ข้ามปี 2020 ไม่ทันไร ดูเหมือนเศรษฐกิจไทยส่อแววล้มลุกคลุกคลานพอสมควร
เห็นได้จากสถิติเงินบาทแข็งตัวที่สุดในรอบ 6 ปี ผู้ประกอบการปิดโรงงานกว่า 1,989 แห่ง ส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 49,157 คน ในฐานะที่ยังเป็นมนุษย์ทำมาหากิน จึงจำเป็นต้องมีการบริหารเงินอย่างจริงจัง เพราะหากพลาดทีนึง อาจนำมาซึ่งความพังพินาศทางการเงิน
อย่างไรก็ตามเวลามีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินสด หลายคนกลับเลือกแนวทางการแก้ไขผิดๆ เช่น การเป็นหนี้นอกระบบ มองข้ามอีกหนึ่งแนวทางอย่างบัตรกดเงินสดที่สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการเงินได้เหมือนกัน วันนี้เราจึงจะมานำเสนอแนวทางการรับมือกับปัญหาทางด้านการเงินฉบับอีซี่ๆ ที่จะช่วยให้รอดพ้นปี 2020 อย่างปลอดภัย แถมยังบวกความสุขให้กับชีวิตคุณ
2020 เตรียมเผชิญหน้าปัญหาเศรษฐกิจ
ไม่เฉพาะประเทศไทย แต่เศรษฐกิจโลกกำลังอยู่ในสภาวะชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2014 นู้น แม้แต่ประเทศจีนเองก็เคยตกอยู่ในสภาวะการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 20 ปีมาแล้ว
ปี 2020 จึงเป็นปีที่ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีสัญญาณบ่งบอกมาจากปีที่แล้วว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตต่ำสุดในรอบ 12 ปี โดยปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวเพียง 2.5-2.6% เป็นการขยายตัวต่ำกว่า 3% ครั้งแรกในรอบ 5 ปี ส่งผลให้ประชาชนมีรายได้น้อยลง และเริ่มก่อหนี้เพิ่มเพื่อประคองค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เศรษฐกิจอาจไม่ได้พังทลายลงทั้งหมด แต่ชีวิตมนุษย์อาจพังได้ หากเรายังไม่กระตือรือร้นในการบริหารจัดการเงิน หนทางการอยู่รอดในปีนี้จึงมีทางเดียวคือบริหารจัดการเงินอย่างจริงจังเสียที ซึ่งการบริหารจัดการที่ดีเริ่มต้นที่การรู้จักออมเงิน จัดทำแผนรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เราได้รู้ว่าตัวเองมีสภาพคล่องทางการเงินเท่าไหร่ มีรายได้เท่าไหร่ หักเป็นเงินออมเท่าไหร่ และสามารถใช้จ่ายได้เท่าไหร่ นับเป็นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้นั่นเอง
หนี้นอกระบบ ปัญหาที่พบมากในสังคมปัจจุบัน
ความจริงที่น่ากลัวคือเราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้ ถึงแม้จะวางแผนการเงินเป็นอย่างดี แต่วันหนึ่งก็อาจเกิดเหตุจำเป็นต้องใช้เงินสดที่แม้แต่บัตรเครดิตก็ช่วยคุณไม่ได้ ทำเอาแผนที่วางไว้ล้มลงพังไม่เป็นท่า น่าเศร้าที่หลายคนกลับเลือกแนวทางการแก้ไขผิดๆ อย่างการเป็นหนี้นอกระบบหรือหนี้ที่ไม่ได้กู้ยืมมาจากสถาบันการเงิน ซึ่งมีสถิติบอกว่าคนไทยเป็นหนี้กันมากขึ้น เร็วขึ้น และนานขึ้น
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยว่าในปี 2562 มีหนี้ครัวเรือนเฉลี่ย 340,053 บาทต่อครัวเรือน นับเป็นอัตราที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ โดยเป็นหนี้ในระบบ 59.2% และนอกระบบมากถึง 40.8% และหากจำกัดช่วงอายุต่ำกว่า 40 ปีจะพบว่า มี 1 ใน 11 คนจะเป็นหนี้นอกระบบอยู่
การเป็นหนี้นอกระบบ แม้จะทำให้เราได้เงินสดมาใช้ทันที แต่ก็ต้องแลกกับภาระดอกเบี้ยแสนโหดที่จะเปลี่ยนหนี้ก้อนเล็กๆ ให้กลายเป็นหนี้ก้อนใหญ่ในระยะยาว แถมบางครั้งก็อาจเลวร้ายไปถึงการทวงคืนด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ข่มขู่ ทำร้ายร่างกาย หรือร้ายแรงถึงชีวิตก็เป็นได้
บัตรกดเงินสด อีกหนึ่งทางรอดในยามฉุกเฉิน
เห็นสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้ก็เริ่มร้อนๆ หนาวๆ กันแล้วใช่ไหมล่ะ แต่เชื่อเถอะว่าถ้าเราวางแผนการใช้เงินดีๆ ปี 2020 ก็จะช่วยให้เรารอดได้อย่างปลอดภัย ยิ่งหากเรามีบัตรกดเงินสดพกติดตัวเอาไว้ ก็อุ่นใจได้ว่าเราจะมีเงินสำรองไว้ใช้แน่นอน
จะว่าไปแล้ว เราอาจเคยได้ยินภาพลักษณ์บัตรกดเงินสดว่าเป็นบัตรสร้างหนี้ แต่จริงๆ แล้วจะไม่ใช่ตัวสร้างหนี้เลยถ้ามีการวางแผนการใช้เงินอย่างชาญฉลาด เพราะบัตรกดเงินสดเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่สามารถใช้เบิกถอนเงินสดจากตู้ ATM แล้วนำไปใช้ได้ทันที เช่น เจ็บป่วยกระทันหัน ซื้อของที่จำเป็น หรือสิ้นเดือนเงินไม่พอใช้จริงๆ โดยคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกตามจำนวนวันที่ใช้จริง
ข้อดีคือสามารถกดถอนเงินสดได้ที่ตู้ ATM โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าเหมือนกับบัตรเครดิต แต่ก็แลกกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงที่สุดในหมู่สินเชื่อทุกประเภท ฉะนั้นแล้วบัตรกดเงินสดจึงดาบสองคมที่จะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ของเจ้าของบัตร ข้อแนะนำเพียงหนึ่งเดียวก็คือ ควรเก็บวงเงินนี้ไว้ใช้ยามจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
พกไว้ให้อุ่นใจ รองรับทุกเรื่องไม่คาดฝันทางการเงิน
การเลือกบัตรกดเงินสดติดกระเป๋าสักใบคงต้องไม่ใช่เลือกบัตรอะไรก็ได้ แต่เราควรเลือกบัตรจากบริษัทที่เป็นผู้นำด้านบัตรกดเงินสดอย่าง Umay+ อีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยแก้ปัญหาทางการเงินในช่วงเวลาที่ไม่คาดฝัน
ยกตัวอย่าง หากมีเหตุที่ต้องใช้เงินสด 50,000 บาท ระยะเวลา 30 วัน การถอนเงินสดจากบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดล่วงหน้า 3% (1,500 บาท) บวกกับอัตราดอกเบี้ย 18% (739.73 บาท) เท่ากับว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ย 2,239.73 บาท
กรณีเดียวกัน หากเรากดด้วยบัตรกดเงินสดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ แต่จะเสียแค่อัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 19.8% ต่อปี (813.70 บาท) หรือสูงสุด 28% ต่อปี (1,150.68 บาท) เท่ากับว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการชำระดอกเบี้ยเพียง 813.70 บาท หรือ 1,150.68 บาท เท่านั้น ต่ำกว่าการกดเงินจากบัตรเครดิตแน่นอน
ปัจจุบัน Umay+ มีบัตรกดเงินสด 2 รูปแบบคือ “บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส” สำหรับพนักงานที่มีอายุงาน 1 เดือนและมีรายได้ประจำตั้งแต่ 7,000 บาทขึ้นไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินไม่เกิน 28% ต่อปี และ “บัตรกดเงินสดยูเมะพลัส พรีเมียร์” สำหรับพนักงานผู้มีรายได้ประจำตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป โดยมีอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินต่ำสุด 19.8% ต่อปี คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกตามยอดเงินที่ใช้จริง ไม่กดเงินสดก็ไม่เสียดอกเบี้ย
ที่สำคัญ สามารถเลือกจ่ายคืนได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นจ่ายขั้นต่ำ จ่ายมาก หรือจ่ายหมด โดยชำระขั้นต่ำเพียง 3% หรือไม่ต่ำกว่า 200 บาท ทำให้คุณสามารถจัดการบริหารเงินได้อย่างอิสระมากขึ้น และไม่เป็นดาบสองคมเหมือนบัตรประเภทอื่นๆ
ปี 2020 หนทางยังอีกยาวไกล อย่าลืมวางแผนการบริหารจัดการเงินไว้ล่วงหน้า เพื่อบวกความสุขให้กับชีวิตของคุณ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : http://bit.ly/30Eax95 หรือสมัครบัตรกดเงินสดได้ที่ https://bit.ly/36Y63fX
อ้างอิงข้อมูลจาก
https://www.voicetv.co.th/read/9Lfv4Wr0A
https://www.ryt9.com/s/iq03/3065540
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856350
https://www.moneyguru.co.th/credit-card/articles/วิธีใช้บัตรกดเงินสด-กดย/