แม้จะก้าวข้ามมาปี 2020 แล้ว แต่ประเด็นโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมก็ยังคงเรียงแถวหน้ากระดานมาให้เห็นเต็มไปหมด ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเริ่มแก้ไขกันที่ตัวการหลักจริงๆ ?
น้ำท่วม ไฟป่า ธารน้ำแข็งละลาย สัตว์ล้มตาย ผลผลิตทางการเกษตรลดลง
พูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม อาจจะรู้สึกว่าปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัวเกินไปหน่อย เพราะเรายังไม่ได้รู้สึกรับผลกระทบอะไรโดยตรงขนาดนั้น แต่ถ้าบอกว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ไม่ได้ส่งผลแค่กับดิน น้ำ สัตว์ หรืออากาศ แต่หากส่งกระทบมาถึงสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตของเราล่ะ แบบนี้เริ่มหนาวๆ ที่ต้นคอกันแล้วหรือยัง?
ความจริงที่ว่าพลาสติกที่ถูกผลิตนั้นไม่ได้ไปไหนไกล แต่กลับวกเข้าสู่ชีวิตประจำวันของเราเองนั้นเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ เพราะพลาสติกที่มนุษย์สร้างขึ้นมากว่า 8,300 ล้านตัน มีถึง 80% ที่ปนเปื้อนเข้าสู่ธรรมชาติและลอยกลับลงสู่ทะเล แสดงว่าถึงแม้เราจะพยายามกำจัดขยะพลาสติกทิ้งยังไงก็ตาม สุดท้ายเราก็กลับมาพบเจอมันอีกที ไม่ว่าจะผ่านทางการกิน ดื่ม หรือหายใจ
ตัวร้ายไม่ใช่พลาสติก แต่คือการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งที่ไม่สิ้นสุด
หลอดกระดาษที่ถูกเปลี่ยนเป็นหลอดสแตนเลส ถุงพลาสติกที่ถูกแทนที่ด้วยถุงผ้า แก้วสแตนเลสที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการทิ้งแก้วกระดาษที่ใช้เพียงครั้งเดียว พลาสติกที่ถูกเปลี่ยนมาเป็น Poly Ethylene Terephthalate หรือ PET พลาสติกที่มีคุณภาพสูงและง่ายต่อการย่อยสลาย ไหน? มีใครเริ่มหันมาทำอะไรเหล่านี้กันแล้วบ้าง?
ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ากระแสรักษ์โลกยังคงมีมาเรื่อยๆ เนื่องจากผลกระทบจากมลพิษและภาวะโลกร้อนนั้นยังวนเวียนมาให้เห็นตลอด แต่ที่น่าสนใจก็คือหลายคนเริ่มที่จะรู้จักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองแล้ว โดยเฉพาะลดการ ‘ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง’ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ร้ายของเรื่องนี้มากกว่าพลาสติกเสียอีก เพราะพลาสติกถูกผลิตขึ้นมาให้มีความหนา แข็งแรง และทนทานต่อความร้อน ทำให้แม้เราจะทิ้งไปแล้ว แต่ความอึดทนของมันก็ยังคงไม่หายไปง่ายๆ
ดังนั้น เมื่อปัญหาอยู่ที่การบริหารจัดการขยะ ทางออกก็คือจะทำยังไงให้เกิดการทิ้งน้อยที่สุด
หยุดสร้างขยะเพิ่ม เริ่มที่ตัวเอง
ที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าหลายๆ หน่วยงานและภาคส่วนได้เริ่มทำตามหลัก 3Rs กันมากขึ้น ได้แก่ ใช้น้อย (reduce) ใช้ซ้ำ (reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) โดยเฉพาะการนำวัสดุมารีไซเคิลและการลดการใช้วัสดุที่ย่อยสลายยาก เช่นในปี พ.ศ.2563 นี้ ที่มีมาตราการงดแจกถุงพลาสติกตามห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกอย่างจริงจัง ก็นับเป็นก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตให้มีส่วนรับผิดชอบต่อปัญหาโลกร้อนมากขึ้น
และรู้มั้ยว่าการใช้ซ้ำนี่แหละที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ดีที่สุด เพราะนอกจากจะถือเป็นการนำทรัพยากรมาใช้อีกครั้งแล้ว ก็ยังไม่ทำให้เกิดการย่อยสลายให้กลายเป็นมลพิษในชีวิตประจำวันอีกด้วย
ในปัจจุบันนี้มีบริษัทผู้ผลิ
แต่อุปสรรคอยู่ตรงที่การจะหาซื้อน้ำดื่มขวดแก้วนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มักจะมีขวดพลาสติกวางเรียงรายอยู่เต็มไปหมด โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อที่เราเข้ากันเป็นประจำ ง่ายต่อการหยิบ จ่าย และทิ้ง ทำให้เราเผลอใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งซ้ำๆ ไม่สิ้นสุด อีกทั้งยังเป็นเรื่องของน้ำหนักขวดแก้ว ที่เมื่อเทียบกับขวดพลาสติก ขวดแก้วมีน้ำหนักเยอะกว่ามาก อาจจะไม่สะดวกในการนำกลับบ้าน กลัวแตก และไหนยังจะต้องเดินทางหาซื้อตามร้านขายส่ง เพราะตามร้านค้าทั่วไปไม่ค่อยนิยมจำหน่ายน้ำขวดแก้วนัก
ในทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ บางสถานการณ์หากใช้ขวดพลาสติกตอบโจทย์มากกว่าก็ขอให้เราเลือกขวดที่มีสัญลักษณ์ PET 1 และในบางครั้งที่เราสามารถใช้ขวดแก้วได้ ก็ขอให้ช่วยกัน อย่าลังเลที่จะใช้ก็จะเป็นทางออกที่ดีอีกทาง
ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นจุดเล็กๆ ที่จะช่วยให้การใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งหมดไป และทำให้เห็นว่าแม้จะเป็นเพียงแค่พฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่คิดว่าไม่ส่งผลอะไร แต่ถ้าหากเราทุกคนร่วมมือร่วมใจสละความสะดวกสบายเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันบ้าง และปลูกฝังจนมันกลายเป็นนิสัย ก็สามารถเกิดเป็นแรงกระเพื่อมที่จะมาช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และในที่สุด มันไม่ใช่แค่จะส่งผลดีต่อธรรมชาติ แต่ยังเป็นการรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของตัวเองไปในตัว เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่สภาพแวดล้อมดีขึ้น คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
ดูท่าว่าตัวกำหนดทิศทางสภาพแวดล้อมของโลกนั้นจะเริ่มจากจุดเล็กๆ อย่างพฤติกรรมของเราเองนี่แหละ เพราะฉะนั้นเริ่มต้นวันนี้ยังไม่สาย มาเกี่ยวก้อยสัญญาว่าจะแลกความสะดวกสบายเล็กๆ น้อยๆ กับการช่วยเหลือโลกกันไว้ดีกว่า
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://thaipublica.org/2018/06/plastic-pollution-world-environment-day/
https://thematter.co/science-tech/air-pollution-linked-depression/98438