“ดีแต่ปาก”
“เก่งนักก็ไปทำเองซิ”
“ทำให้ได้อย่างเขาก่อน แล้วค่อยมาวิจารณ์”
หลายคนคงเคยได้ยินคำโจมตีเหล่านี้ถึงนักวิจารณ์ที่ถูกตราหน้าว่าเป็น “ปลิง” เกาะงานศิลปะ วันๆ เอาแต่จ้องจับผิดผลงานชาวบ้านบ้างล่ะ หาเรื่องด่าคนอื่นให้ตัวเองดูดีบ้างล่ะ ทำให้วัฒนธรรมการวิจารณ์กลายเป็นเรื่องแหยงสำหรับคนไทย
อันที่จริงเราต้องแยกแยะกันให้ออกก่อนระหว่างการวิจารณ์จริงๆ กับการด่ากราด สาดเสียเทเสีย เพราะศาสตร์การวิจารณ์ที่แท้ทรูนั้น มีอะไรมากกว่าการชี้ให้เห็นข้อเด่นข้อด้อย ถึงขนาดมีคนนิยามนักวิจารณ์ว่าเป็น “ผู้สร้างงานศิลปะอีกคนหนึ่ง” เลยทีเดียว เพราะการวิจารณ์ให้อะไรกับสังคมมากกว่าที่คิด
เรากลัวการวิจารณ์เกินไปหรือเปล่า?
ว่ากันตามตรงบ้านเรามักมีปัญหากับการวิจารณ์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการวิจารณ์ว่าเป็นเฉพาะการด่าทอหรือการนินทาลับหลัง ทั้งที่จริงการวิจารณ์ไม่ต่างอะไรกับการเผชิญหน้ากับคนๆ นั้นแล้วพูดคุยอย่างมีเหตุผล งานวิจารณ์ที่ได้มาตรฐานจึงต้องผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ ประสบการณ์ และองค์ความรู้ในสิ่งนั้นๆ มิใช่การพูดจาส่งเดชลอยๆ
การวิจารณ์จึงเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เป็นการแสดงความคิดเห็นถึงข้อเด่นข้อด้อย เพื่อให้ผู้สร้างนำไปพัฒนาผลงานต่อไป และเพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเนื้อหามากขึ้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ส่งเสริมหรือทำลายผลงานศิลปะอย่างเดียว
ทั้งนี้ทั้งนั้น คนที่ทำงานสร้างสรรค์หลายคนแนะนำว่า เราควรต้องรับฟังการวิจารณ์จากคนอื่นบ้าง แต่ก็ต้องคัดกรองงานวิจารณ์ที่ดีกับการสาดเสียเทเสียให้ออก รับฟังงานวิจารณ์เชิงบวก แล้วเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากมันโดยไม่เก็บมาเป็นขยะทางอารมณ์ เพราะบางครั้งความหยาบคายในการวิจารณ์ก็จะย้อนกลับมาบ่งบอกสถานะทางความคิดผู้วิจารณ์เช่นกัน
ยิ่งวิจารณ์ ยิ่งพัฒนา
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า การวิจารณ์คือพลังทางปัญญา สังคมใดที่อ่อนแอในวัฒนธรรมการวิจารณ์ จะสะท้อนให้เห็นถึงการขาดความเจริญทางสังคม
แล้วการวิจารณ์บ่งบอกถึงความเจริญทางสังคมได้อย่างไร? คำตอบง่ายๆ ก็คือ สังคมที่มีวัฒนธรรมการวิจารณ์ที่แข็งแรง เป็นสังคมที่ยอมรับความคิดเห็นที่หลากหลายนั่นเอง กล่าวคือการวิจารณ์เป็นตัวทลายเผด็จการทางความคิด เพราะการวิจารณ์เปิดโอกาสให้เราพินิจ พิเคราะห์ พิจารณาความเป็นไปได้ เปิดพื้นที่ใหม่ทางความคิดที่แตกต่างไปจากผู้สร้างสรรค์ จึงเป็นเครื่องย้ำเตือนว่าความคิดที่ถูกต้องมิได้มีเพียงคำตอบเดียว การวิจารณ์จึงเป็นวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้นมาหลังยุคที่มนุษย์เชื่ออะไรงมงายเพียงข้างเดียว
ฉะนั้นแล้ว หากผู้สร้างสรรค์เกรงกลัวการวิจารณ์ ย่อมไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้า นับเป็นการกักขังตนเองให้อยู่ในกรอบความคิดแคบๆ กรอบเดิม เช่นเดียวกับสเกลใหญ่อย่างสังคมที่ไร้ซึ่งการวิจารณ์ ก็จะตกอยู่ในบ่วงกรรมเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นเอง
พลังแห่งงานวิจารณ์ ความสัมพันธ์ที่ทำให้สิ่งนั้นๆ ขายได้
ก่อนอื่นขอยกตัวอย่างวงการภาพยนตร์ที่มีวัฒนธรรมการวิจารณ์ที่แข็งแกร่งพอสมควร เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ใครคนหนึ่งตัดสินใจเลือกดูหนังก็คือคะแนนการวิจารณ์ ซึ่งสมัยนี้รูปแบบการวิจารณ์จะย้ายจากสื่อสิ่งพิมพ์มาอยู่ในโลกออนไลน์กันแล้วก็ตาม
หนึ่งในเว็บวิจารณ์ภาพยนตร์ (เอ่อ.. จริงๆ แค่การรีวิวนั่นแหละ) ที่ได้รับความนิยมมาก คือเว็บมะเขือเน่า Rotten Tomatoes แหล่งรวมคำวิจารณ์ภาพยนตร์ขนาดสั้น พร้อมเกณฑ์คัดเกรดหนังด้วยคำว่า “สด = หนังดี” หรือ “เน่า = หนังห่วย” ก็เคยสร้างปรากฏการณ์ให้หนังเล็กๆ คุณภาพกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะได้รับคะแนนวิจารณ์ในระดับดีเยี่ยม 100% นี่คือพลังวิเศษของการวิจารณ์ที่ทำให้ผู้คนได้รู้จักผลงานใหม่ๆ และกระตุ้นความสนใจให้เสาะหาผลงานนั้นๆ มาเสพตามการรีวิว
ทีนี้ลองมองย้อนกลับมาที่บ้านเรา เอาง่ายๆ แค่ลองเสิร์ชดู Facebook Fanpage ที่วิจารณ์ภาพยนตร์ดูสิ เราจะเจอกว่า 100 เพจ ซึ่งนั่นทำให้วงการภาพยนตร์ไทยยังคงคึกคัก หนังเรื่องไหนมาใหม่ผู้คนยังคงอ่านคำวิจารณ์เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ วงการภาพยนตร์จึงยังดำเนินการต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
ผิดจากวงการหนังสือหรือวรรณกรรมที่เราลองเสิร์ชหาเพจเกี่ยวกับ “วิจารณ์วรรณกรรม ดูสิ… แทบจะไม่มีเลย ฉะนั้นวัฒนธรรมการวิจารณ์จึงมีความสัมพันธ์ที่จะทำให้สิ่งต่างๆ ขายได้อย่างมีนัยยะสำคัญ
เปิดพื้นที่การวิจารณ์วรรณกรรมไปกับ ร้านนายอินทร์ออนไลน์
ที่จริงแล้ว วงการหนังสือไทยไม่ได้ขาดหนังสือดีหรอก แต่คนอ่านไม่รู้จะซื้ออะไรเพราะสังคมไร้วัฒนธรรมการวิจารณ์วรรณกรรมต่างหาก การที่ไม่ได้รับความนิยมเท่างานวิจารณ์ภาพยนตร์ ทำให้คนไม่รู้ว่าวันๆ หนึ่งมีหนังสืออะไรออกมาใหม่บ้าง หรือหนังสือที่มีอยู่แล้วมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
ร้านนายอินทร์ออนไลน์ จึงพยายามเปิดพื้นที่ใหม่แห่งการวิจารณ์วรรณกรรม ในการเป็นชุมชนหลักสำหรับคนรักหนังสือ ผ่านการสมัครสมาชิกเพื่อวิจารณ์หนังสือสั้นๆ พร้อมให้ดาวกระตุ้นความสนใจของคนอ่าน โดยคนที่เข้ามารีวิวยังมีโอกาสสะสมคะแนนรีวิว นำไปแลกเป็นส่วนลด 1 การรีวิวจะได้ 5 คะแนน (100 คะแนน = 10 บาท)
ไม่เพียงเท่านั้น สำหรับนักอ่านที่อยากเข้ามาช็อปปิ้ง ร้านนายอินทร์สามารถสั่งซื้อแบบออนไลน์ได้ และมีโปรโมชั่นดีๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ส่งฟรีทั่วประเทศ เมื่อซื้อครบ 600 บาท หรือเมื่อเลือกรับสินค้าที่ร้านนายอินทร์ทุกสาขา แถมยังลดราคาไปอีกกับหนังสือในเครืออมรินทร์ 10% หรือหนังสืออื่นๆ อีก 5% ใครที่ไม่อยากออกจากบ้านไปสู้แดด ลองใช้บริการสั่งซื้อหนังสือออนไลน์จากนายอินทร์กันได้
พิเศษเพียงใส่ CODE : THEMATTER รับไปเลยส่วนลด 15% จากราคาหน้าปก สามารถใช้เป็นส่วนลดหนังสือได้ทั้งเว็บไซต์นายอินทร์ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ซื้อเลย คลิก : http://bit.ly/2MDaJgj
แล้วอย่าลืมมาสวมบทนักวิจารณ์วรรณกรรมที่ร้านนายอินทร์ออนไลน์ Naiin.com เพื่อกระตุ้นวงการหนังสือไทยให้คึกคักไปด้วยกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก