“อย่ากินเค็มไป โรคไตจะถามหา”
คือประโยคแห่งความเป็นห่วงเป็นใยที่ใครๆ ก็มักจะบอกคนที่รู้จักให้ระวังอยู่เสมอ เพราะโรคไตไม่ใช่โรคเพลนๆ ที่กินยาหาหมอแล้วจะหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็น โรคไตเรื้อรัง ที่อาการเกิดขึ้นจากการสะสมเป็นระยะเวลานาน กว่าจะรู้อีกทีว่าเป็นโรคไตก็อยู่ในขั้นวิกฤตไปแล้ว แตกต่างจาก โรคไตวายเฉียบพลัน ที่สามารถรักษาหายได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งความจริงสาเหตุของการเกิดโรคไตไม่ใช่แค่การรับประทานอาหารเค็มจัดเท่านั้น แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่คาดไม่ถึงอีกเพียบ โดยมากมักมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไตอักเสบเรื้อรัง นิ่วในไต ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบไม่ดูแลตัวเอง ทั้งความเครียดสะสมและการไม่ออกกำลังกายอีกด้วย เรียกว่ามาเป็นแพ็คเกจเลยทีเดียว
จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2560 รายงานว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังสูงถึง 8 ล้านคน และกว่า 1 แสนคนกำลังป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายและต้องรับการบำบัดด้วยการฟอกไต ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 15-20% ต่อปี และมีการคาดการณ์ว่าใน 5 ปีข้างหน้าจะมีผู้ป่วยเพิ่มเป็นกว่า 2 แสนราย นับเป็นประเภทหนึ่งของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่เป็นปัญหาสำคัญในบ้านเราและในระดับโลก ไม่น้อยไปกว่าโรคติดต่ออื่นๆ เลย
ถึงอย่างนั้นก็ยังมีความหวังในการรักษาโรคไตเรื้อรังด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนไต ที่เปรียบได้กับการได้ชีวิตใหม่ของผู้ป่วยเลยทีเดียว แต่อย่างว่าการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะไม่ได้เปลี่ยนกันง่ายๆ เหมือนเปลี่ยนอะไหล่รถยนต์ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ตั้งแต่การรอคอยไตจากผู้บริจาค ความเข้ากันกับร่างกาย และที่สำคัญคือความพร้อมในการผ่าตัดของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การฟอกไตไม่ใช่ทางออกสุดท้าย
อาการของโรคไตเรื้อรัง เกิดจากการที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่หรือบกพร่อง ทำให้การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ และความสามารถในการกรองของเสียออกจากเลือดบกพร่อง ส่งผลให้ เลือดเป็นพิษ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะผิดปกติ เหนื่อยง่าย คันผิวหนัง ซีด ตัวบวม หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่ออวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ นวัตกรรมทางการแพทย์จึงต้องช่วยหาทางทำให้ร่างกายต้องทำงานเป็นปกติให้ได้ ถึงแม้อวัยวะนั้นไม่สามารถทำงานได้ดังเดิม ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย หากแต่ความจริงมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอวัยวะอย่างไต ที่ทำหน้าที่ในการฟอกของเสียออกจากเลือด เมื่อไตของใครไม่สามารถทำหน้าที่ตรงนั้นได้ ก็ต้องทำการฟอกไตทดแทนกันไป เพื่อป้องกันของเสียที่จะสะสมในเลือดและเป็นพิษต่อร่างกายได้ ซึ่งการฟอกเลือดไม่ได้กรองแค่ของเสียออกไปอย่างที่ไตทำ แต่กลับกรองสารอาหารหรือสิ่งที่มีประโยชน์บางอย่างในเลือดออกไปด้วย
โดยการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมแต่ละครั้งจะใช้เวลาครั้งละ 4 – 5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง แถมหลังฟอกเสร็จร่างกายก็อ่อนเพลียจนไม่สามารถทำอะไรได้ไปสักพัก เพราะการเสียสมดุลของระดับของเกลือแร่ ในร่างกาย นอกจากนั้น อาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ อย่างภาวะความดันโลหิตต่ำอีกด้วย หรือวิธีการฟอกไตผ่านทางช่องท้อง แม้ว่าจะเป็นวิธีการที่สะดวก สามารถทำที่บ้านเองได้ แต่ผู้ป่วยก็ต้องทำทุกวัน วันละ 4 – 5 ครั้งเลยทีเดียว ซ้ำยังอาจมีผลข้างเคียงคือติดเชื้อในช่องท้อง และมีปัญหาต่อระบบขับถ่ายได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตต้องใช้ชีวิตอยู่กับวงจรแบบเดิมๆ กับการฟอกไตนี้ไปตลอดชีวิต ลองนึกเล่นๆ ว่าแค่การฟอกไตเพียงอย่างเดียวก็เสียเวลาไปมากมายขนาดไหน จะมีเวลาชีวิตเหลือไปทำอย่างอื่นอีกได้อย่างไร แน่นอนว่าส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายแล้ว สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบทางอ้อมต่อจิตใจ ผู้ป่วยหลายคนเกิดภาวะซึมเศร้าจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การฟอกไตจึงเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ เป็นการประคองอาการของโรคให้ทรงตัวเท่านั้น ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ นับเป็นความทรมานระยะยาวที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย
พร้อมแค่ไหนถึงจะมีโอกาสได้ไตใหม่
ใครที่เคยมีเพื่อนหรือคนในครอบครัวที่ต้องไปฟอกไตน่าจะรับรู้ถึงความทรมานตรงนี้เป็นอย่างดี ในเมื่อการฟอกไตไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการรักษาโรคไตเรื้อรัง การผ่าตัดเปลี่ยนไตจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย ถึงค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเปลี่ยนไตอาจสูงกว่าการฟอกไตมาก แต่หากมองในระยะยาวแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้นั้นกลับคุ้มค่ากว่าเป็นไหนๆ
การจะได้มาซึ่งไตใหม่นั้น มีอยู่ 2 วิธีคือ ต้องลงชื่อเพื่อขอรับบริจาคจากผู้เสียชีวิตที่บริจาคอวัยวะให้กับสภากาชาดไทย หรือรับบริจาคจากผู้ที่ยังมีชีวิต เช่น ญาติที่มีความสัมพันธ์กันทางสายเลือด พ่อแม่ พี่น้อง หรือคู่สมรสที่จดทะเบียนมาไม่น้อยกว่า 3 ปีเท่านั้น นอกจากนั้นผู้ป่วยยังต้องผ่านกระบวนการทางการแพทย์หลายอย่าง ทั้งการตรวจกรุ๊ปเลือด เช็คเนื้อเยื่ออย่างละเอียด เพื่อดูว่าร่างกายของผู้ป่วยสามารถเข้ากันได้กับไตใหม่หรือไม่ และที่สำคัญคือการตรวจสภาพร่างกายของผู้ป่วยว่าพร้อมสำหรับการผ่าตัดหรือไม่ เรียกได้ว่าไม่ง่ายเลยทีเดียว
แม้ว่าปัจจุบันจะมีคนใจบุญให้ความสนใจบริจาคอวัยวะอย่างเข้าใจกันมากขึ้น การทำงานของศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย มีระบบบริหารจัดการที่โปร่งใส มีแผนดำเนินงานนโยบายที่ชัดเจน ในการพิจารณาจัดสรรไตให้กับผู้ป่วยอย่างยุติธรรมที่สุด แต่การผ่าตัดเปลี่ยนไตนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ป่วยและความพร้อมของทีมแพทย์ประจำโรงพยาบาลนั้นๆ ว่าพร้อมจะผ่าตัดปลูกถ่ายไตขนาดไหน รวมไปถึงการประสานงานที่ดี เพราะไตสามารถอยู่นอกร่างกายได้เพียงแค่ 48 ชั่วโมงเท่านั้น ทุกอย่างจึงต้องพร้อมมากที่สุด เรียกว่ามีเงินมากมายขนาดไหนก็ซื้อไตไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยส่วนมากต้องรอคอยเพื่อรับบริจาคไตเป็นระยะเวลานานหลายปี และต้องใช้ชีวิตอยู่กับการฟอกไตไปเรื่อยๆ จนหลายคนถอดใจ การรอคอยจึงต้องใช้ความอดทนและต้องมีความหวังอยู่เสมอ
การรอคอยต้องมีความหวัง
“คนไข้โรคไตทุกคนอยู่ได้ด้วยความหวัง ถ้ามีกำลังพอทุกคนก็อยากผ่าตัดเปลี่ยนไตหมด เพียงแต่ไม่รู้ว่าต้องรอนานแค่ไหน บางคนรอจนถอดใจไปก็มี อย่างเราเอง น้องชายอยากบริจาคไตให้ เพราะกลัวว่ารอนานเกินไปแล้วเราจะแก่เกินรับการผ่าตัดได้แต่เราปฏิเสธ จึงลองปรึกษากับทางโรงพยาบาลพระรามเก้าและลงทะเบียนรอรับไตบริจาคจากสภากาชาดดูคิดว่าต้องมีโอกาสได้ไตแน่ๆ อาจใช้เวลาหน่อย 2 – 3 ปีเหมือนคนอื่น ปรากฏว่าโชคดีมาก แค่ 3 เดือนกว่า ก็ได้ไตแล้ว และโรงพยาบาลก็ดูแลจัดการผ่าตัดรักษาให้เรียบร้อย ผ่าตัดพักฟื้นได้ 1 เดือน ร่างกายก็กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิมแล้ว” ธานี ธนะนิรันดร์
“การเลือกโรงพยาบาลไหนต้องมั่นใจว่าทีมแพทย์มีความพร้อมที่จะประสานงานเอาไตที่กาชาดหาให้ มาใช้ได้ทันเวลา อย่างผมพอตัดสินใจจะเปลี่ยนไตก็เลือกมาที่โรงพยาบาลพระรามเก้า เพราะคนรู้จักหลายคนแนะนำมาว่าที่นี่มีความพร้อม ทีมแพทย์ก็เชี่ยวชาญในการเปลี่ยนไตเป็นพิเศษ ก็เลยตัดสินใจมาลองดู ไม่ถึง 3 เดือน ก็ได้รับสายจากคุณหมอให้เดินทางจากชัยภูมิลงมาผ่าตัดเปลี่ยนไต ดีใจมาก ไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้” นิคม รองจำนงค์
บทสัมภาษณ์ของทั้งสองท่านนี้ คือเคสของคนไข้โรคไตที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนไตกับสถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก JCI (Joint Commission International) และยังได้รับการรับรองมาตรฐานการเปลี่ยนไตเป็นแห่งแรกของโลกและเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองการผ่าตัดเปลี่ยนไตจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย โดยมาตรฐานเหล่านี้วัดได้จากการทำงานของบุคลากรและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่พร้อมให้การผ่าตัดเปลี่ยนไตตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการผ่าตัดเปลี่ยนไตโดยเฉพาะ ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเพื่อทำผ่าตัดให้ผู้ป่วยได้ทันเวลา ถึง 5 ทีม และในการผ่าตัดเปลี่ยนไตให้ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ รวมกันกว่า 10 ท่าน เพื่อคอยช่วยดูแลให้การผ่าตัดสำเร็จลุล่วงด้วยดี ซึ่งความพร้อมของทีมแพทย์นี่เองคือหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้การรอคอยไตใหม่ของผู้ป่วยมีโอกาสสมหวังได้เร็วขึ้น
ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมาของสถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า มีสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับระยะเวลาการรอไตของผู้ป่วย คือมีจำนวนผู้ป่วย 31 ราย ได้รับไตจากสภากาชาดภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน ผู้ป่วย 107 ราย ได้รับไตจากสภากาชาดในเวลา 6 เดือน ผู้ป่วย 62 ราย ได้รับไตจากสภากาชาดในเวลา 12 เดือน ซึ่งถือว่าเร็วมากเมื่อเทียบกับระยะเวลาปกติที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องรอ และที่สำคัญคือ การผ่าตัดเปลี่ยนไตให้ผู้ป่วยสำเร็จมาแล้วกว่า 800 ราย แม้ในรายที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ทั้งผู้ป่วยโรคไตที่เปลี่ยนไตซ้ำจำนวน 69 ราย ผู้ป่วยเปลี่ยนไตขณะอายุ 60 – 78 ปี จำนวน 175 ราย หรือผู้ป่วยโรคไตที่มีโรคร้ายแรงอื่นๆ ร่วมด้วยหลายโรคก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดี ถึงความชำนาญของสถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า ซึ่งทำให้ความหวังของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่จะหายเป็นปกติเป็นจริงได้ในระยะเวลาไม่นาน
สามารถติดต่อเข้ารับการปรึกษาเกี่ยวกับการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ที่ สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไต โรงพยาบาลพระรามเก้า
สามารถลงทะเบียนเข้ารั
อัพเดตข่าวและสาระความรู้ดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพไตได้ที่ Facebook ไตใหม่ ชีวิตใหม่ : https://web.facebook.com/New