เมื่อปี 2019 เสียงของเด็กหญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งทำให้ทั่วทั้งโลกต้องหยุดฟัง
“How dare you?” เสียงของ เกรตา ธันเบิร์ก ตั้งคำถามต่อรัฐบาลและผู้นำเวทีโลกอย่างตรงไปตรงมา
ด้วยวัยเพียง 16 ปีเธอออกมาเรียกร้องเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลก ทวงถามแทนเยาวชนทั่วโลกที่มีความฝันอยากอาศัยอยู่ในโลกที่ดีกว่านี้
ย้อนกลับไปหลายปีก่อนหน้า เกรตาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประหยัดพลังงานจากคุณครูในชั้นเรียน เด็กหญิงวัย 9 ขวบไม่เข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนัก แต่เธอเริ่มมองเห็นปัญหาจากสิ่งที่เธอได้เรียนรู้ในคลาสนั้น เกรตาสงสัยว่าหากเรื่องของพลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศสำคัญมากถึงขนาดนั้น ทำไมมนุษย์เราจึงไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อปกป้องโลกทั้งที่สามารถทำได้
มากกว่าการตั้งคำถามเด็กหญิงเลือกที่จะลงมือทำ เธอเริ่มศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง เกรตาเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง เธอแทบไม่ซื้อสิ่งของใหม่ๆ เลย และใช้สิ่งต่างๆ เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เธอหยุดทานเนื้อสัตว์ เลิกเดินทางด้วยเครื่องบิน ส่งต่อแนวคิดให้คนใกล้ตัวอย่างคนในครอบครัว นำไปสู่การที่เธอเริ่มออกมาส่งเสียงเพื่อแชร์ความคิดของเธอให้คนในสังคมได้ยิน และผู้คนทั่วโลกก็เริ่มตอบรับความคิดของเธอ หากกล่าวว่าเกรตาเป็นเสมือนคลื่นลูกใหม่ที่จุดประกายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปทั่วโลกก็ไม่ผิดจากความเป็นจริงเลย
บางคนอาจเคยมองว่าตัวเองช่างเล็กจ้อยบนโลกที่กว้างใหญ่ใบนี้ แต่หากลองพิจารณาดูให้ดี ความจริงนั้นเบื้องหลังความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ล้วนแล้วแต่เกิดจากก้าวแรกของคนตัวเล็กๆ…
Kofi Annan อดีตเลขาธิการ UN เคยกล่าวไว้ว่า “การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนใหญ่โตถึงจะมีความคิดที่ยิ่งใหญ่” เช่นเดียวกันกับที่โครงการดีๆ ไม่จำเป็นต้องเกิดจากนโยบายภาครัฐหรือองค์กรใหญ่ๆ เสมอไป แต่เกิดจากเสียงของคนที่เผชิญปัญหาด้วยตัวเอง เพราะไม่มีใครจะเข้าใจปัญหาได้มากเท่ากับคนที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่หรอกจริงไหม
นั่นคือสิ่งที่เราได้เห็นจาก น้องลิลลี่ เด็กหญิงนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับฉายาว่า เกรตา ธันเบิร์ก เมืองไทย น้องลิลลี่เป็นอีกคนที่ออกมาแชร์ความคิดที่มุ่งมั่นอยากเห็นสิ่งแวดล้อมของไทยดีขึ้น จากเด็กหญิงที่เดินเก็บเศษขยะริมทะเลตอนไปเที่ยวกับครอบครัวในวันนั้น สู่การสร้างโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน อย่างการพายบอร์ดเก็บขยะภายในคลองของกรุงเทพฯ ไปจนถึงการรณรงค์แคมเปญ Climate Strike ร่วมกับผู้คนทั่วโลก และเธอก็ยังมีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับโครงการที่เธอกำลังทำอยู่ในเวทีโลกอย่าง UNICEF อีกด้วย ต้องบอกว่าเป็นก้าวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ก้าวใหม่จากเยาวชนไทยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้
ไม่เพียงแค่ปัญหาระดับโลกอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ปัญหาทั่วไปที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน หรือปัญหาความต้องการพื้นฐานของสังคม อย่าง ระบบสาธารณะสุขในชนบท ระบบขนส่งมวลชนในเมือง สุขภาพของผู้สูงอายุ การศึกษาของเยาวชน เรื่องใกล้ตัวเหล่านี้ก็สามารถก่อเกิดเป็นโครงการ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะสร้างแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดีให้กับประเทศอย่างยั่งยืนได้เช่นกัน ส่วนจะทำอย่างไรนั้น ติดตามในหัวข้อถัดไปได้เลย
Sharing is Caring
หลายคนคงเคยมีความคิดอยากเปลี่ยนแปลงให้ประเทศตัวเองดีขึ้น หรือแม้แต่อยากทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้น เมื่อลองพูดออกมาดังๆ อาจดูเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว แต่อย่างที่เราย้ำมาตั้งแต่ต้นว่าคนตัวเล็กก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เช่นกัน และความคิดริเริ่มที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลงสังคมของตัวเองให้ดีขึ้นก็สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ เพียงเริ่มต้นจากการ ‘Share’
แคมเปญ Sharing is Caring เป็นโครงการดีๆ จาก Taiwan Excellence ตราสัญลักษณ์ที่รับประกันความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์จากไต้หวัน โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจไต้หวัน (BOFT), MOEA ซึ่งได้รับการยอมรับจาก 102 ประเทศทั่วโลก เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการ CSR ในรูปแบบดิจิทัล และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมทุกความฝันของคนที่อยากเห็นสังคมดีขึ้น
ด้วยการเปิดพื้นที่ให้เหล่านักนวัตกรรมได้ร่วมนำเสนอแนวคิดเชิงบวกและวิธีการดีๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาในมิติต่างๆ ของสังคม พร้อมมีเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาอย่างนวัตกรรมคุณภาพที่รับรองโดยตราสัญลักษณ์ Taiwan Excellence ซึ่งเชื่อว่าการเสนอแนวคิดและได้ลงมือทำ เป็นการส่งต่อสิ่งดีๆ ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ทั้งต่อบุคคลและสังคมไปในทางที่ดีขึ้น
Sharing is Caring เป็นแคมเปญที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจทั้งภาคประชาชน องค์กร สถาบันต่างๆ หรือ NGO ในประเทศไทยสามารถเข้าร่วมแชร์ไอเดียสร้างสรรค์กันได้เต็มที่ ทีมเจ้าของไอเดียต้องประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 5 คน แต่ละทีมสามารถครีเอทไอเดียการแก้ปัญหา จะเป็นระดับเล็กอย่างปัญหาในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือปัญหาใหญ่ระดับมหภาคอย่างปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ได้ทั้งนั้น โดยเลือกสรรนวัตกรรมที่ตอบโจทย์แผนงานของเราจากผลิตภัณฑ์ซึ่งได้รับรางวัลจาก Taiwan Excellence Award ที่ครอบคลุมทั้งหมด 8 อุตสาหกรรม อันได้แก่ Electronics and Communication, PC and Software, Fashion, Recreation and Sports, Home-Construction Materials and Hardware, Health and Precision Instrument, Transportation และ Productivity and Energy ก่อนเขียนแผนนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผู้เสนอผลงานสามารถยื่นเสนอได้เพียงหนึ่งหัวข้อเท่านั้น สามารถส่งผลงานเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม 2564
แผนงานที่เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับการคัดเลือกจาก 7 ผู้เชี่ยวชาญด้านสวัสดิการสังคมและศาสตราจารย์ในฐานะสมาชิกของคณะกรรมการ ซึ่งจะทำการประเมินจากทั้งหมด 4 หัวข้อ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ประกอบด้วย
– ผลกระทบต่อสังคม ผลประโยชน์ต่อสาธารณะ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (30%)
– นวัตกรรม (25%)
– ความเป็นไปได้ของแผนงาน และความสมเหตุสมผลของการจัดสรรงบประมาณ (25%)
– การนำเสนอเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Taiwan Excellence (20%)
ผู้ชนะทั้งหมด 3 แผนงานจะได้รับรางวัล 10,000 ดอลลาร์ ต่อแผนงาน และทาง Taiwan Excellence จะต่อยอดโครงการโดยการคัดสรรและมอบหมายบุคคลที่สามในการนำแผนงานที่ชนะมาดำเนินงานให้เกิดขึ้นจริง พร้อมเงินทุนเพิ่มอีก 150,000 ดอลลาร์
ทำให้ฝันของคนที่อยากให้สังคมพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเป็นจริงได้ ด้วยความเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence สามารถช่วยให้ชีวิตของทุกคนง่ายขึ้นได้จริงๆ
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน นักศึกษา เยาวรุ่นไฟแรง ประชาชน หรือองค์กรต่างๆ ขอเพียงมีความกล้าที่จะแชร์ไอเดียเจ๋งๆ ที่จะสร้างสรรค์ พัฒนา เปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมของเราให้ดียิ่งขึ้น อย่าเก็บไอเดียดีๆ เหล่านั้นให้อยู่เพียงแค่ในความคิด แต่คุณสามารถแชร์และสานฝันสร้างโอกาสให้ไอเดียเหล่านั้นเกิดขึ้นจริงได้กับแคมเปญ Sharing is Caring
ร่วมแบ่งปันไอเดียที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการสมัคร เงื่อนไข เกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2VNcNfE