัง และผลการประชุมสรุปง่ายๆ ว่า กัญชาเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล กล่าวคือในร่างกายของมนุษย์ทุกคนมี Cannabinoi Receptor หรือเสาสัญญาณที่จะตอบสนองเมื่อสารแคนนาบินอยด์จากภายนอก เช่น น้ำมันกัญชา หรือควันกัญชาเข้าสู่ร่างกาย เพียงแต่ร่างกายของเราแต่ละคนมีเสารับสัญญาณตัวนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นที่มาว่าทำไมแต่ละคนตอบสนองต่อกัญชาต่างกัน เช่นเดียวกับที่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดชนิดเดียวกันต่างกัน
“ต้องยอมรับว่ายาทุกอย่างมีอันตรายนะคะ แต่ทาง Kana Wellness Clinic เชื่อว่าการมีข้อมูลที่ถูกต้องและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้เราใช้กัญชาได้อย่างถูกวิธีและไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย” คุณหมอพูดด้วยรอยยิ้ม
ใครคือกลุ่มที่สามารถใช้กัญชา?
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันงานวิจัยกัญชาทางการแพทย์ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากถึงผลข้างเคียงอย่างรอบด้าน แต่มีบางกลุ่มอาการที่เห็นตรงกันแล้วว่าสามารถใช้กัญชาเพื่อบรรเทาหรือรักษาอาการได้ โดยข้อมูลจากรายงาน ‘คําแนะนําการใช้กัญชาทางการแพทย์ ฉบับปรับปรุงคร้ังที่ 5’ ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุถึง 6 กลุ่มอาการ ได้แก่
● รักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด (คีโม)
● ผู้ป่วยโรคลมชัก
● ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
● ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง
● ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วยเอดส์
● การเพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายกลุ่มอาการที่งานวิจัยเริ่มบ่งชี้ไปในทิศทางที่ดี เช่น โรคพาร์กินสัน, โรคอัลไซเมอร์, โรควิตกกังวล, โรค PTSD, โรคมะเร็ง รวมถึงโรคนอนไม่หลับ (insomania) ซึ่งหลายงานวิจัยเริ่มชี้ไปทางเดียวกันว่า การใช้กัญชาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้ลึกขึ้นและตื่นกลางดึกน้อยลง
ในมุมของ พท.ป. ณัฐภัสสร อาการนอนไม่หลับเป็นมากกว่าแค่ปัญหาทางร่างกาย แต่สัมพันธ์กับความไม่ปกติของสภาพจิตใจ ดังนั้น การใช้กัญชาควบคู่ไปกับการดูแลด้านจิตใจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ KANA Wellness Clinic คำนึงถึง
“อาการนอนไม่หลับเป็นโรคของจิตใจ เราต้องช่วยในหลายด้านร่วมกัน แพทย์ทางเลือกคือการรวมองค์ความรู้หลายด้านไว้ด้วยกัน ดูแลทั้งจิตใจคู่ไปกับพฤติกรรมด้วย ขณะที่แพทย์แผนปัจจุบันจะมียาให้คนไข้หนึ่งตัว เพื่อรักษาให้หายเลย” แพทย์หญิงกล่าว
“เมื่อคนไข้เข้ามาเราก็จะถามก่อนว่าอยากจะใช้ทำเพื่ออะไร ถ้าสมมติใช้เพื่อพักผ่อน คุณหมอจะแนะนำสายพันธุ์และปริมาณที่เหมาะสมแก่คนไข้ และให้ข้อมูลว่าถ้าเกิดผลข้างเคียงขึ้นระหว่างใช้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว มึนหัว มีวิธีการแก้ไขอย่างไร” นักแพทย์แผนไทยประยุกต์กล่าว
“ถ้าสมมติว่ายังไม่เคยใช้กัญชามาก่อนเลย ถ้าเข้ามารับคำปรึกษาที่ KANA จะได้คำแนะนำที่ถูกต้องในการใช้กัญชา เพราะว่าทางทีมเราจะกำหนดปริมาณและคอยติดตามผลการรักษาอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้” เธออธิบายต่อ
“เราต้องทำให้เขาเป็นผู้ใช้กัญชาที่เหมาะสม มีความรู้ถูกต้อง ซึ่งสังคมไทยยังขาดองค์ความรู้ตรงนี้ เพราะกัญชาเพิ่งได้รับการยอมรับทางกฎหมายได้ไม่นาน” เธอทิ้งท้ายในประเด็นนี้
พบผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นหรือต้องการคำปรึกษาในการใช้กัญชาอย่างถูกวิธี สามารถเข้ามาที่ KANA Wellness Clinic ได้เลยในทันที โดยทางคลินิกได้เปิดให้บริการคำปรึกษาฟรีตั้งแต่ตอนนี้ – สิ้นเดือนมิถุนายน
โดยขั้นตอนก็ง่ายๆ เพียงแค่กดเข้าไปในเว็บไซต์ kanathailand เพื่อนัดหมายเวลาเข้าพบแพทย์ หลังจากนั้นจะมีทีมงานโทรกลับมาเพื่อคอนเฟิร์มคิว แล้วจึงมาเข้ารับบริการตามปกติ ซึ่งทางทีมแพทย์จะซักไซ้ประวัติคนไข้ตั้งแต่ เคยมีอาการแพ้กัญชาไหม เคยทดลองใช้ยาอะไรมาแล้วบ้าง หลังจากนั้นจะจ่ายยาจากกัญชาซึ่งอาจเป็นได้ทั้งรูปแบบการกิน, การสูบ, หรือการหยดน้ำมัน แล้วจะนัดหมายอีกครั้งเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด
ส่วนค่าใช้จ่ายนั้นไม่ถือว่าแพง โดยเมื่อพ้นช่วงโปรโมชั่นให้คำปรึกษาฟรีไปแล้ว (วันนี้ – สิ้นเดือนมิถุนายน 2566) ทางทีมแพทย์จะมีค่าบริการให้คำปรึกษา 500 บาท/ ครั้ง ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับกัญชาขึ้นอยู่กับอาการและความต้องการของผู้ใช้กัญชาว่าอยากรับเป็นแบบขนม, สูบ, หรือเป็นน้ำมันกัญชา ซึ่งราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 400 – 1,250 บาท
“อยู่ที่อาการและความชอบของลูกค้าแต่ละคนด้วย เขาอาจจะเคยลองน้ำมันมาแล้วเขามีความสุข หรือชอบแบบกินมากกว่า เราต้องมีทางเลือกให้แก่เขา อาจจะเป็นเยลลี่, คุกกี้, บราวนี่ หรือคอร์นเฟลกส์” ทีมงานหน้าเคาน์เตอร์อธิบายให้เราฟังอย่างละเอียด
ทำไมต้อง KANA Wellness Clinic?
ก่อนที่จะมาเป็น KANA Wellness Clinic ทางด้าน KANA เริ่มต้นจากการปลูกกัญชาเพื่อส่งให้ทางโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโรและมหาวิทยาลัยราชภัฏล้านนาวิจัยเรื่องน้ำมันกัญชา ร่วมกับ ‘ปราชญ์ชาวบ้าน’ อย่าง เดชา ศิริภัทร ก่อนนำผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มารักษาผู้ป่วยในคลินิกต่อไป หรือกล่าวได้ว่าสูตรน้ำมันกัญชาของ KANA คือสูตรเดียวกับน้ำมันกัญชาหมอเดชาก็ไม่ผิดนัก
ส่วนที่ KANA ให้ความสำคัญที่สุดคือความสะอาดบริสุทธ์และคุณภาพของกัญชา โดยหลังจากกัญชาแตกดอกให้พร้อมเก็บเกี่ยวแล้ว จะมีการส่งตัวอย่างเข้าห้องแล็บเพื่อทดลองผ่านเครื่อง HPLC เพื่อวัดค่าสารสกัดสำคัญในกัญชาทั้ง CBD และ THC โดยผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับการวัดคุณภาพกัญชาด้วย Master Budtender เพื่อจัดเกรดกัญชาออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
● Gold
● Platinum
● Diamond
● Super Diamond
ความกังวลต่อภาวะสุญญากาศทางกฎหมายกัญชา
ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันกฎหมายไทยยังอ่อนแอมากในการควบคุมกัญชา โดยถ้าให้สรุปภาพอย่างรวบรัดและชัดเจนที่สุด คือภาพของการตั้งโต๊ะขายกัญชาตามย่านท่องเที่ยว เช่น ถนนข้าวสาร กล่าวคือทุกคนสามารถเข้าถึงกัญชาได้ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ พท.ป. ณัฐภัสสร แสดงความกังวล
“ในตอนนี้กัญชาเราเข้าถึงง่ายเกินไป” คุณหมอเริ่มต้นด้วยสีหน้ากังวล “เราอยากให้มีมาตรการที่คุ้มครองกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก, กลุ่มผู้ป่วยบางโรค หรือแม่ที่กำลังให้นมบุตร ไม่ให้เข้าถึงกัญชา อาจจะให้ขายกัญชาเฉพาะสถานบริการที่ขึ้นทะเบียนกับรัฐ เช่น โรงพยาบาล, คลินิกเอกชน, หรือร้านขายยาเหมือนในอุรุกวัย”
คุณหมอยอมรับว่ายังเห็นด้วยให้เปิดให้มีการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ เพราะมันจะสร้างเม็ดเงินให้สังคมไทยเป็นจำนวนมหาศาล เพียงแต่ต้องมีการจำกัดกลุ่มที่เข้าถึงและสถานที่ขายกัญชาต้องมีใบรับรองและมาตรฐาน
“กัญชาสามารถสร้างเม็ดเงินจำนวนมากให้กับสังคมไทยได้ แต่ต้องจำกัดการเข้าถึง และสถานที่จำหน่ายกัญชาต้องขึ้นทะเบียนและมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ เช่น โรงพยาบาลหรือคลินิก และมีการตรวจอีกชั้นข้างใน เช่น เช็กบัตรประชาชน ส่วนร้านที่ขายตามถนนข้าวสารหรือถนนท่องเที่ยว ที่ไม่ถูกกฎหมายควรต้องกำจัดให้หมด” คุณหมออธิบายมุมมองส่วนตัวของเธอต่อทิศทางนโยบายกัญชาในปัจจุบัน
ก่อนจากกันคุณหมอทิ้งท้ายถึงคนที่สนใจอยากเริ่มต้นใช้กัญชาว่า สามารถเข้ามาปรึกษาที่ KANA Wellness Clinic ได้ตลอดเวลา เพราะการใช้กัญชาอย่าง “เหมาะสมและถูกวิธี” คือหัวใจหลักของสถานบริการแห่งนี้
“กัญชาทางการแพทย์มีประโยชน์มากมาย ถ้าเรามีข้อมูลและวิธีใช้ที่ถูกวิธี เพราะฉะนั้นอยากให้คนไทยเปิดใจว่ากัญชาไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มันมีสารมากมายที่มีประโยชน์อยู่ในนั้น” คุณหมอกล่าว
“ถ้าอยากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญสามารถเข้ามาที่ Kana Wellness Clinic ได้ เรายินดีให้คำปรึกษาในการใช้กัญชาอย่างถูกวิธี กัญชามีประโยชน์จริงๆ ถ้าเราใช้อย่างถูกต้อง” คุณหมอทิ้งท้าย
ผู้ที่สนใจเข้ารับคำปรึกษาที่ KANA Wellness Clinic สามารถติดต่อได้ที่:
เว็บไซต์: kanathailand.com
เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/kanawellnessclinic
โทรนัดหมาย: 02-028-8300
ที่ตั้งของคลินิก: อาคารเลขที่ 7 อาคาร Summer Point ชั้น G ห้อง 105 – 107 ถนนสุขุมวิท ซอยสุขุมวิท 69 แขวงพระโขนงเหนือ กรุงเทพฯ 10110