ในเมืองใหญ่หลายเมืองประสบปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ (Air Pollution) ที่ได้เป็นปัญหาสำคัญระดับชาติและเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
อย่างเช่นในกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ที่เราแต่ละคนได้มีโอกาสเผชิญด้วยตัวเองกันมาบ้าง ด้วยมลพิษทางอากาศนั้นเป็นปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและมนุษย์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ อย่างการปล่อยมลพิษจากการจราจร หรือการไม่เข้มงวดของรัฐต่อการจัดการมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และก็มีตัวอย่างการเผชิญกับปัญหานี้ได้ในหลากหลายประเทศ
เมืองวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์ – ปัญหามลพิษทางอากาศในโปแลนด์นั้นไปไกลเกินกว่ามาตรฐานประเทศอื่นๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา การพัฒนาสร้างอพาร์ทเมนต์ในชานเมืองทำให้ผู้คนไม่สามารถเข้าถึงขนส่งสาธารณะ เป็นผลให้ต้องขับรถและขยายถนนด้วยการลดพื้นที่สีเขียว โดยตลอดทศวรรษที่ผ่านมาเมืองนี้ตัดต้นไม้ไปแล้วกว่า 160,000 ต้น
เมืองบาธ ประเทศอังกฤษ – ระดับของไนโตรเจนไดออกไซด์บนถนนหลายสายที่มุ่งเข้าสู่เมืองนั้นเกินกว่าค่าจำกัดจาก สหภาพยุโรปกำหนดไว้ ผลคือผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณทางตอนใต้ของถนนนั้นมีอัตราการเสียชีวิตด้วยอายุที่น้อยลง 9 ปี เมื่อเทียบกับคนที่อาศัยอยู่บนเขาจากฝั่งตรงข้ามของเมืองที่ห่างไปสามไมล์
เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน – พลเมืองชาวจีนถึงขั้นเฉลิมฉลองเมื่อท้องฟ้าใสมองเห็นเมฆ และแชร์กันในแอปฯ วีแชทราวกับเป็นข่าวใหญ่ของเมือง ประชาชนเลือกแก้ปัญหาด้วยการซื้อเครื่องฟอกอากาศในบ้าน โดยหวังว่าจะช่วยแม้เล็กน้อยก็ยังดี พลเมืองจากเดิมที่เคยเดินทางด้วยการเดินหรือปั่นจักรยานกลับบ้านก็ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป ชาวเมืองเลือกแก้ปัญหาด้วยการเดินทางกับรถประจำทาง เพราะค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index: AQI) นั้นอยู่ที่ระดับ 150 ซึ่งเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ภาครัฐขับเคลื่อน พลเมืองตอบรับ
เมืองต้องการนโยบายระดับชาติที่สนับสนุนความปลอดภัยและอากาศที่หายใจได้สะดวก รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเมืองใหญ่หรือเมืองกำลังพัฒนาตัวเอง จำเป็นต้องเคลื่อนไหวผ่านการกำหนดข้อบังคับหรือนโยบายในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะและงดเว้นการใช้รถยนต์ส่วนตัว อย่างเช่นที่ปารีส ได้มีการห้ามรถยนต์ส่วนตัวขับผ่านพื้นที่ประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ช่วงเวลา 11.00-18.00 น. ให้หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะจักรยานรถเข็นหรือการเดินเท้าแทนเพื่อลดมลพิษและให้เมืองปลอดจากรถ
เมืองบังคาลอร์ในอินเดียออกข้อบังคับให้รถโดยสารประจำทางจำนวนกว่า 6,000 คันใช้ก๊าซธรรมชาติ ส่งผลให้สามารถลดมลพิษที่เกิดจากการคมนาคมได้ถึง 20% โดย 1 ใน 4 ของผู้คนที่เคยเดินทางด้วยรถโดยสารตัดสินใจหันมาใช้การขนส่งสาธารณะ
หนึ่งในพื้นที่เสี่ยงภัยมลพิษทางอากาศมากที่สุดก็คือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ส่งผลโดยตรงต่อทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยในปอด โดยพลเมืองโลกมากกว่า 90% ได้หายใจเอาอากาศที่คุณภาพแย่เกินข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ผลที่ตามมาคือการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดและโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เส้นเลือดในสมองอุดตัน (Stroke) โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease, COPD)
สุขภาพปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ เริ่มต้นได้จากในบ้าน
การหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการแวดล้อมตัวเองภายใต้อากาศสะอาด สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) มีข้อแนะนำให้ผู้คนเลือกอยู่ภายในบ้านที่มีฟิลเตอร์กรองอากาศ เป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในการลดระดับมลพิษที่อาจมีโอกาสเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้
นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำว่า สามารถหลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศด้วยการไม่ออกนอกบ้าน (และอย่ารู้สึกผิดหากอดวิ่งในสวนสาธารณะ) รวมถึงการเดินทางที่ต้องเผชิญกับอากาศโดยตรงอย่างการปั่นจักรยานหรือมอเตอร์ไซค์ ต่อมาคือการทำความสะอาดบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับผู้อยู่อาศัยที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ยกเว้นการเลือกใช้ข้าวของที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฝุ่น อย่างพรม EPA ให้ข้อแนะนำว่าการถูพื้นด้วยผ้าเปียกยังช่วยลดปริมาณฝุ่น งดเว้นการใช้เครื่องดูดฝุ่นที่ไม่มี HEPA Filter หรือ High Efficiency Particulate Air ตัวกรองอากาศที่ประกอบไปด้วยเส้นใยไฟเบอร์กลาส มีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 0.5-2.0 ไมครอน โดยเฉพาะห้องนอนที่ต้องสะอาดอยู่เสมอ เปิดหน้าต่างและประตูให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ นอกจากนี้ เรายังสามารถออกแบบให้มีตู้สำหรับเก็บข้าวของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่มักวางตามชั้นหรือตามโต๊ะ ของใช้ประจำวันต่างๆ กองหนังสือ รวมทั้งของสะสม เพราะข้าวของสิ่งต่าง ๆ ที่มีฝุ่นเกาะย่อมเป็นแหล่งสะสมของตัวไรฝุ่น โดยสามารถออกแบบให้เป็นตู้กระจกเพื่อให้มองเห็นข้าวของสวยงามได้
การหลีกเลี่ยงวัตถุเก็บฝุ่นก็เป็นสิ่งสำคัญ วัสดุประเภทผ้าที่อยู่ในบ้านอย่างเช่นผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ ผ้าขนสัตว์ ผ้ากำมะหยี่ ผ้าม่านหรือวัสดุประเภทถักสาน เป็นแหล่งสะสมฝุ่นที่ผู้อยู่อาศัยหลายคนอาจมองข้าม VC Fabric จึงมีผ้าม่านนวัตกรรมใหม่ “Allergy Care” ที่ผ่านการผลิตด้วยกระบวนการแซนนิไทซ์ (Sanitized®) จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นนวัตกรรมเคลือบผ้าด้วยสารเคลือบ Anti-Allergy ที่จะสร้างชั้นฟิล์มใสระดับ Micro Particle (ขนาดเฉลี่ย 20 nm.) เคลือบบนเส้นใยผ้า ทำให้ผิวผ้าเรียบ ลดการเกาะติดของฝุ่นตามร่องหรือรูบนเนื้อผ้าได้ถึง 50% ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภูมิแพ้ และช่วยยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และกลิ่นอับชื้น ปลอดภัยไร้สารพิษตกค้างโดยเฉพาะกับเด็ก ผู้สูงอายุ และทุกคนในครอบครัว อีกทั้งยังป้องกันยังสี UV ลดความร้อนที่จะเกิดขึ้นภายในบ้าน
อาการแพ้ฝุ่น แพ้อากาศในบ้านเราอาจจัดการและป้องกันได้ด้วยตัวเอง แต่สำหรับฝุ่นควันในเมืองที่เพิ่มขึ้นมากทุกปีนั้น เราอาจต้องหวังว่าในอนาคต ระบบขนส่งมวลชนและเทคโนโลยีต่างๆจะช่วยให้อากาศสะอาดมากยิ่งขึ้น
แหล่งที่มาบทความ
https://news.nationalgeographic.com/2017/05/china-air-pollution-solutions-environment-tangshan/
https://edition.cnn.com/2017/01/11/health/pollution-smog-air-filter-protection-explainer/index.html