เพราะร่างกายไม่มีอะไหล่ให้เปลี่ยน กับข้อเข่าก็เช่นกันเพราะข้อเข่ามีหน้าที่สำคัญหลายประการ
ทั้งการรับน้ำหนักตัวโดยตรง พร้อมกับรับแรงกดแรงกระแทกจากการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การดูแลใส่ใจข้อเข่าจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม หากเกิดอาการปวดข้อเข่าขึ้น จึงควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการ
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นหนึ่งในโรคทางกระดูกและข้อที่อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด จากข้อมูลอุบัติการณ์ของโรคในประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยจำนวนมากทั้งที่ได้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัย ซึ่งนับว่าโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญมากปัญหาหนึ่งในประชากรชาวไทย ดังนั้น การรู้จักโรคไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องดีกว่า แล้วเราจะมาไขข้อข้องใจ พร้อมไข ‘ข้อเข่าเสื่อม’ ให้กระจ่างกัน
1. ข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นไม่จำกัดเพศ-วัย
เราอาจจะเคยได้ยินกันว่า โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นเรื่องของคนสูงอายุ แต่แท้จริงแล้ว ข้อเข่าเสื่อมเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าคุณจะเป็นใคร จากรายงานการศึกษาเชิงสำรวจโดยโครงการ COPCORD โดยองค์การอนามัยโลก ในปี 2541 พบว่าประชาชนตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไปในประเทศไทย เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 11.30% ในบรรดาอุบัติการณ์โรคข้อเสื่อม (อ้างอิงจากบทความวิชาการของ ผศ.พ.อ.หญิง ดร.นงพิมล นิมิตอานันท์) หรือจะเป็นในการงานวิจัยช่วงอายุของการเกิดอุบัติการณ์โรคข้อเข่าเสื่อมโดย Elena Losina และคณะในปี 2007-2008 ก็ทำการสำรวจโดยใช้กลุ่มตัวอย่างของผู้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป จึงนับว่าโรคข้อเข่าเสื่อมจึงเป็นโรคที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม
2. เช็กปัจจัยเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม
นอกจากการเสื่อมของกระดูกและข้อต่อหัวเข่าที่ถดถอยลงตามกาลเวลาในผู้สูงอายุแล้ว ปัจจัยเรื่องน้ำหนักตัวที่มากก็ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย จึงควรรักษาดัชนีมวลกาย หรือ BMI ไม่ให้เกิน 23 เพื่อลดความเสี่ยงของข้อเข่าเสื่อม ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่พิจารณาร่วม จากสถิติพบว่าข้อเข่าเสื่อมพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย รวมถึงผู้ที่ต้องใช้งานข้อเข่าหนัก อย่างการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป เคยเกิดอาการบาดเจ็บกับข้อเข่า หรือแม้กระทั่งการละเลยการออกกำลังกาย ทำกิจกรรมในท่าทางเดิมยาวนาน อย่างการนั่งกับพื้น หรือการนั่งทำงานท่าเดิมหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมขึ้นได้
3. อาการแบบไหนถึงเรียกว่าข้อเข่าเสื่อม
แน่นอนว่าอาการเริ่มแรกจะต้องเกิดจากอาการปวดเข่าขณะมีการเคลื่อนไหว พอหยุดพักทีก็จะหายไปที หรืออาการที่รู้สึกติดขัดเมื่อมีการขยับข้อ มีเสียงดังหรือรู้สึกถึงการเสียดสี ร่วมกับอาการบวมเล็กน้อย หากมีอาการเช่นนี้ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาแต่เนิ่นๆ เพราะหากปล่อยให้เรื้อรังจนกระทั่งเหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด จะส่งผลของอาการระยะถัดไปสู่อวัยวะส่วนอื่นๆ อย่างกล้ามเนื้อต้นขาที่อ่อนแรงลง ขาบิดโก่งผิดรูป จนอาจพิการได้ ถึงตอนนั้นจะรักษายากและซับซ้อนขึ้นอีก
4. ข้อเข่าเสื่อม สูญเสียสุขภาพและความสุข
เมื่ออาการป่วยถามหา นอกจากวิถีชีวิตที่สะดวกสบายแบบเดิมจะเปลี่ยนไปแล้ว ยังเกิดความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาภายในร่างกายวนกันเป็นวัฎจักร เมื่อข้อเข่าเสื่อมเรื้อรังเกิดขึ้น จะรู้สึกปวดเมื่อยขาจนไม่อยากเคลื่อนไหวขาและลดการใช้งานลง นั่นทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง มีผลต่อมวลไขมันที่เพิ่มขึ้น กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็จะเริ่มลดน้อยลง จนทำให้สูญเสียสมดุลการทรงตัวของร่างกาย วนกลับไปเกิดปัญหากับข้อต่อที่ยึดติด เคลื่อนไหวได้ไม่สุด จึงไม่สามารถใช้ชีวิต เดินเหิน เคลื่อนไหว หรือออกกำลังกายได้อย่างอิสระเหมือนแต่ก่อน คุณภาพชีวิตก็เสื่อมถอยลงไปตามร่างกาย
5. ป้องกันและรักษาข้อเข่าเสื่อมอย่างไร
สำหรับคนที่ยังไม่เป็นข้อเข่าเสื่อม ควรเริ่มจากการลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลายที่กล่าวมา ทั้งเรื่องน้ำหนักตัว การใช้งานข้อเข่าอย่างถูกหลัก หรือการเปลี่ยนอิริยาบถขณะนั่งให้บ่อยขึ้นเพื่อลดแรงกดทับที่ข้อเข่า แต่หากโรคเรื้อรังถึงขั้นการรักษาแล้ว จะมีการใช้ยาแก้ปวดด้วยการรับประทานหรือฉีด ไปจนถึงการฉีดน้ำไขข้อ หรืออาจถึงขั้นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในที่สุด
6. ทำความรู้จักข้อเข่า เพื่อการดูแลอย่างยั่งยืน
ข้อเข่าของเรามีลักษณะคล้ายกับบานพับ ที่เกิดจากการประกอบกันระหว่างปลายกระดูกท่อนบนทรงกลม เข้ากับส่วนบนของกระดูกหน้าแข้งที่เว้ารับกันพอดี โดยมีผิวสัมผัสกันเป็นส่วนของกระดูกอ่อน เมื่อกระดูกอ่อนถูกทำลาย จะส่งผลต่อบริเวณใกล้เคียง เกิดอาการฝืดบริเวณข้อต่อ หรือผิวกระดูกกระทบกันจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
วิทยาการทางการแพทย์จึงออกค้นหาวิธีการที่ช่วยดูแลข้อเข่าให้คงความยืดหยุ่น และทำงานได้อย่างเป็นปกติ นอกจากการแนะนำให้ดูแลน้ำหนักตัว และออกกำลังกายอย่างไม่หักโหมแล้ว ยังอาจเสริมด้วยสารสกัดที่มีงานวิจัยทางคลินิกรองรับ เช่น ชนิดไม่ถูกแปรสภาพ หรือ Undenatured Type II Collagen ที่ต่างจากคอลลาเจนทั่วไปที่เรารู้จักซึ่งถูกแปรสภาพแล้ว
7. รู้จักคอลลาเจน และประเภทของคอลลาเจน
คอลลาเจนคือเส้นใยของโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในร่างกาย มีหน้าที่หลักในการเสริมความแข็งแรง สร้างความยืดหยุ่น และเติมความชุ่มชื้นให้กับอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามประเภทของคอลลาเจน อย่างคอลลาเจนประเภทที่ 1 และ 3 พบในผิวและกล้ามเนื้อ ส่วนคอลลาเจนประเภทที่ 2 ซึ่งพบมากในข้อต่อมนุษย์ ส่วนนี้เองที่ถูกนำมาโฟกัสในเรื่องการซ่อมสร้างกระดูก จนเกิดเป็นคิดค้นสารสกัดคอลลาเจนไทป์ทู ชนิดไม่ถูกแปรสภาพ ที่ทำงานต่างออกไป
8. ทำไมต้องเป็นคอลลาเจนไทป์ทู ชนิดไม่ถูกแปรสภาพ
คอลลาเจนไทป์ทู ชนิดไม่ถูกแปรสภาพ หรือ UC-II เป็นคอลลาเจนชนิดเดียวกับกระดูกอ่อนตรงข้อต่อมนุษย์ และด้วยคุณสมบัติที่ไม่ถูกทำลายด้วยอุณหภูมิสูงและเอนไซม์ จึงทำให้มีโครงสร้างสมบูรณ์ ต่างจากคอลลาเจนทั่วไปซึ่งเป็นคอลลาเจนที่ถูกแปรสภาพที่มีโครงสร้างไม่แน่นอน เพราะอาจถูกทำลายด้วยความร้อนและเอนไซม์ ดังนั้น UC-II จึงมีส่วนช่วยลดการอักเสบของกระดูกข้อต่อเมื่อเสื่อมสภาพ และกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกระดูกอ่อนขึ้นมาใหม่ได้ตามปกติอย่างที่ควรจะเป็น
9. UC-II รับประทานอย่างไรให้ถูกต้อง
จากงานวิจัยในวารสาร Nutrition Journal โดย James P.Lugo และคณะ, 2016 พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่รับประทาน UC-II ปริมาณ 40 มิลลิกรัมต่อวันอย่างต่อเนื่องมีคะแนนความเจ็บปวดของข้อ หรือ Joint Discomfort Score ลดลงจากการใช้สารสกัดแบบเดิมถึง 33% (ในรูปแบบ WOMAC Score) และลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากรับประทานไป 60 วันและ 120 วัน รวมทั้งการทำงานของข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น เหยียดและงอได้ดีขึ้น อีกทั้งงานวิจัยทางคลินิกยังพบว่า UC-II ยังสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดีกว่ากลูโคซามีนและคอนดรอยอิดินอีกด้วย
10. เลือก UC-II ที่มั่นใจและปลอดภัย
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข้าเสื่อมอยู่แล้ว กลุ่มคนไลฟ์สไตล์แอคทีฟที่ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือผู้คนที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพข้อเข่าก็สามารถบริโภค UC-II ได้ โดยวิธีการเลือกควรสังเกตผลิตภัณฑ์ที่มีโลโก้ UC-II บนฉลาก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นคอลลาเจนไทป์ทูชนิดไม่ถูกแปรสภาพ ซึ่งแตกต่างจากคอลลาเจนสำหรับผิวซึ่งเป็นคอลลาเจนไทป์วันและไทป์ทรี ในเรื่องกลไกการทำงานภายในร่างกาย เพื่อให้อาหารเสริมที่รับประทานเข้าไปส่งเสริมสุขภาพและตอบโจทย์ได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด
ไม่มีคำว่าสายเกินไปหากจะเริ่มรักษาสุขภาพ เพราะตัวเราเองต้องอยู่กับร่างกายไปตลอดชีวิต การดูแลรักษาร่างกายที่ตอบกับไลฟ์สไตล์จึงเป็นเรื่องที่ควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ออกไปใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ตามที่หัวใจต้องการ