รู้ไหมว่าปัญหาขยะส่งผลกระทบใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด หลายปัญหาที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำท่วม, มลพิษทางอากาศ PM 2.5, และไมโครพลาสติกที่ตกค้างในปลาที่เรารับประทาน ล้วนมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรที่ไม่ยั่งยืนและการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม
ยกตัวอย่าง ในปี 2566 ประเทศไทยมีขยะสะสมมากถึง 73,840 ล้านตันต่อวัน โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งมีขยะมากถึง 12,748 ตันต่อวัน ปริมาณขยะที่มากเช่นนี้ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดมลพิษ แต่ยังเป็นสาเหตุหลักของการอุดตันในระบบระบายน้ำ ส่งผลให้น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของกรุงเทพฯ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ปัญหานี้ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องแก้ไขด้วยการแยกขยะอย่างถูกวิธี
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ แนวคิด Zero Waste จึงเกิดขึ้น เพื่อตอกย้ำการลดปริมาณขยะที่เราสร้างขึ้นในสังคม โดยเริ่มต้นตั้งแต่ต้นทาง เน้นการลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น การใช้ซ้ำ และการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ ก่อนที่จะนำไปกำจัด โดยเป้าหมายหลักคือการทำให้ของเหลือใช้หรือขยะเหล่านั้นเกิดประโยชน์สูงสุด
หนึ่งในวิธีที่สามารถนำแนวคิด Zero Waste ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ คือ หลักการ 1A3R ซึ่งประกอบด้วย
Avoid (หลีกเลี่ยง): หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดขยะเพิ่ม เช่น การเลี่ยงใช้ถุงพลาสติกและของใช้ครั้งเดียวทิ้ง
Reduce (ลดการใช้): ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเพื่อลดการสร้างขยะ
Reuse (ใช้ซ้ำ): ใช้วัสดุที่เรามีให้คุ้มค่าที่สุดก่อนจะทิ้ง และหาวิธีนำกลับมาใช้ใหม่
Recycle (รีไซเคิล): การแยกขยะและนำขยะหรือวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มาแปรรูปใหม่
เช่นเดียวกับ UOB ที่มีโครงการ Waste to Wonder โดยเริ่มจากการสนับสนุนให้พนักงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นส่งเสริมการใช้กระบอกน้ำ กล่องข้าว แทนขวดหรือกล่องพลาสติกใช้แล้วทิ้ง การจัดวางจุดแยกขยะ 5 ประเภทในพื้นที่ทำงานและส่วนกลาง โดยโครงการจะนำขยะเศษอาหาร มาแปรรูปให้เป็นวิตามินบำรุงพืช แจกจ่ายให้แก่พนักงาน ที่สำคัญมีการสื่อสารให้ความรู้ ความเข้าใจของประเภทขยะต่างๆ เพื่อให้พนักงานนำไปปรับใช้ในการจัดการขยะเหล่านั้นอย่างถูกวิธีทั้งที่ทำงานและที่บ้าน
นอกจากนี้ UOB ยังดำเนินโครงการอัปไซเคิลชุดยูนิฟอร์มเก่ากว่า 4,900 ชุด สร้างเป็นผลงานศิลปะ Art Installation และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าต่อได้ โดยรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถูกนำไปช่วยเหลือทารกแรกเกิดในมูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก และโครงการอัปไซเคิลยูนิฟอร์มนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 1,965.30 กิโลกรัม เทียบเท่ากับต้นไม้ที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนถึง 137,646 ต้นอีกด้วย
อีกหนึ่งกิจกรรมที่สำคัญคือ งานวิ่งประจำปี UOB Heartbeat Run ซึ่งผสานแนวคิดความยั่งยืนไว้ในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่เสื้อวิ่งที่ผลิตจากผ้าส่วนเกินของอุตสาหกรรมแฟชัน ลดการผลิตผ้าใหม่และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไปจนถึงเหรียญรางวัลที่ออกแบบให้สามารถนำไปใช้ต่อได้ ไม่ว่าจะเป็นที่รองแก้วหรือ กระเป๋าใส่เหรียญในปีก่อนๆ จนมาถึงปีนี้ ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลที่ส่วนหนึ่งเก็บมาจากสำนักงาน ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามและความมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังพนักงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
ท้ายที่สุดแม้ว่าแนวคิด Zero Waste อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่หากเราเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เราก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างพลังที่ยิ่งใหญ่เพื่ออนาคตของโลกได้อย่างแท้จริง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Infographic ของเราที่นี่