The MATTER ชวนไปพูดคุยถึงเบื้องหลังกลยุทธ์รวมถึงทิศทางของเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้กับ เสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ TMB
เศรษฐกิจไทย โครงสร้างมันกระจุกตัว เรามีธุรกิจขนาดยักษ์ใหญ่จำนวนไม่กี่ราย อันนี้คนอาจจะมองว่ามันเป็นปัญหา แต่ในขณะที่น้องเล็กเป็นล้านๆ ราย อยู่ใน Supply Chain ที่ค้าขายกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ งั้นเราพลิกวิกฤตอันนี้ให้เป็นโอกาสตรงที่ว่าเราไปจับมือกับธุรกิจขนาดใหญ่ ไปช่วยเหลือ Supplier รายเล็กๆ
วิกฤตโควิด-19 กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจโครงสร้างบ้านเรา มันมีความเหลื่อมล้ำหรือว่าความกระจุกตัวอยู่ ก็คือรายใหญ่ เรียกว่าครอบครองเศรษฐกิจไปในสัดส่วนที่ค่อนข้างเยอะ SME เรามีประมาณ 3 ล้านราย จ้างงานไป 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ ของแรงงานทั้งประเทศ แต่จริงๆ แล้วมีแชร์ของรายได้ทั้งหมดไม่ถึงครึ่ง แล้วก็ช่วงที่ผ่านมาก็ต้องยอมรับอีกอย่างว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะโตต่ำกว่าศักยภาพนิดนึง ค่อนข้างจะไม่ได้โตเต็มที่ไม่ได้ขยายตัวเต็มที่ ฉะนั้นก่อน COVID-19 ต้องบอกว่าไม่ง่ายอยู่แล้ว พอ COVID-19 เข้ามามันกระชากเลย น่าจะมี SME ที่ต้องปิดกิจการไปจำนวนหนึ่งอยู่แล้ว ที่เหลือก็อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างจะขาดสภาพคล่อง แล้วก็ต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่
TMB | Thanachart กับการวางมาตรการช่วยเหลือ SME
จริงๆ ต้องมองเป็น 2 ส่วน อันหนึ่งต้องเรียกว่าชมแบงก์ชาติด้วย ในการออกมาตรการที่จะช่วยพวก SME ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Soft Loan เรื่องการพักชำระหนี้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็แล้วแต่ธนาคาร อย่างของเราเอง ก็มุ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจ ตามความเหมาะสมของลูกค้าแต่ละราย เช่น การเสริมสภาพคล่อง เป็นสินเชื่อหมุนเวียน อีกอันหนึ่งที่คนอาจจะนึกไม่ถึงว่าให้สภาพคล่องอย่างเดียว จะตอบโจทย์ทุกอย่าง จริงๆ แล้วเราต้องช่วย SME ในการปรับตัวด้วย ยกตัวอย่างเช่น สิ่งที่ธนาคารจะช่วยได้ เช่น พวก Solution ที่เกี่ยวกับดิจิทัล จากเดิมที่ใช้เงินสดเยอะแยะ วันนี้ลูกค้าของ SME อาจจะไม่อยากจับเงินสดแล้ว ทำยังไงที่ทำให้เขาเข้าสู่ Payment Solution ที่เป็นดิจิทัลได้เร็วขึ้น
‘ตั้งรับเชิงรุก’ กลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้า
ผมเชื่อว่าวันแรกที่คนเจอ COVID อาจจะมองภาพไปข้างหน้าไม่ออกว่าผลกระทบมันจะขนาดไหน แต่ที่สำคัญเราตั้งรับแบบตั้งรับเฉยๆ โดยที่ไม่คาดการณ์ล่วงหน้า ไม่เตรียมความพร้อม แล้วก็เรียกว่ามองถึงกรณีเลวร้ายที่สุดอย่างที่เราเรียกว่า Worst Case อันนั้นผมว่าคงไม่ได้แล้ว ตั้งรับเชิงรุกเรามองว่าจำเป็นที่ตั้งรับเฉยๆ นี่แหละ แต่ว่าเราต้องทำงานเชิงรุก มองไปข้างหน้า แล้วก็เตรียมความพร้อมจริงๆ ในส่วนของที่ธนาคารจะช่วยกับลูกค้าได้ สภาพคล่องอย่างเดียว เงินไม่ใช่การแก้ปัญหาทั้งหมด ทำอย่างไรที่จะช่วยให้ลูกค้าเราเตรียมรับ เรียกว่า Business Model ใหม่ๆ ที่จะต้องไปขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น
“รายใหญ่ช่วยรายเล็ก ทางรอดที่เติบโตไปพร้อมกัน”
ต้องมองภาพให้ขาดว่าการช่วยรายใหญ่ อย่างที่บอก ไม่ได้ให้รายใหญ่เอาเงินไปกอดไว้ แต่รายใหญ่กระจายความช่วยเหลือนี้ต่อไปให้รายเล็ก คือเราจับมือกับกลุ่มที่เราเรียกว่าสปอนเซอร์ ที่จะไปช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กที่อยู่ใน Supply Chain อย่าง SCG ที่จะทำพวกร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ที่อยู่ในเครือข่ายกระจายสินค้าไปในพื้นที่ต่างๆ อันนี้เราจะเป็นในลักษณะการให้สินเชื่อผ่านทางเรียกว่าสปอนเซอร์ แล้วก็ส่งต่อสภาพคล่องไปช่วยเครือข่ายร้านค้าที่อยู่ใน Supply Chain ของบุญรอดก็เช่นกัน ก็จะมีร้านค้าที่เป็นเครือข่ายที่ทำหน้าที่กระจายสินค้าไปตามพื้นที่ต่างๆ ก็จะให้เป็นลักษณะสินเชื่อที่จะไปเสริมพวกสภาพคล่องให้กับร้านค้าเหมือนกัน ปตท. เองก็จะเป็นรูปแบบของการที่จะมีพวกสถานีบริการน้ำมัน ก็จะไปสนับสนุนผ่านสปอนเซอร์รายใหญ่ แล้วก็ให้สภาพคล่องกับเงินลงทุน ไปให้กับผู้ที่ลงทุนปั๊มเป็นรายๆ ไป
TMB | Thanachart กับการช่วยเหลืออุตสาหกรรมเกษตรที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ
โครงสร้างเศรษฐกิจไทย เกษตรนี่ไม่พ้นเลย ยังไงก็เป็นต้นท็อปๆ ของประเทศไทยอยู่แล้ว เรามองคอนเซปต์เหมือนกับที่เรียนไปว่า เราต้องไปช่วยเครือข่าย พี่ใหญ่จะโตได้ น้องเล็กที่อยู่ใน Supply Chain ต้องโตตามไปด้วย คราวนี้ในอุตสาหกรรมเกษตร ความยากอยู่ที่ว่าคนที่อยู่ใน Supply Chain อาจจะไม่ใช่เป็น SME ด้วยซ้ำ แต่เป็นเกษตรกรรายย่อย อย่างกลุ่มมิตรผลทำเป็นน้ำตาล เรียกว่าเบอร์หนึ่งของไทยเลย แล้วก็ติดท็อปๆ ของโลกด้วยเนี่ย สิ่งที่เราเข้าไปร่วมมือ เดิมอาจจะคนที่คุ้นเคยกับวงการน้ำตาล อาจจะเคยได้ยิน วงการอ้อย เรียกว่าเกี๊ยวเงินกับเกี๊ยวของ ก็คือในระบบ Contract Farming โรงงานน้ำตาลจะให้เงินกับชาวไร่ ไปซื้อพันธุ์ ซื้อปุ๋ย ไปลงทุนก่อนเพื่อที่จะปลูก เราจะใช้ลักษณะ Digital Solution เป็นเหมือนกับ Electronic Wallet ทุกคนจะมีบัตร แล้วก็เงินก็จะเข้าไปในบัตรนี้ บัตรนี้ไม่ได้เอาไปซื้ออะไรได้ตามใจ จะเข้าไปร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ไปซื้อปุ๋ย ซื้อพันธุ์ ซื้อยาต่างๆ เพื่อที่จะเอามาใช้ในการปลูกอ้อยได้
พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ด้วย Supply Chain Solution
ต้องมองว่าเศรษฐกิจไทย โครงสร้างมันกระจุกตัว เรามีธุรกิจขนาดยักษ์ใหญ่จำนวนไม่กี่ราย กระจุกตัวอยู่ แล้วเรียกว่าครอบครองเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศ อันนี้คนอาจจะมองว่ามันเป็นปัญหา แต่ว่าเราพลิกปัญหาให้เป็นโอกาสได้ ตรงที่ว่าถ้าเราจะช่วย พูดง่ายๆ เหมือนพี่ใหญ่กับน้องเล็ก เราช่วยน้องเล็กเป็นล้านๆ ราย เข้าไปช่วยทีละราย ๆ อาจจะไม่ทัน แต่ในขณะที่น้องเล็กเป็นล้านๆ ราย อยู่ใน Supply Chain ที่ค้าขายกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ งั้นเราพลิกวิกฤตอันนี้ให้เป็นโอกาสตรงที่ว่าเราไปจับมือกับธุรกิจขนาดใหญ่ ไปช่วยเหลือ Supplier รายเล็กๆ แล้วมันจะทำเป็นระบบ แล้วก็ขยายวงกว้างได้ในเวลาอันรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากกว่า
“หัวใจสำคัญอีกอันหนึ่งคือการมองไปข้างหน้า ไม่ได้เป็นการมองเพื่อจะเก็งกำไรหรือว่าเดิมพันว่ามันจะต้องเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็จะต้องไปลงทุนธุรกิจนั้น เพียงแต่ว่าเป็นการมองไปข้างหน้าเพื่อจะเตรียมความพร้อม เพื่อจะสร้างเบาะรองรับแรงกระแทกที่เกิดจากวิกฤต ไม่ว่าจะเป็นครั้งนี้หรือครั้งต่อๆ ไป”