การเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านมาของประเทศไทย นับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจของสื่อต่างประเทศจำนวนมาก โดยมีทั้งสื่อที่เข้ามาสัมภาษณ์ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกล สมาชิกในพรรคการเมือง รวมไปถึงยังมีการนำเสนอประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยอีกเช่นกัน
แล้วพิธา ในมุมมองของสื่อต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้าง The MATTER จึงขอพาทุกคนไปดูคีย์เวิร์ด หรือคำเรียกของแคนดิเดตจากพรรคก้าวไกลมาให้ทุกคนได้ดูกัน
เริ่มจาก เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจกับการเลือกตั้งครั้งนี้ของไทย โดยหลังจากที่ พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง สำนักข่าวหลายๆ สำนัก ไม่ว่าจะเป็นสื่อช่องหลักของเกาหลีใต้หรือสื่อออนไลน์ ก็พากันกล่าวถึงประวัติ ของ พิธา และชัยชนะของพรรคก้าวไกลในครั้งนี้ด้วยคำเรียก อาทิ
– ชัยชนะของคนรุ่นใหม่
– สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง
– ฮีโร่ของชาว MZ (มิลเลนเนียล และ Gen Z)
– ผู้นำพรรคหัวก้าวหน้า
– ได้รับความนิยมเทียบเท่าไอดอล
– รูปลักษณ์ที่เป็นที่ชื่นชอบ
– น้ำเสียงสุภาพ
– สัญญาณการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัย
– ศิษย์เก่าฮาร์วาร์ด
ไม่ใช่แค่เกาหลีใต้เท่านั้นที่นำเสนอข่าวการเลือกตั้ง แต่สื่อตะวันตกหลายๆ แห่ง เช่น BBC, The Guardian, CNN, The New York Times ก็นำเสนอถึงชัยชนะของพรรคก้าวไกล ที่เปลี่ยนจากฝ่ายค้านในสภา มาเป็นพรรคที่ได้อันดับ 1 ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้
อีกทั้ง สื่อหลายๆ แห่งยังกล่าวว่าชัยชนะของพรรคก้าวไกลเป็นเครื่องสะท้อนความต้องการของคนรุ่นใหม่ และประชาชนคนไทยกว่า 10 ล้าน ที่อยากเปลี่ยนประเทศให้ดีขึ้น
โดยคำที่สื่อของสำนักข่าวหลายๆ แห่งใช้เรียกพิธา เช่น
– เสรีนิยม
– ฝ่ายค้านหัวก้าวหน้า
– รัฐบาลที่อายุน้อยสุด หัวก้าวหน้า
– คนสำคัญที่แข็งแกร่ง และประสบความสำเร็จ
– มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ
– ผู้ชนะ
– คนที่สร้างความหวัง
– พลังขับเคลื่อนใหม่
นอกจากนี้ สำนักข่าวต่างประเทศ ก็ยังตั้งข้อสังเกตถึงการโหวตนายกฯ ว่า แม้พรรคก้าวไกลจะจับมือกับเพื่อไทย และพรรคร่วมฝ่ายค้านเก่าจนคาดกการณ์ว่าจะได้ที่นั่งในสภาประมาณ 310 เสียง แต่ฝ่าย ‘ผู้นำรัฐประหาร’ ก็ยังมีเสียงจาก ส.ว. 250 เสียงที่ คสช. เป็นผู้แต่งตั้ง
ส่วนทางด้านสื่อในเอเชีย อย่าง CNA, Japan Times, Today Online ก็พูดถึงพิธาว่าเป็น นักเรียนจากนิวซีแลนด์และอเมริกา, คนที่ขึ้นกล้อง และคนที่เรียนจบฮาร์วาร์ด
รวมไปถึงสื่ออย่าง Al Jazeera เองก็เรียกพิธาว่าเป็นนักธุรกิจและเป็นคนที่มีคาริสม่าเช่นกัน
สุดท้ายนี้ คำเรียกดังกล่าวเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น และคำเรียกเหล่านี้ อาจเป็นเครื่องมือที่สามารถสะท้อนภาพลักษณ์ว่าที่ผู้นำของประเทศไทยต่อสายตาชาวโลก ซึ่งเป็นคำที่ไม่ค่อยพบในการเรียกขานนายกฯ คนปัจจุบันของประเทศไทย อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา เท่าไรนัก
อ้างอิงจาก