คำว่า ‘ครอบครัว’ อาจเป็นคำที่ใช้ถูกหยิบมาเอ่ยถึงว่า เป็นสถาบันที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุด เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตที่เกิดมา และยังเป็นสิ่งที่สามารถกำหนดอนาคตของชีวิตนั้นๆ ได้
แต่ไหนเลย สถิติของเด็กที่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัวกลับมีตัวเลขที่สูงขึ้นทุกปี นับเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยที่ยังไม่สามารถหาทางออกได้ จากสถานะของเด็กธรรมดาก็ต้องกลายเป็น ‘เด็กกำพร้า’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นิยามของสถาบันที่สำคัญที่สุดอาจไม่ได้มีความหมายอย่างที่นิยามไว้แล้ว
ทางออกของปัญหา อาจไม่สามารถแก้ไขด้วยการลงมือเหมือนปัญหาอื่นๆ แต่คือการมองปัญหาอย่างเข้าใจ และเริ่มต้นกลับไปให้ความสำคัญกับครอบครัวของทุกคนอีกครั้ง
ปัญหาเริ่มต้นที่ครอบครัว
การที่เด็กคนหนึ่งจะกลายเป็นเด็กกำพร้าได้ แทบไม่มีสถิติไหนถูกบันทึกไว้เลยว่า เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวเด็กเอง จากสถิติของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีเด็กและเยาวชนที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ รวมแล้วกว่า 7 หมื่นคน ซึ่งสาเหตุสำคัญล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากครอบครัวที่มีปัญหา ตั้งแต่พ่อแม่ที่ไม่มีความพร้อมในการเลี้ยงดูหรือการท้องเมื่อไม่พร้อม จึงเลือกตัดปัญหาด้วยการทอดทิ้งเด็กทารก อย่างที่เห็นข่าวการทิ้งเด็กในสวนสาธารณะที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จนทำให้สถิติเด็กที่ถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี นอกจากนั้นคือปัญหาการหย่าร้างและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัว สถาบันครอบครัวที่ควรจะเป็นจุดเริ่มต้นและบ่มเพาะชีวิตเล็กๆ ให้เติบโตขึ้นกลับต้องล่มสลาย จนนำไปสู่ปมทางจิตใจของเด็กในที่สุด
ทำลายหัวใจให้แตกสลาย
วัยเด็กคือวัยที่ต้องการความรักและการดูแลจากผู้เป็นพ่อแม่ เรียกว่าเป็นช่วงวัยของชีวิตที่ต้องการที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจมากที่สุด แน่นอนว่าเมื่อขาดช่วงเวลานี้ไป ทำให้ขาดทั้งความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ไปด้วย สภาพจิตใจย่อมแตกต่างจากเด็กที่เติบโตมาพร้อมกับการเลี้ยงดูที่ดี มีผลศึกษาพบว่าเด็กกำพร้าจะมีพัฒนาการทางสมองที่ช้ากว่าปกติ ส่งผลต่อการเติบโตในระยะยาว แม้ว่าเด็กเหล่านี้จะมีทักษะในการเอาตัวรอดที่ดี เพราะต้องดิ้นรนทุกอย่างด้วยตนเอง แต่กลับมีทักษะในการเข้าสังคมที่ไม่ดีนัก ทำให้สายตาของเด็กมองโลกทุกอย่างเป็นสีเทา ไม่สดใสอย่างที่ควรจะเป็น การเป็นเด็กกำพร้า อาจไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การมีชีวิตที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงหัวใจของพวกเขาที่ต้องแตกสลายอย่างโดดเดี่ยว
ปลายทางอาจไม่ใช่สถานสงเคราะห์
อย่างที่สังคมทั่วไปรับรู้ เด็กที่ถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่จะถูกส่งไปยังสถานสงเคราะห์หรือสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า เพื่อให้ได้รับการเลี้ยงดูตามที่กฎหมายช่วยเหลือ เมื่อสภาพจิตใจของเด็กที่ย่ำแย่มาตั้งแต่แรก จึงไม่สามารถเยียวยาได้ผ่านการเลี้ยงดู ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ครอบครัวจำลองหรือบ้านที่เข้ามารับช่วงดูแล ไม่สามารถทดแทนสิ่งที่ครอบครัวแท้ๆ เป็นผู้ให้ได้เลย ปลายทางของเด็กกำพร้าที่ต้องไปอยู่ยังสถานสงเคราะห์จึงเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เด็กเหล่านี้ก็สามารถเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขได้ เพราะแบ็คกราวนด์ชีวิตของแต่ละคน อาจไม่ได้เป็นตัวกำหนดและตัดสินอนาคตของเด็กๆ ได้ ทุกอย่างอยู่ที่มุมมองและความพยายามของตัวเด็กเอง ที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจและโอกาสที่สังคมมอบให้
ทางออกก็คือครอบครัว
เมื่อสุดท้ายแล้ว สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าไม่ใช่ทางออกของปัญหาที่แท้จริง เพราะฉะนั้นก็ต้องย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของปัญหา นั่นก็คือ ‘สถาบันครอบครัว’ ที่เด็กกำพร้าทุกคนจากมา ด้วยการอยู่ร่วมกับปัญหาอย่างเข้าใจ โดยไม่ใช้วิธีการทอดทิ้งเด็กให้เป็นการแก้ปัญหา และปล่อยให้พวกเขาต้องรับผลจากการกระทำของผู้เป็นพ่อแม่ คนทั่วไปในสังคมเองที่ต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน โดยไม่มองว่าปัญหาครอบครัวคือปัญหาภายในต้องแก้ไขกันเอง แต่เป็นปัญหาที่เราในฐานะของคนที่อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือได้ เพราะความรัก ความอบอุ่น และกำลังใจในการใช้ชีวิตของเด็กกำพร้า ไม่ได้จำเป็นต้องมาจากพ่อแม่เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าใครก็ตามก็สามารถมอบให้พวกเขาได้ สุดท้ายเพียงแค่เริ่มต้นจากครอบครัวของเราเอง ก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งแล้ว
‘พรุ่งนี้…จะไม่มีแม่แล้ว’ เพราะครอบครัวคือสิ่งสำคัญ
การจะทำให้คนในสังคมมองเห็นและเข้าใจปัญหาเด็กกำพร้าได้มากขึ้น จำเป็นต้องมีกระจกที่สามารถสะท้อนภาพของปัญหาออกมาให้เห็น และสิ่งที่มีพลังที่สุด ณ เวลานี้ก็คงเป็นสื่ออย่างเช่นซีรีส์เรื่อง ‘พรุ่งนี้…จะไม่มีแม่แล้ว’ ซีรีส์เรื่องใหม่จาก LINE TV ผลงานรีเมคจากซีรีส์ญี่ปุ่น ‘Ashita Mama Ga Inai’ ที่เคยสะท้อนปัญหานี้ให้ชาวญี่ปุ่นได้ตระหนักมาแล้ว ซึ่งในเวอร์ชันนี้ได้เปลี่ยนบริบทให้เข้ากับสังคมไทย เพื่อตั้งตั้งคำถามกับสังคมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กกำพร้า ผ่านตัวละครเด็กกลุ่มหนึ่งที่แม้จะต้องเจอกับชะตาชีวิตที่พลิกผันทำให้กลายเป็นเด็กกำพร้า แต่ก็ไม่ท้อแท้สิ้นหวัง ยังพยายามหาครอบครัวที่อบอุ่นที่เหมาะสมกับตัวเองให้ได้ เชื่อว่าความน่ารักสดใสของเด็กๆ จะทำให้ทุกคนได้ตระหนักถึงปัญหานี้ในสังคมไทย และกลับมามองเห็นคุณค่าของครอบครัวมากยิ่งขึ้น
ติดตามซีรีส์ ‘พรุ่งนี้…จะไม่มีแม่แล้ว’ ได้แล้วบน LINE TV เท่านั้น
https://tv.line.me/abandoned
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.tcijthai.com/news/2015/08/scoop/5269
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/645864
resource.thaihealth.or.th/system/…/edkdyokaas_cchudphlikphannaakhtkhngchaati.pdf
https://adoption.com/5-things-know-about-how-orphanage-life-affects-children/
https://www.livescience.com/21778-early-neglect-alters-kids-brains.html