มองไปทางไหนก็มีแต่คนที่ชีวิตดูดีเต็มไปหมด ได้ไปเที่ยวบ่อยๆ ใช้ของดีๆ ซึ่งคงทำให้หลายคนคิดไปว่า ชีวิตของคนอื่นช่างดีกว่าตัวเองเหลือเกิน แต่อย่างไรเสีย ไม่มีใครรู้หรอกว่า คนที่เราเห็นเหล่านั้น เบื้องหลังแล้ว เขาอาจมีความกังวลเรื่องเงินทองและเงินเก็บที่ไม่ค่อยมีเหมือนเราก็ได้
อย่างผลสำรวจของนิด้าโพลร่วมกับเครดิตบูโร ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีรายได้ทั่วประเทศ จำนวน 2,000 ตัวอย่าง พบว่า คนเกือบครึ่งหนึ่งหรือ 45.15% มีรายได้พอๆ กับรายจ่าย และ 51.65% มีเงินออมไว้ใช้ พูดอีกอย่างคือ คนไทยจำนวนมากใช้เงินไปเรื่อยๆ แบบได้มาใช้ไป และไม่มีการออมเงิน ดังนั้น จะไปรู้ได้อย่างไรว่า คนที่มีชีวิตดูดี อาจเป็นคนที่มีเงินมาก็ใช้ไปก็เป็นได้
แต่ไม่ว่าจะนิยมชมชอบชีวิตที่ดูดีหรือชีวิตธรรมดาๆ หนึ่งในองค์ประกอบของชีวิตที่ดีอย่างหนึ่ง คือการมีเงินเก็บ แต่การจะมีเงินเก็บในยุคนี้ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้น แถมยังต้องต่อสู้กับแนวคิดที่ชวนให้เรา “ออกไปใช้ชีวิตอย่างเต็มที่” ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เราๆ ออกไปใช้ชีวิตกันจนสุด แต่พอแฮปปี้เสร็จแล้ว ก็กลับมานั่งกลุ้มใจเรื่องเงินต่อ และที่สำคัญ ปัจจุบัน เทคโนโลยีและการแพทย์ยุคใหม่ทำให้เราอายุยืนขึ้น แง่หนึ่งก็น่าดีใจว่าตายช้า แต่อีกแง่หนึ่งก็น่ากลุ้มใจว่า เมื่อแก่ตัวและไม่มีงานทำ เราจะหาเงินจากไหนมาดูแลตัวเอง ฉะนั้นเรื่องหนึ่งที่คนยุคนี้ไม่ควรมองข้าม คือ การมีวินัยด้านการเงิน การวางแผนทางการเงินเพื่อเกษียณ และความรู้เรื่องการลงทุนที่จะช่วยให้เงินงอกเงย
เอาชนะตัวเองอย่างไร ให้มีเงินออมได้สำเร็จ?
สำหรับหลายคน ความยากของการออมเงินไม่ต่างอะไรกับการฝืนเอาชนะความขี้เกียจของตัวเอง กล่าวคือ ถ้าหากไม่หาวิธีบังคับตัวเองให้ได้ สุดท้ายเงินก็จะไหลออกจากกระเป๋าไปจนหมดและไม่เหลือเก็บ ดังนั้น วิธีที่จะช่วยให้คนออมเงินไม่เก่งสามารถออมเงินได้สำเร็จ อย่างแรกต้องยอมรับก่อนว่า เราบังคับใจตัวเองไม่เก่ง ฉะนั้นวิธีที่จะได้ผลคือ สร้างภาวะบังคับตัวเองขึ้นมา เช่น จากเดิมที่เคยคิดว่า ใช้เงินก่อนเหลือเท่าไหร่ค่อยมาเก็บ (ซึ่งมักไม่เหลือ) ก็เปลี่ยนมาเก็บก่อนแล้วค่อยใช้ อาจจะใช้วิธีการ ให้ธนาคารตัดเงินทุกครั้งที่เงินเดือนออกมาไว้ที่บัญชีเงินเก็บ หรือบังคับตัวเองด้วยการสมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับบริษัทที่จะหักเงินเดือนไปสะสมอัตโนมัติ เป็นต้น
ถัดมาคือ อย่าดูถูกเงินน้อย การออมเงินถือเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่ง ในช่วงเริ่มต้นทำกิจวัตรใดก็ตาม ควรเริ่มจากการทำทีละเล็กทีละน้อยไปเรื่อยๆ เพื่อสร้างนิสัยใหม่ให้ตัวเอง ในทางกลับกัน การโหมทำพฤติกรรมใหม่แบบทีละมากๆ อาจทำให้ท้อและในที่สุดก็ล้มเลิกไปเอง ฉะนั้นอย่าดูถูกเงินน้อย หากรู้ว่าบังคับตัวเองออมเงินจำนวนมากไม่ได้ ก็ให้เริ่มจากทีละน้อยๆ ก่อน เช่น เดือนละ 1,000-200 บาท ให้เกิดวินัยในการออม ซึ่งถึงตอนนั้นการจะเพิ่มจำนวนเงินที่จะเก็บในแต่ละเดือนก็ทำได้ง่ายขึ้น
และสุดท้ายคือ นำเงินไปไว้ในที่ที่มีอุปสรรคเยอะๆ พูดอีกอย่างคือ ทำให้การจะนำเงินออกมาใช้ยากขึ้น เช่น ไม่ทำบัตรเอทีเอ็มของบัญชีเงินเก็บ หรือจากเดิมที่ฝากเงินเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ก็มาเป็นแบบฝากประจำ หรือนำเงินมาซื้อกองทุนรวมแทน โดยเฉพาะกองทุนรวมที่มีเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับเรื่องระยะเวลาการขายคืน อย่างเช่นกองทุนประเภท LTF/RMF เพราะพอยุ่งยาก หรือมีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาขายคืน เราก็จะไม่อยากไปยุ่งกับมัน
คิดวางแผนเงินตอนเกษียณ
ไม่มีใครรู้ว่าจะตายเมื่อไร แต่เราสามารถกะเกณฑ์ได้ เหตุผลที่คนเราควรคิดถึงความตายไว้บ้าง ก็เพราะมันทำให้เรารู้ล่วงหน้าว่าเราควรเตรียมเงินไว้เท่าไหร่เพื่อใช้ตอนแก่ตัว นอกจากนี้ ก็ควรคิดไว้ด้วยว่า เราอยากมีชีวิตในช่วงเกษียณอายุแบบไหน เช่น อยู่แบบสบายๆ หรืออยู่แบบประหยัด
อย่างเมื่อปลายปี 2557 ทาง K-Expert ของธนาคารกสิกรไทย ได้ให้ข้อมูลว่า เมื่อถึงวัยเกษียณ คนเราจะมีค่าใช้จ่ายหลักอยู่ 5 หมวด คือการดำรงชีพ ที่อยู่อาศัย รถยนต์ สุขภาพ และความบันเทิง ถ้ามีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง หรือแบบประหยัด จะต้องใช้เงินประมาณเดือนละ 24,533 บาท หรือ 294,400 บาทต่อปี แต่ถ้าแบบอยู่อย่างสบาย คล่องตัวกว่านั้น ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 52,108 บาท ต่อเดือน หรือ 625,300 บาท ต่อปี ซึ่งเมื่อนำตัวเลขต่อปีเหล่านี้ไปคูณจำนวนปีที่เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ ก็จะพบจำนวนเงินก้อนที่เราต้องเตรียมไว้ หรือพูดอีกอย่างคือ จะได้รู้ว่าต้องเก็บเงินอีกเท่าไหร่ (ถึงตรงนี้ บางคนอาจคิดว่า ขอตายเร็วเสียยังจะดีกว่า)
หรือหากใครที่อยากคำนวณแผนการเงินตอนเกษียณแบบละเอียดๆ ก็สามารถลองเข้าไปใช้งานโปรแกรมคำนวณแผนเกษียณอายุได้ที่เว็บไซต์ของ บลจ. กสิกรไทย
รู้จักนำเงินไปลงทุน
เมื่อมีเงินออม และรู้เป้าหมายว่าต้องออมเงินเท่าไหร่แล้ว สุดท้ายก็คือ ต้องรู้จักนำเงินไปลงทุนเพื่อสร้างการงอกเงย โดยวิธีการเก็บออมเพื่อให้ไปถึงจุดหมายก็คือ เก็บทุกทางที่ทำได้
โดยสิ่งแรกที่ง่ายสุดคือ สมัครกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับที่ทำงาน หรือถ้าเป็นข้าราชการ ก็สมัครกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่จะหักเงินเดือนของเราไปสะสม โดยทางที่ทำงานก็จะช่วยสมทบให้อีกทาง ก็เป็นการช่วยให้เรามีเงินเก็บเพิ่มขึ้นแบบง่ายๆ
ถัดมาคือ การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) สำหรับ LTF นั้น ถ้าจะให้ดี หากไม่มีความจำเป็นต้องขายคืน เมื่อครบ 5 7 ปีปฏิทินแล้ว ก็ควรเก็บไว้ในกองทุนต่อ ไม่ต้องขายคืนออกมา เพื่อปล่อยให้เงินทำงานต่อและสร้างผลตอบแทนให้เรานานขึ้น
อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า ช่วงสิ้นปีก็จะเข้าสู่เทศกาลซื้อกองทุน RMF/LTF สำหรับใครที่กำลังมองหาข้อมูลเกี่ยวกับกองทุนเหล่านี้อยู่ ทางบลจ.กสิกรไทย ก็มีกองทุน LTF/RMF 2 กองทุน 2 คาแรคเตอร์ มาแนะนำ ดังนี้
กองทุนเปิดเค 20 ซีเล็คหุ้นระยะยาวปันผล (K20SLTF) เหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความมั่นใจในตลาดหุ้น พร้อมรับความผันผวนได้สูง โดยกองทุนจะลงทุนในหุ้นเด่นที่คัดเลือกมาไม่เกิน 20 บริษัท จากหุ้นหลากหลายขนาด (Multi cap) เพื่อคัดเลือกเข้ามาอยู่ในพอร์ตการลงทุน โดยการวิเคราะห์ทั้งปัจจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อมองหาหุ้นที่มีความน่าสนใจ และมีแนวโน้มเติบโตได้ดี และสร้างผลตอบแทนได้สูง ที่สำคัญเป็นกองทุน LTF ที่ขายดีที่สุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาของทาง บลจ.กสิกรไทย
กองทุนเปิดเค Mid Small Cap หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (KMSRMF) ลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนสูงกว่าหุ้นขนาดใหญ่ เนื่องจากมีโอกาสในการเติบโตที่สูง ปัจจุบันหุ้นกลุ่มนี้มีอยู่ในตลาดจำนวนมากกว่า 500 ตัว นอกจากความน่าสนใจของกลยุทธ์การลงทุนแล้ว ด้านผลตอบแทนก็น่าสนใจเพราะกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนสูงสุดเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่ม RMF หุ้นไทยทั้งหมดในอุตสาหกรรม โดยให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 33.95% ต่อปี เอาชนะเกณฑ์มาตรฐาน (SET TRI) ซึ่งอยู่ที่ 18.77% ต่อปี (จากการจัดอันดับจากมอร์นิ่งสตาร์ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560)
โดยผู้ลงทุนที่สนใจสามารถลงทุนในกองทุน LTF และ RMF ของ บลจ.กสิกรไทยได้ง่ายๆ ผ่าน App K PLUS, K-My Funds, บริการ K-Cyber Invest และที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา ซื้อง่าย เริ่มต้นเพียง 500 บาท หากสนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติม หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ KAsset Contact Center 02 673 3888 หรือ https://goo.gl/JS2pXh
ปิดท้ายเรื่องการมีวินัยในการออม และการวางแผนการเงิน เพราะเรื่องนี้นับเป็นเรื่องใหญ่ของชีวิตคนเรา เนื่องจากมันเกี่ยวพันโดยตรงกับการดำเนินชีวิต สภาพความเป็นอยู่ อิสรภาพทางการเงิน และความมั่นคงมั่งคั่งในวัยเกษียณ
*หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
ยิ่งในยุคสมัยที่สังคมให้คุณค่ากับภาพลักษณ์ภายนอกด้วยแล้ว การมีวินัยและแผนการเงินจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธว่า ลึกๆ เราต่างก็ต้องการมีเสถียรภาพและความมั่นคงในชีวิตกันทั้งนั้น ดังนั้นการใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในวันนี้เป็นเรื่องดี แต่ก็ต้องอย่าลืมคิดถึงวันพรุ่งนี้ด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
พฤติกรรมการออมและภาวะหนี้สินของประชาชนในครึ่งปีแรก 2560
http://www.nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=polls-detail&id=545