ยังจำภาพตัวเองสมัยเรียนได้ไหมว่าคุณเป็นนักเรียนแบบไหน
ใช่คนที่นั่งหน้าห้องก็แล้ว กวดวิชาหลังเลิกเรียนก็แล้ว กลับถึงบ้านยังอดตาหลับขับตาอ่านหนังสือ จำสูตรถึงดึกดื่น แต่พอคะแนนสอบออกมา ได้น้อยกว่าเพื่อนที่นั่งเรียนข้างๆ ทุกทีหรือเปล่า?
แล้วสงสัยไหมว่าเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะเราเรียนไม่เก่งเองอย่างนั้นหรือ?
ในขณะเดียวกันคุณอาจจะลืมสังเกตว่า บางวิชาที่มีรูปแบบการเรียนที่ต่างออกไป คุณกลับสามารถทำความเข้าใจได้อย่างง่ายดาย หรือแม้แต่ในวิชาเดิมที่เคยเรียนไม่เข้าหัวนั้น เมื่อเรียนกับอาจารย์อีกคนด้วยวิธีการใหม่ๆ เช่น เริ่มต้นจากการชวนคิดวิเคราะห์ อธิบายทฤษฎีด้วยภาพ ปล่อยให้เราลองผิดลองถูกก่อนจะชี้แจงแถลงไข รวมถึงการเรียนรู้ด้วยตัวเองในชีวิตประจำวัน ผ่านประสาทสัมผัสของเรา แทนการอ่านทฤษฎี กลับได้ผลดีกว่าเป็นไหนๆ
นั่นจึงอาจเป็นข้อสรุปว่า แต่ละคนมีวิธีการเรียนที่เหมาะสมในแบบของตัวเอง และหากจะจำแนกสไตล์การเรียนก็สามารถแบ่งออกได้ 7 สไตล์ด้วยกัน ซึ่งเราอยากชวนคุณไปทำความรู้จัก เพราะหนึ่งในนั้นคือกุญแจสำคัญในการเรียนรู้ของคุณ
เรียนรู้จากภาพหรือสัญลักษณ์ – VISUAL
หากคุณพบว่าตัวเองถนัด และมักจะเผลอเปลี่ยนสิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่เห็น หรือไอเดียที่ฟุ้งกระจายอยู่ในความคิด ออกมาเป็นเส้น สี รูปทรงต่างๆ ในสมุดบันทึก หรือกระดานไวท์บอร์ดโดยไม่ตั้งใจ นั่นก็ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าสไตล์การเรียนรู้ของคุณคือ การมองเห็น
นอกจากคนในกลุ่มนี้จะแปลงความคิดออกมาเป็นภาพได้ชำนาญแล้ว ยังมีเซนส์ในเรื่องการคาดคะเนระยะ และทิศทางอยู่ในตัวอีกด้วย (จึงเป็นเรื่องยากมากที่คุณจะหลงทาง ต่อให้ไม่เคยไปที่นั้นมาก่อน ก็พอจะเดาได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน) ดังนั้นเทคนิคที่จะทำให้คุณเรียนได้ดีขึ้นนั้น ย่อมหนีไม่พ้นการใช้ภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ภาพถ่าย แทนการจดบันทึกเป็นข้อความ หรือถ้าเลี่ยงใช้ข้อความไม่ได้ก็ให้ใช้สีหลายๆ สี และเลย์เอาต์ในการจัดระเบียบข้อมูล ทำ Mind Mapping หรือถ้าขั้นแอดวานซ์หน่อยก็ลองทำ Diagram ด้วยก็ได้ แล้วคุณจะพบว่าข้อมูลที่ล้นหลาม ดูทำความเข้าใจได้ยาก จะกลายเป็นเรื่องสนุกไปเลยสำหรับคุณ
เรียนรู้จากเสียง – AURAL
กลุ่มคนที่มีสไตล์การเรียนรู้ด้วยเสียงนั้น แน่นอนว่าคุณย่อมมีความสุขกับการทำงานกับเสียงและเพลง เพราะคุณจะสามารถใช้ทักษะความแม่นยำในตัวโน้ตและจังหวะได้อย่างเต็มที่ ส่วนใหญ่แล้วคนกลุ่มนี้สามารถร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรีได้หนึ่งชิ้นเป็นอย่างน้อย (และยังสามารถเรียนรู้ที่จะเล่นเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ได้ไม่ยากนัก) สามารถเทียบเคียงเสียงที่ได้ยินในชีวิตประจำวันกับโน้ต หรือเครื่องดนตรีได้ และหูของพวกเขามักจะรับรู้ได้ถึงเสียงเพลงประกอบภาพยนตร์ หรือเพลงประกอบในฉากละครต่างๆ ได้ดี พร้อมแปลงออกมาเป็นอารมณ์ร่วม
ดังนั้นหากคุณคิดว่าตัวเองมีสไตล์การเรียนรู้แบบนี้ เทคนิคที่คุณน่าจะลองเอาไปใช้ในการเรียนหรือจดจำสิ่งต่างๆ ก็เช่น การนำข้อมูลมาแปลงหรือผสมผสานเข้ากับเสียงเพลง ใส่จังหวะ หรือแต่งเป็นเพลงได้ก็ยิ่งดี หรือหากคุณมีเครื่องบันทึกเสียง ก็ลองพกพามันไปด้วยเวลาที่คุณออกไปเก็บข้อมูลนอกสถานที่ เพราะเสียงที่เก็บมานั่นแหละ คือสิ่งที่จะช่วยให้คุณรื้อฟื้นข้อมูลในซอกความทรงจำได้ชัดเจนที่สุด
เรียนรู้จากภาษา – VERBAL
สำหรับนักใช้ภาษาตัวยงแบบคุณแล้ว การพูดและเขียน หรือว่าง่ายๆ ก็คือการใช้คลังคำศัพท์ที่มีอยู่ในตัวคุณ ดูจะเป็นเรื่องที่คุณสนุกไปกับมันมากที่สุด คุณเป็นคนที่หลงใหลการอ่านหนังสือ อ่านทุกสิ่งอย่างจนมีบางสิ่งที่อยากถ่ายทอดออกมา และไม่ว่าสิ่งที่คุณอยากเล่านั้นจะซับซ้อน หรือละเอียดอ่อนแค่ไหน คุณก็มีคำศัพท์มากมายพร้อมใช้งานตลอดเวลา
อันที่จริงเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มคนที่มีสไตล์การเรียนกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้พิเศษนัก เพราะมีความใกล้เคียงกับวิธีการเรียนของคนส่วนใหญ่ซึ่งมักจะใช้วิธีการจดบันทึกอยู่แล้ว ดังนั้นเทคนิคที่อยากแนะนำจริงๆ ก็คงจะเป็นเรื่องการฝึกพูดกับตัวเอง ใช้บันทึกที่คุณจดไว้มาพูดกับตัวเองในกระจก หรือจะพูดออกมาสดๆ แล้วอัดเสียงไว้ฟังภายหลังอีกทีก็ได้ แต่อย่าลืมใส่อารมณ์ ใส่น้ำเสียงแบบต่างๆ เข้าไปให้เหมือนกับว่านี่คือบทละครที่คุณกำลังสวมบทบาทอยู่ เพราะสิ่งเหล่านี้แหละที่จะช่วยให้คุณจดจำและเข้าถึงเรื่องราวได้อย่างถึงแก่น
เรียนรู้จากการใช้ร่างกายและการสัมผัส – PHYSICAL
คนกลุ่มนี้ใช้ร่างกายเก่งเป็นที่สุด ประสาทสัมผัสดีเลิศ และดูเหมือนจะเป็นอาวุธสำคัญของพวกเขาในการเรียนรู้โลกรอบตัวเสียด้วย แน่นอนว่ากีฬา การออกกำลังกาย หรือกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกายอย่างการทำสวน คือกิจกรรมโปรดของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเวลาที่ได้ทำกิจกรรมเหล่านี้พวกเขาก็มักจะเกิดปิ๊งไอเดีย มองเห็นปัญหา หรือคิดอะไรออก ดังนั้นการจับคนกลุ่มนั่งอ่านหนังสือเฉยๆ นั้นถือเป็นการทรมานอย่างหนึ่งเลยล่ะ
นอกจากการใช้แรงกายแล้ว พวกเขายังชอบใช้ทักษะและประสาทสัมผัสของมือ คุณจะสังเกตได้ว่าคนกลุ่มนี้ชอบลูบสัมผัสพื้นผิว โดยที่เขาสามารถแยกแยะความแตกต่างได้ รวมถึงเห็นพวกเขานั่งต่อโมเดล หรือกำลังรื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างสนุกสนาน นั่นแหละคือช่วงเวลาที่พวกเขาเรียนรู้ได้ดีที่สุด
แล้วเทคนิคการเรียนรู้สำหรับคนกลุ่มนี้ล่ะ? ในกรณีที่เนื้อหาวิชานั้นๆ ไม่ใช่การออกไปทำกิจกรรมข้างนอก คุณก็อาจจะประยุกต์การใช้ร่างกายกับการจดบันทึกนั่นแหละ จะเขียน จะจด จะวาด ทำให้เต็มที่ โฟกัสกับร่างกายของคุณ อย่าปล่อยให้ร่างกายหยุดนิ่งไปเฉยๆ แค่นี้คุณก็ตื่นตัวพร้อมรับข้อมูลแล้ว
เรียนรู้จากการใช้ตรรกะ – LOGICAL
กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้ยึดมั่นในตรรกะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ หรือใดๆ ที่สามารถคิดคำนวณ โต้เถียงกันด้วยเหตุด้วยผล สามารถทำความเข้าใจรูปแบบ สูตร หรือความเชี่อมโยงได้รวดเร็ว แล้วยังนำไปสู่การจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ คนกลุ่มนี้จึงมักถูกมองว่าเป็นคนที่เรียนเก่ง แต่ที่จริงแล้วในชีวิตประจำวันคนกลุ่มนี้ก็ยังจัดการชีวิตเก่งอีกด้วย พวกเขามักจะวางแผนการใช้เงินหรือการเดินทางอย่างละเอียด พร้อมจัดเก็บข้อมูล และวิเคราะห์เพื่อพัฒนาแผนการให้ดีขึ้น
ถามว่าคนกลุ่มนี้ยังจำเป็นต้องมีเทคนิคในการเรียนอีกหรือ? จำเป็นสิ เพราะคุณยังเก่งได้มากกว่านั้น โดยในบางวิชาที่คุณอาจจะไม่ถนัดนัก คุณควรจะใช้ความสามารถในการใช้เหตุผลกับบทเรียน อย่าเพียงแต่ท่องจำ แต่ลองแยกองค์ประกอบของเนื้อหาออกมาทำความเข้าใจและหาจุดเชื่อมโยงก็เป็นวิธีที่ช่วยได้เยอะ
ที่สำคัญเลยก็คือ อย่าละเลยหรือมองข้ามสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่มีตรรกะ ดูไร้เหตุผล และอย่ามุ่งมั่นที่จะวิเคราะห์บางเรื่องมากเกินไปจนไม่ได้เริ่มหรือลองทำสักที เพราะบางทีการใช้เหตุผลที่เป็นจุดเด่นของคุณนั่นแหละ ที่ทำให้คุณก้าวต่อไปข้างหน้าไม่ได้สักที
เรียนรู้ด้วยการสร้างมนุษยสัมพันธ์ – SOCIAL
สไตล์การเรียนของคนกลุ่มนี้ มีที่มาจากจุดเด่นของพวกเขาคือการสื่อสารกับกลุ่มคน และการเข้าสังคม พวกเขาเปิดรับความคิดเห็นจากรอบตัว และพร้อมที่จะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทันที อีกทั้งเป็นคนหนึ่งที่เพื่อนๆ มักจะเข้าไปพูดคุยหรือปรึกษาด้วย เพราะพวกเขามีพลังงานดีๆ และเป็นนักฟังที่ดีอีกด้วย
ดังนั้นเมื่ออยู่ในห้องเรียน คนกลุ่มนี้มักจะสนุกกับการได้โยนไอเดีย และถกเถียงกับคนในห้อง ซึ่งระหว่างที่คนอื่นในห้องโต้ตอบกลับมานั่นเอง คือช่วงเวลาที่คนกลุ่มนี้จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สิ่งที่พวกเขาคิดไม่ถึง
เทคนิคที่จะช่วยให้คนกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ดีขึ้นก็คือ การจับกลุ่มเรียนรู้ ถ้าในห้องเรียนไม่อำนวยให้คุณถกเถียง หรือโยนไอเดียแบบนั้น ก็ลองจับกลุ่มหลังเลิกเรียนแล้วทำการบ้านไปด้วยกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันก็ได้ หรือถ้าไม่สะดวกอีก ให้ลองนำผลงานหรือสิ่งที่คุณคิดไปเล่าให้คนอื่นฟัง แล้วขอความคิดเห็น พร้อมขอให้เขาเล่าวิธีคิดของเขาให้ฟังเป็นการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ด้วยตนเอง – SOLITARY
ตรงกันข้ามกับกลุ่มก่อนหน้า สไตล์การเรียนของคนกลุ่มนี้ก็มีที่มาจากลักษณะนิสัยของพวกเขาที่รักความเป็นส่วนตัว มีสมาธิจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้เป็นเวลานาน ทั้งเรื่องที่สนใจ และความคิดภายในหัวของตัวเอง เวลาส่วนใหญ่มักจะใช้ไปกับการสำรวจความรู้สึกและความคิดของตัวเอง และคนกลุ่มนี้รู้สึกว่าทุกอย่างจะง่ายกว่าหากได้คิดได้ทำด้วยตัวคนเดียว เงียบๆ ภายในห้องส่วนตัว เพราะในทางหนึ่งก็ง่ายต่อการตั้งเป้าหมาย ควบคุมทิศทางการทำงานอีกด้วย
อาวุธที่จะช่วยให้คนกลุ่มนี้เรียนรู้ได้ดีขึ้นคือ การถ่ายทอดออกมาเป็นบันทึก เพื่อช่วยทบทวนความคิด มั่นทำงานได้ดีกว่าการคิดทุกเรื่องอยู่ในหัว เป้าหมายคือสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับคุณ หากตั้งเป้าแล้วยังมองไม่เห็นทางไป ควรพูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ บ้าง (โอเค ถึงคุณจะคุยไม่เก่ง แต่ก็ถือเป็นการคุยเพื่อที่คุณจะได้กลับไปคิดคนเดียวต่อได้) และคุณต้องการความมุ่งมั่นเป็นอย่างสูง เพราะนี่เป็นสิ่งเดียวที่ขับเคลื่อนชีวิตของคุณ ขับเคลื่อนไปยังทิศทางที่คุณมองเห็นจากภายในหัวของตัวเอง
YourNextU
จริงอยู่ว่าเทคนิคที่เหมาะสมกับสไตล์การเรียนแต่ละแบบนั้น ไม่ได้ยากเกินจะปรับใช้เอง แต่ด้วยระบบการเรียนและสิ่งแวดล้อมรอบตัวนั้นไม่ได้เอื้อกับเราเท่าไหร่ ยิ่งหลักสูตรและผู้สอนที่เข้าใจว่าทุกคนมีวิธีการเรียนในแบบของตัวเองก็เหมือนจะไม่ได้หาง่ายๆ แล้วยิ่งถ้าเราจบจากรั้วมหาวิทยาลัยแล้ว จะเรียนรู้หรือพัฒนาทักษะใหม่ๆ ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่
ก่อนหน้านี้อาจจะดูเป็นเรื่องยาก แต่ตอนนี้ง่ายกว่าที่คิด เพราะ YourNextU พื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่รวมคอร์สชั้นนำจากสถาบันการศึกษาระดับโลกอย่าง Stanford University, Arbinger Institute, The Ken Blanchard Companies และ Erickson นั้น เปิดโอกาสให้คุณเป็นผู้เลือกสิ่งที่อยากเรียน ด้วยคอร์สเรียนเพื่อ Upskill & Reskill ทักษะต่างๆ สำหรับอนาคตมากกว่า 200+ หลักสูตรพร้อมเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับสไตล์การเรียนรู้ของคุณเอง ผ่าน 4 รูปแบบ ได้แก่ คอร์สเรียนออนไลน์ (Online Courses) การเข้าคลาสเรียนกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ (Classroom) เรียนรู้ด้วยจับกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์พร้อมผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ (Social Learning) และห้องสมุดออนไลน์ที่มีคลังความรู้ให้คุณดาวน์โหลดไว้กับตัว (Library Online)
และไม่ต้องกังวลใจ หากคุณไม่แน่ใจว่าตัวเองเหมาะกับการเรียนรู้แบบไหน มีสไตล์การทำงานอย่างไร หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นปรับตัวหรือพัฒนาตัวเองจากจุดไหน เพราะ YourNextU ให้คุณทดลองเรียนคอร์ส ‘The Four Houses of DISC’ และ ‘Outward Mindset’ แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับคอร์ส The Four Houses of DISC จะช่วยให้คุณรู้จักตัวเองว่าเป็นคนประเภทไหน ทำให้รู้ว่าจุดแข็งหรือจุดอ่อนเราคืออะไร อีกทั้งยังช่วยให้เข้าใจและมองออกอีกว่าคนที่เราทำงานด้วยน่าจะเป็นคนประเภทไหน ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคในการทำงาน
ลงทะเบียนเพื่อทดลองเรียนได้ที่นี่
The Four Houses of DISC – http://bit.ly/35idNbW
ส่วนคอร์ส Outward Mindset ก็น่าสนใจสำหรับผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ เพราะจะทำให้คุณเข้าขากับทีมงาน และเข้าใจลูกน้องมากขึ้นว่ามีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอะไรบ้างในการทำงาน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถดึงประสิทธิภาพจากทุกคนในทีมออกมาได้เต็มที่
ลงทะเบียนเพื่อทดลองเรียนได้ที่นี่
Outward Mindset – http://bit.ly/2p2MdyK
สองคอร์สนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่คุณจะได้รู้จักกับตัวเองมากขึ้น พร้อมติดอาวุธให้คุณสามารถวิเคราะห์ผู้คนรอบข้าง เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น ที่สำคัญคือไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย
อีกทั้งตอนนี้ยังมีแพคเกจพิ
ทุกอย่างพร้อมสำหรับคุณแล้ว รอแค่คุณเริ่มต้นเท่านั้น
ทำความรู้จักกับ YourNextU เพิ่มเติมได้ที่นี่ http://bit.ly/33bMC0D
อ้างอิงข้อมูลจาก
[1] https://www.learning-styles-online.com/overview/